การรั่วไหลของโทรเลขภายในสหรัฐอเมริกา

การรั่วไหลของโทรเลขภายในสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เมื่อเว็บไซต์วิกิลีกส์ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรนิวมีเดีย ซึ่งตีพิมพ์ข้อมูลส่วนบุคคลหรือความลับทางราชการจากแหล่งข่าวนิรนาม เริ่มต้นตีพิมพ์เอกสารที่เป็นความลับอันมีเนื้อหาเกี่ยวกับรายละเอียดการติดต่อระหว่างกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกากับคณะผู้แทนทูตทั่วโลก และได้โพสต์เอกสารเพิ่มขึ้นทุกวัน วิกิลีกส์ได้ส่งต่อโทรเลขภายในดังกล่าวให้กับหนังสือพิมพ์หลักของโลกอีกห้าฉบับ ซึ่งได้ตีพิมพ์บทความโดยมีข้อตกลงกับวิกิลีกส์การโพสต์โทรเลขภายในสถานทูตสหรัฐคราวนี้นับเป็นครั้งที่สามใน "การรั่วไหลครั้งใหญ่" ของเอกสารความลับของสหรัฐอเมริกาซึ่งวิกิลีกส์นำออกเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2553 หลังจากการรั่วไหลของเอกสารสงครามอัฟกันในเดือนกรกฎาคม และเอกสารสงครามอิรักในเดือนตุลาคม เนื้อหาที่ได้รับการเปิดเผยอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากสถานทูตมากกว่า 300 แห่ง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2509-2553 ซึ่งรวมไปถึงการวิเคราะห์ทางการทูตต่อผู้นำโลก การประเมินประเทศที่สถานทูตนั้นตั้งอยู่ และการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นระหว่างประเทศและภายประเทศเอกสาร 220 ฉบับแรก[1] จากทั้งหมด 251,287 ฉบับได้รับการตีพิมพ์ในวันที่ 28 พฤศจิกายน โดยเกิดขึ้นพร้อมกับการรายงานในสื่อไล่ตั้งแต่เอลปาอิส (สเปน) เลอ มงด์ (ฝรั่งเศส) แดร์ สปีเกล (เยอรมนี) เดอะการ์เดียน (สหราชอาณาจักร) และเดอะนิวยอร์กไทมส์ (สหรัฐอเมริกา)[2][3] เอกสารมากกว่า 130,000 ยังไม่ถูกปลดจากชั้นความลับ แต่ไม่มีเอกสารใดอยู่ในระดับ "ลับที่สุด" ตามเกณฑ์การจัดชั้นความลับ เอกสารราว 100,000 ฉบับได้รับการจัดให้อยู่ในระดับ "ลับ" และอีก 15,000 ฉบับได้รับการจัดให้อยู่ในระดับ "ลับมาก" ซึ่งสูงกว่า[2][4] จนถึงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โทรเลขภายในกว่า 1,532 ฉบับได้รับการเปิดเผย[5] วิกิลีกส์วางแผนที่จะเผยแพร่โทรเลขภายในทั้งหมดภายในช่วงเวลาอีกหลายเดือนข้างหน้าด้วยอัตรา 80 ฉบับต่อวัน[3][6]ปฏิกิริยาต่อการรั่วไหลดังกล่าวมีหลากหลาย เจ้าหน้าที่รัฐบาลตะวันตกบางประเทศได้แสดงความไม่เห็นด้วยและประณามอย่างรุนแรง และวิจารณ์ว่าพฤติการณ์ดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคงของโลก การรั่วไหลดังกล่าวยังได้มีหลายฝ่ายให้ความสนใจ ทั้งสาธารณชน นักหนังสือพิมพ์และนักวิเคราะห์สื่อ วิกิลีกส์ได้รับการสนับสนุนจากนักวิจารณ์บางส่วนผู้ซึ่งตั้งคำถามเกี่ยวกับความจำเป็นในการรักษาความลับของราชการในระบอบประชาธิปไตยในการรักษาผลประโยชน์ของประชากร ผู้นำการเมืองบางคนได้เรียกจูเลียน อาสซานจ์ บรรณาธิการบริหารของวิกิลีกส์ ว่าเป็นอาชญากรและเรียกร้องให้มีการจับกุม แต่ก็ยังกล่าวประณามกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่ปล่อยให้เอกสารลับเกิดการรั่วไหล ผู้สนับสนุนอาสซานจ์ได้เรียกเขาว่าเป็นวีรบุรุษและเป็นตัวแทนของเสรีภาพในการพูดและเสรีภาพของสื่อ[7][8][9][10] ในโลกที่สื่อมิได้ประพฤติเป็นผู้เฝ้ามองของสาธารณะและภาคเอกชนอีกต่อไป เลขาธิการฝ่ายข่าวทำเนียบขาว โรเบิร์ต กิบบส์ ได้กล่าวว่า "รัฐบาลที่เปิดเผยและโปร่งใสเป็นสิ่งที่ประธานาธิบดีเชื่อว่ามีความสำคัญอย่างแท้จริง แต่การขโมยข้อมูลปกปิดและการเผยแพร่ความลับนั้นถือว่าเป็นอาชญากรรม"[11] ตามที่ได้มีปฏิกิริยาด้านลบต่อวิกิลีกส์นั้น ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้แสดงความกังวลออกมาเกี่ยวกับ "สงครามไซเบอร์" ที่มีต่อวิกิลีกส์[12] และในแถลงการณ์ร่วมกับองค์การนานารัฐอเมริกัน ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติได้เรียกร้องให้รัฐและตัวแสดงอื่น ๆ จดจำหลักการของกฎหมายไว้[13]

ใกล้เคียง

การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้รส การรับรู้อากัปกิริยา การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การรับรู้สนามแม่เหล็ก การรักษามะเร็งแบบทางเลือก การรับรู้ไฟฟ้า การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) การรับรู้ความใกล้ไกล การรับน้อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรั่วไหลของโทรเลขภายในสหรัฐอเมริกา http://213.251.145.96/cablegate.html http://www.abs-cbnnews.com/nation/11/29/10/1796-me... http://www.economist.com/blogs/democracyinamerica/... http://www.nytimes.com/2010/11/29/world/29cables.h... http://www.nytimes.com/2010/11/29/world/29cables.h... http://www.time.com/time/specials/packages/article... http://www.wired.com/threatlevel/2010/06/state-dep... http://wikileaks.dd19.de/cablegate.html http://wikileaks.dd19.de/static/html/faq.html http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2010/11...