การรุกรานครั้งแรก ของ การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล

ภาพวาดเรือรบของมองโกลถูกทำลายโดยไต้ฝุ่น โดยคิกูชิ โยไซ ค.ศ. 1847

กุบไลข่านทรงปรารถนาอย่างมากที่จะทำสงครามต่อญี่ปุ่นในช่วงต้นปี 1268 หลังจากได้ได้รับการปฏิเสธมาแล้วถึงสองครั้ง แต่ก็พบว่ามองโกลยังขาดแคลนทรัพยากรและงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดตั้งกองเรือรบในเวลานั้น จนกระทั่งภายหลังจากมองโกลดำเนินนโยบายกลืนชาติเกาหลีโดยการที่ราชธิดาของกุบไลข่านได้อภิเษกสมรสกับรัชทายาทแห่งโครยอ การต่อเรือและจัดตั้งกองเรือรบจึงเริ่มขึ้นในชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลี ในขณะเดียวกันมองโกลก็เรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมจำนนอยู่เนือง ๆ

ต่อมาในปี 1271 กุบไลข่านก็ได้สถาปนาราชวงศ์หยวน และในปี 1272 นั้นเอง พระเจ้าชุงยอลแห่งโครยอก็ได้ทูลกุบไลข่านว่า "พวกญี่ปุ่นยังไม่ทราบว่าโลกนั้นศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นการส่งทูตและทหารของเราไปยังญี่ปุ่น เรือรบและทหารต้องถูกเตรียมให้ดี หากทรงแต่งตั้งหม่อมฉันแล้วโซร้ พระองค์จักทรงประจักษ์ในแสนยานุภาพของหม่อมฉัน"[2] ซึ่งตามประวัติศาสตร์ของหยวนก็ได้บันทึกไว้ว่า "พระเจ้ากรุงโครยอกราบทูลกุบไลข่านให้ทรงช่วยต่อเรือรบ 150 ลำเพื่อใช้พิชิตญี่ปุ่น"[3]

ในที่สุด เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1274 กองเรือผสมของกองทัพจักรวรรดิมองโกล ด้วยดำลังทหารมองโกลและจีน 15,000 นายและทหารโครยอ 8,000 นาย พร้อมทั้งเรือรบขนาดใหญ่ 300 ลำและเรือรบขนาดรอง 400-500 ลำ และเข้าประชิดอ่าวฮากาตะบนเกาะคีวชู ทันทีที่ทัพมองโกลยกพลขึ้นบก ก็ถูกโจมตีจากทหารญี่ปุ่นและซามูไรราว 10,000 นายที่ตั้งทัพรออยู่ ญี่ปุ่นแม้จะมีประสบการณ์ในการจัดการกำกำลังพลขนาดใหญ่ (ระดมพลทั้งหมดของคีวชูเหนือ) แต่เนื่องจากมองโกลซึ่งครอบครองอาวุธชาวต่างชาติซึ่งรวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า (อาทิ ระเบิดเซรามิก ธนูเจาะเกราะ) มองโกลจึงพิชิตกองทัพญี่ปุ่นง่ายดายในการต่อสู้ภาคพื้นดินที่อ่าวฮากาตะ ทั้งนี้มองโกลยังไม่สามารถรุกคืบต่อไปได้ ต้องรอกำลังเสริมอีกบางส่วน

และเมื่อกำลังเสริมมาถึงและกองทัพมองโกลเตรียมยกพลขึ้นฝั่ง ในตอนรุ่งสาง พายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงอย่างมหาศาลก็ได้มาถึง ณ ที่นั้น และได้พัดทำลายกองเรือมองโกลเสียหายไปอันมาก ทหารมองโกลต่างกระโดดหนีเอาชีวิตรอด ทหารจำนวนหลายพันจมน้ำเสียชีวิต ที่รอดชีวิตก็ว่ายน้ำหนีตายขึ้นฝั่งฮากาตะ แต่ก็ถูกกองทัพซามูไรสังหารเสียชีวิตและบางส่วนถูกจับเป็นเชลย อย่างไรก็ตาม เรือของญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและมีความคล่องตัวสูงซึ่งรอดจากพายุก็ได้ขึ้นโจมตีเรือรบมองโกลที่เหลือ

ภายหลังจากการรุกราน กองเรือพันธมิตรของมองโกลที่เหลืออยู่ก็กลับไปยังโครยอ และชาวญี่ปุ่นได้เทิดทูนว่าพายุลูกนั้นว่าเป็นพายุที่เทพเจ้าบันดาลมาปกป้องญี่ปุ่น และตั้งชื่อให้ว่า "คามิกาเซะ" (วายุเทพ)

ใกล้เคียง

การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย การรุกของตอลิบาน พ.ศ. 2564 การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล การรุกที่เคียฟ พ.ศ. 2565 การรุกรานไซปรัสของตุรกี การรุกรานรัสเซียโดยฝรั่งเศส การรุกคอร์ซุน-เชฟเชนคอฟสกี การรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียต การรุกตรุษญวน การรุกรานรัสเซียโดยสวีเดน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล http://www.louis-chor.ca/emaki3.htm http://www.louis-chor.ca/mongolin.htm http://www.kamakura-burabura.com/meisyoenosimajyou... http://www.bowdoin.edu/mongol-scrolls/ http://repository.tamu.edu/bitstream/handle/1969.1... http://kindai.ndl.go.jp/BIImgFrame.php?JP_NUM=5000... http://kindai.ndl.go.jp/BIImgFrame.php?JP_NUM=5000... http://kindai.ndl.go.jp/BIImgFrame.php?JP_NUM=5000... http://kindai.ndl.go.jp/BIImgFrame.php?JP_NUM=5000... http://kindai.ndl.go.jp/BIImgFrame.php?JP_NUM=5000...