การรุกเบลเกรด
การรุกเบลเกรด

การรุกเบลเกรด

Yugoslavs:
2,953 dead (assault on Belgrade only) [3]การรุกเบลเกรดหรือปฏิบัติการการรุกทางยุทธศาสตร์เบลเกรด (แม่แบบ:Lang-sh-Latn, Београдска операција; รัสเซีย: Белградская стратегическая наступательная операция, Belgradskaya strategicheskaya nastupatel'naya operatsiya) (14 กันยายน ค.ศ. 1944 – 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944)[4] เป็นปฏิบัติการทางทหารในซึ่งเบลเกรดได้รับการปลดปล่อยจากกองทัพเวร์มัคท์ของเยอรมันด้วยความพยายามร่วมมือกันของกองทัพแดงแห่งโซเวียต พลพรรคยูโกสลาเวีย และกองทัพประชาชนบัลแกเรีย กองกำลังโซเวียตและหน่วยทหารอาสาท้องถิ่นได้เริ่มแบ่งแยกกันแต่ได้ปฏิบัติการร่วมกันอย่างมีอิสระเมื่อได้ทำลายการควบคุมของเยอรมันในกรุงเบลเกรดและท้ายที่สุดก็ถูกบังคับให้ล่าถอย[5] การวางแผนสู้รบคือการประสานงานกันอย่างราบรื่นในหมู่ผู้นำบัญชาการและปฏิบัติการนั้นส่วนใหญ่ได้ถูกมอบสิทธิ์ผ่านความร่วมมือกันทางยุทธวิธีระหว่างยอซีป ตีโตและโจเซฟ สตาลิน เมื่อเริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1944[6] [7] การเตรียมการสู้รบเหล่านี้ได้อนุญาตให้กองกำลังบัลแกเรียได้มีส่วนร่วมในปฏิบัติการทั่วดินแดนยูโกสลาเวีย, ซึ่งจะเพิ่มความสำเร็จทางยุทธศาสตร์,ในขณะที่ความขัดแย้งทางการทูตได้ทวีคูณมากขึ้น[8]วัตถุประสงค์หลักของการรุกเบลเกรดคือการมุ่งหมายไปที่ดินแดนเซอร์เบียภายใต้การยึดครองของเยอรมัน การเข้ายึดกรุงเบลเกรดเป็นยุทธศาสตร์การโอบล้อมในคาบสมุทรบอลข่านและตัดเส้นสายการสื่อสารของเยอรมันระหว่างกรีซและฮังการี หัวหอกของการรุกได้ถูกปฏิบัติการโดยแนวรบยูเครนที่ 3 ของโซเวียตในการประสานงานกับกองทัพกลุ่มที่ 1 ของยูโกสลาฟและกองทัพเหล่าที่สิบสี่ ในเวลาเดียวกัน ปฏิบัติการในทางใต้ได้รวมไปถึงกองทัพที่สองของบัลแกเรีย และกองทัพเหล่าที่ 13 ของยูโกสลาฟ และการบุกโจมตีของแนวรบยูเครนที่ 2 ทางตอนเหนือของชายแดนยูโกสลาเวียและบัลแกเรียเพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อกองบัญชาการเยอรมัน[9] มีการต่อสู้ที่ทวีความรุนแรงระหว่างกองกำลังบัลแกเรียและฝ่ายต่อต้านพลพรรคของรัฐปกครองของเยอรมันในมาซิโดเนียซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงปฏิบัติการสู้รบทางตอนใต้ของการทัพนี้[10][11]

การรุกเบลเกรด

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่28 กันยายน ค.ศ. 1944 – 20 ตุลาคม ค.ศ. 1944[1]
สถานที่เบลเกรด, ยูโกสลาเวีย
ผลลัพธ์ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
สถานที่ เบลเกรด, ยูโกสลาเวีย
ผลลัพธ์ ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1944 – 20 ตุลาคม ค.ศ. 1944[1]

ใกล้เคียง

การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย การรุกของตอลิบาน พ.ศ. 2564 การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล การรุกที่เคียฟ พ.ศ. 2565 การรุกรานไซปรัสของตุรกี การรุกรานรัสเซียโดยฝรั่งเศส การรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียต การรุกคอร์ซุน-เชฟเชนคอฟสกี การรุกฤดูใบไม้ผลิ การรุกตรุษญวน