ข้อเสีย ของ การลงคะแนนแบบคะแนนเสียงที่เหนือกว่า

การลงคะแนนเสียงเชิงยุทธศาสตร์

จำนวนพรรคการเมืองน้อย

แผนภูมิแท่งแสดงความแตกต่างระหว่างคะแนนเสียงรวมกับจำนวนที่นั่งที่พรรคการเมืองได้รับในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2005 ในสหราชอาณาจักร

จากกฎของดูเวอร์เกอร์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงการเลือกตั้งที่ใช้ระบบแบ่งเขตเบอร์เดียวนั้นจะทำให้ประเทศกลายเป็นการเมืองแบบสองพรรคเมื่อเวลาผ่านไป[4]

การลงคะแนนระบบคะแนนนำนี้มักจะทำให้พรรคการเมืองลดจำนวนเหลือเพียงสองพรรคใหญ่มากกว่าระบบอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้พรรคการเมืองเดียวสามารถมีคะแนนเสียงข้างมากในสภาได้ (ในสหราชอาณาจักร จากการเลือกตั้งทั่วไป 21 ครั้ง จากทั้งหมด 24 ครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 1922 เป็นต้นมา ทำให้มีพรรคการเมืองเดียวกุมเสียงข้างมากในสภาได้)

การลงคะแนนในระบบนี้ซึ่งก่อให้เกิดพรรคการเมืองใหญ่ซ้ำ ๆ จากพรรคหลักเพียงไม่กี่พรรค ทำให้เกิดรัฐบาลที่ไม่ได้มีมุมมองแตกต่างจากเดิมเท่าใดนัก โดยเป็นไปได้ที่ผู้ลงคะแนนอาจเล็งเห็นว่าพรรคการเมืองใหญ่แต่ละพรรคนั้นล้วนมีนโยบายและมุมมองในปัญหาคล้ายกัน จึงทำให้ผู้ลงคะแนนไม่ได้มีความรู้สึกอยากลงคะแนนอย่างมีความหมายสำคัญเพียงพอ

เนื่องจากมีตัวเลือกน้อยให้ผู้ลงคะแนนเลือก โดยถึงแม้ว่าอาจจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครรายนั้นในขณะที่ความรู้สึกของผู้ลงคะแนนนั้นยังไม่พอใจในผู้สมัคร แต่เหตุที่เลือกเพราะเนื่องจากผู้ลงคะแนนรู้สึกชอบผู้สมัครรายอื่นน้อยกว่าแทน ดังนั้นจึงทำให้ผู้แทนนั้นไม่สัมพันธ์กับมุมมองทางการเมืองของผู้ลงคะแนน

นอกจากนี้ การนำโดยพรรคการเมืองใหญ่พรรคเดียวนั้นสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายได้อย่างทันใดถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ อาจจะได้รับความเห็นชอบจากแค่เพียงกลุ่มคนที่เลือกมา (ซึ่งอาจจะน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ลงคะแนน) แต่ในทางกลับกันในระบบหลายพรรคนั้นจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย

คะแนนเสียเปล่า

คะแนนเสียเปล่า เป็นคะแนนเสียงที่ลงเลือกตั้งผู้สมัครที่มีแนวโน้มที่จะแพ้การเลือกตั้ง และรวมถึงคะแนนเสียงเกินซึ่งเป็นคะแนนที่เกินจากจำนวนคะแนนเสียงที่ต้องการสำหรับการชนะการเลือกตั้งในเขตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2005 คะแนนเสียงถึงกว่าร้อยละ 52 นั้นลงไปให้ผู้สมัครที่แพ้การเลือกตั้ง และกว่าอีกร้อยละ 18 เป็นคะแนนเสียงเกิน ซึ่งรวมกันกว่าร้อยละ 70 เป็นคะแนนเสียเปล่า ดังนั้นจึงเป็นที่ถกเถียงกันเรื่องระบบการลงคะแนนนี้เพราะเสียงข้างมากนั้นอาจจะไม่มีความหมายใด ๆ เลยในผลลัพธ์การเลือกตั้ง มีระบบการลงคะแนนอื่น ๆ อีกมากที่แก้ปัญหานี้เพื่อให้ทุกคะแนนเสียงมีประสิทธภาพในการสร้างผลลัพธ์ซึ่งคือการลดปัญหาคะแนนเสียเปล่า

การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบ

เสียงแตก

ใกล้เคียง

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย การลงจอด การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 การลงคะแนนแบบคะแนนเสียงที่เหนือกว่า การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554 การลงคะแนนแบบจัดลำดับ การลงประชามติแยกเป็นเอกราช การลงประชามติประมวลกฎหมายครอบครัวคิวบา พ.ศ. 2565