การศึกษาตามแผน

การศึกษาตามแผน หรือ งานศึกษาตามรุ่น[1](อังกฤษ: cohort study) หรือ งานศึกษาตามบุคคลในรุ่น[1]เป็นแบบหนึ่งของงานศึกษาแบบสังเกต (observational study) ที่ใช้ในสาขาการแพทย์ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ประกันภัย "business analytics" และนิเวศวิทยายกตัวอย่างเช่น ในการแพทย์ อาจจะมีงานศึกษาที่วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง โดยติดตามกลุ่มประชากรที่ไม่มีโรคแล้วใช้ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความเสี่ยงกับการติดโรค เพื่อกำหนดความเสี่ยงสัมพัทธ์[2]ของการติดโรคงานศึกษาตามรุ่นเป็นแบบการศึกษาทางคลินิกชนิดหนึ่ง เป็นงานศึกษาตามยาว (longitudinal study) โดยเทียบกับงานศึกษาตามขวาง (cross-sectional study)คือ เป็นการวัดค่าผลลัพธ์ที่เป็นประเด็นต่าง ๆ ของกลุ่มประชากร และของบุคคลต่าง ๆ ในกลุ่มประชากรนั้น ๆ ตามชั่วระยะเวลาหนึ่ง ๆ[3][4] โดยเทียบกับการวัดค่าที่เป็นประเด็นเพียงครั้งเดียวในงานศึกษาตามขวาง"cohort" (รุ่น, กลุ่มร่วมรุ่น) เป็นกลุ่มบุคคลที่มีคุณลักษณะหรือประสบการณ์ที่เหมือนกันภายในช่วงเวลาเดียวกัน (เช่น เกิดในช่วงเวลาเดียวกัน มีประวัติได้ยา ฉีดวัคซีน หรือประสบมลพิษภาวะ ช่วงเดียวกัน หรือได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดียวกัน)ดังนั้น กลุ่มบุคคลที่เกิดในวันเดียวกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นในปี พ.ศ. 2491 ก็จะเป็น "birth cohort"ส่วนกลุ่มที่ใช้เปรียบเทียบอาจจะเป็นกลุ่มประชากรที่กลุ่มร่วมรุ่นเป็นเซตย่อยหรืออาจจะเป็นกลุ่มร่วมรุ่นอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับหรือสัมผัสกับสาร (หรือเงื่อนไขอื่น ๆ) ที่เป็นประเด็นการศึกษา แต่ว่ามีลักษณะอย่างอื่น ๆ ที่เหมือนกันหรืออีกอย่างหนึ่ง เซตย่อยต่าง ๆ ภายในกลุ่มร่วมรุ่นเดียวกัน สามารถใช้เปรียบเทียบกันเองการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) เป็นระเบียบวิธีที่มีคุณภาพสูงกว่างานศึกษาตามรุ่น ตามลำดับชั้นหลักฐานของการรักษาพยาบาลเพราะว่า เป็นการศึกษาที่จำกัดโอกาสความเอนเอียงต่าง ๆ โดยสุ่มจัดคนไข้เข้าในกลุ่มทดลองและในกลุ่มเปรียบเทียบ (หรือกลุ่มควบคุม)ซึ่งลดระดับความแตกต่างกันของตัวแปรสับสน (confounding) ในระหว่างกลุ่มทั้งสอง โดยเฉพาะตัวแปรสับสนที่ไม่ชัดแจ้งแต่ว่า ก็สำคัญที่จะสังเกตว่า RCT ไม่เหมาะกับการศึกษาทุกสถานการณ์ และการศึกษาวิธีอื่น ๆ เช่น งานศึกษาตามรุ่น อาจจะเหมาะสมกว่าเนื่องจากเป็นงานศึกษาแบบสังเกตการณ์ตามธรรมชาติ งานศึกษาตามรุ่นจึงสามารถทำได้โดยไม่มีปัญหาจริยธรรมบางอย่าง หรือเมื่อการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองทำไม่ได้ สามารถทำได้โดยลดความเอนเอียงบางอย่างเช่นที่เกิดจากฎเกณฑ์การคัดเลือกผู้ร่วมการทดลอง เหมาะสำหรับศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยความเสี่ยงกับการเกิดโรคตามธรรมชาติ[5][6]สามารถใช้ศึกษาปัจจัยที่รับหลายอย่างกับผลที่เกิดขึ้นหลายอย่าง[7][6]แต่เป็นแบบการศึกษาที่มีโอกาสเสี่ยงต่อปัจจัยรวบกวน (confounding) และอคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง และในบางกรณีอาจจะใช้เวลานานหรือมีค่าใช้จ่ายสูง[5][6]งานศึกษาตามรุ่นสามารถทำตามแผนเก็บข้อมูลในอนาคต หรือสามารถทำย้อนหลังใช้ข้อมูลที่ได้เก็บไว้แล้ว[8]

ใกล้เคียง

การศึกษาในประเทศไทย การศึกษา การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก การศึกษาตามแผน การศึกษาในประเทศอินเดีย การศึกษาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย การศึกษาในประเทศฟินแลนด์ การศึกษาทางนิเวศวิทยา การศึกษาของญี่ปุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: การศึกษาตามแผน http://www.gfmer.ch/Books/Reproductive_health/Coho... http://www.karger.com/Article/FullText/235241 http://www.oup.com/us/catalog/general/subject/Medi... http://www.vet.cornell.edu/hospital/imaging/tutori... http://clio.stanford.edu:7080/cocoon/cliomods/trai... http://clio.stanford.edu:7080/cocoon/cliomods/trai... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2038856 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC203885... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15602020 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16155052