ประวัติ ของ การศึกษาในประเทศฟินแลนด์

การรู้หนังสือเป็นส่วนสำคัญของลูเทอแรน, รัฐ และศาสนาส่วนใหญ่ของฟินแลนด์ เนื่องจากคริสต์ศาสนิกชนควรจะสามารถอ่านคัมภีร์ไบเบิลในภาษาของตนเอง หัวหน้าบาทหลวง มิกาเอล อักริโกลา ได้รับการศึกษาภายใต้มาร์ติน ลูเทอร์ และแปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาฟินแลนด์ในปี ค.ศ. 1548 ส่วนมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศฟินแลนด์ (ราชบัณฑิตยสถานแห่งตุรกุ) ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1640 มีการอ่านออกเขียนได้มากกว่า 50 เปอร์เซนต์ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 80–90 เปอร์เซนต์ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเด็นนั้นไม่มีโรงเรียนในเขตเทศบาล จึงมีการสอนการอ่านในโรงเรียนเคลื่อนที่ (kiertokoulu) ส่วนพิธีศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นพิธีกรรมของการเปลี่ยนเป็นผู้ใหญ่ อนุญาตให้ต่อเมื่อรู้หนังสือเท่านั้น และมอบอำนาจ เช่น เข้าสู่การแต่งงาน สถิติที่พบได้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 พบว่ามีผู้รู้หนังสืออยู่ที่ 97.6 เปอร์เซนต์[10] ระบบช่วงแรก ๆ ภายใต้การปกครองของประเทศสวีเดนอยู่ในภาษาสวีเดน และประกอบด้วย "เปดาโกฆิโอ" (pedagogio) ขั้นพื้นฐานสำหรับการสอนการอ่านและการเขียน, โรงเรียนธรรมดาที่สอนไวยากรณ์, ภาษาละติน, กรีก, วาทศาสตร์และภาษาถิ่น, โรงเรียนเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย รวมถึงมหาวิทยาลัย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระบบได้พัฒนาเป็นสิ่งที่ต่อมาเป็นที่รู้จักกันในนามกานชาเกาลู (kansakoulu "โรงเรียนของประชาชน") และโอปปิเกาลู (oppikoulu "โรงเรียนการเรียนรู้") รวมถึงโรงเรียนเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยที่เรียกว่าลุกิโอ (lukio) ตามด้วยมหาวิทยาลัย ครั้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภาษาฟินแลนด์ได้กลายเป็นภาษาราชการ และค่อย ๆ เปลี่ยนภาษาสวีเดนเป็นภาษาเล่าเรียนในโรงเรียน สำหรับในปี ค.ศ. 1898 ทุกคนได้รับสิทธิ์เข้าเรียนกานชาเกาลู โดยมีผู้เข้าเรียนถึง 50 เปอร์เซนต์ในปี ค.ศ. 1911 และกลายเป็นข้อบังคับในปี ค.ศ. 1921 ซึ่งเทศบาลเมืองจำเป็นต้องจัดให้มีการศึกษา[11] อาหารกลางวันที่โรงเรียนที่ไม่มีหลักสูตรตายตัวกลายเป็นข้อบังคับในปี ค.ศ. 1948 ส่วนโอปปิเกาลู ที่อายุ 10 ขวบยังคงเป็นทางเลือกและการเข้าเรียนมีการแข่งขัน เนื่องจากเป็นหนทางเดียวในการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยและการเข้าเรียน จึงได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานภาพและทางเลือกของผู้ปกครอง ซึ่งจำกัดโอกาสที่ไม่ค่อยดี คนงานชนชั้นแรงงานมักจะสำเร็จการศึกษาจากกานชาเกาลูเท่านั้นและเข้าสู่ตลาดแรงงาน ระบบนี้จะเอาออกไปในปี ค.ศ. 1972–1977 ในการสนับสนุนของระบบสมัยใหม่โดยให้เกรด 1–9 เป็นเกณฑ์บังคับ หลังจากอายุ 15 ปี ระบบจะแยกไปสองทางคือสายวิชาการ (lukio) และสายอาชีวศึกษา (ammattikoulu) ทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา เมื่อเร็ว ๆ นี้ เป็นไปได้อย่างเป็นทางการที่จะเข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยดีกรัอาชีวศึกษา แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากเนื่องจากแผนการศึกษาสายอาชีพไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ใกล้เคียง

การศึกษาในประเทศไทย การศึกษา การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก การศึกษาตามแผน การศึกษาในประเทศอินเดีย การศึกษาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย การศึกษาในประเทศฟินแลนด์ การศึกษาทางนิเวศวิทยา การศึกษาของญี่ปุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: การศึกษาในประเทศฟินแลนด์ http://www.finnbay.com/golden-days-where-acceptanc... http://www.huffingtonpost.com/lesley-chilcott/my-c... http://newsfeed.time.com/2012/09/27/and-the-worlds... http://www.tnr.com/article/politics/82329/educatio... http://www.education-worldwide.de/Education-in-Fin... http://www.brookings.edu/research/reports/2015/03/... http://www.admissions.fi http://findikaattori.fi/en/9 http://www.pisa2006.helsinki.fi/ http://www2.kirjastot.fi/kysy/arkistohaku/kysymys/...