ในสมัยโบราณ ของ การสงครามนอกประเทศ

อเล็กซานเดอร์มหาราชรบในประเทศอินเดีย

ตัวอย่างแรกสุดของการสงครามนอกประเทศมาจากการรุกรานของชนทะเล ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับสมาพันธรัฐผู้จู่โจมทางทะเลแห่งสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ที่ล่องเรือเข้าไปในชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สงบทางการเมือง และพยายามที่จะเข้าหรือควบคุมดินแดนของอียิปต์ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบเก้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่ 8 ของฟาโรห์แรเมซีสที่ 3 แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบ

จักรวรรดิอเล็กซานเดอร์มหาราช

ยุทธวิธีการตีโฉบฉวยได้ขยายไปสู่ปฏิบัติการการสงครามนอกประเทศที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งใช้เรือรบสำหรับการขนส่งกองทหารและการส่งกำลังบำรุงในการทัพที่ปะทะกับจักรวรรดิเปอร์เซีย

แบบอย่างต่อไปของการสงครามนอกประเทศในสมัยโบราณของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน คือชาวคาร์เธจที่แนะนำสองมิติใหม่ให้กับการใช้กองกำลังทัพเรือ โดยการจัดเตรียมปฏิบัติการไม่เพียงแต่รวมกำลังทางเรือและทางบก แต่ยังรวมถึงการรวมกองกำลังหลายชาติทางยุทธศาสตร์ในช่วงปฏิบัติการทางบก เมื่อแฮนนิบัลประสบความสำเร็จที่เลื่องลือที่สุดในการระเบิดขึ้นของสงครามพิวนิกครั้งที่สองจากการเดินทัพ ซึ่งรวมถึงช้างศึก ที่ข้ามจากคาบสมุทรไอบีเรีย ผ่านเทือกเขาพิรินีและเทือกเขาแอลป์ เข้าสู่ตอนเหนือของอิตาลี

ตามแบบฉบับของคาร์เธจ ชาวโรมันใช้ปฏิบัติการนอกประเทศอย่างกว้างขวางเพื่อขยายอาณาจักร และมีอิทธิพลในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนรวมถึงที่อื่น ๆ ตลอดจนการพิชิตบริเตนของโรมันซึ่งไม่ได้เป็นเพียงปฏิบัติการนอกประเทศที่ถูกจำกัดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการยึดครองระยะยาวและการตั้งถิ่นฐานของชาวโรมันในดินแดนต่าง ๆ

ใกล้เคียง

การสงครามสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี การสงครามเคมี การสงครามภูเขา การสงครามสมัยใหม่ตอนต้น การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ การสงครามปราบเรือดำน้ำ การสงครามจิตวิทยา การสงบศึก การสงครามกองโจร การสงบศึกเบลเกรด