การชันสูตรพระบรมศพ ของ การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

ช่วงแรกหลังเหตุการณ์ ทางรัฐบาลปรีดีในขณะนั้นไม่ได้มีความคิดที่จะต้องชันสูตรพระบรมศพ และกรมขุนชัยนาทฯ เองก็ได้ห้ามปรามไว้[28] ต่อมารัฐบาลฯ ได้ออกประกาศในขณะนั้นสันนิษฐานว่าเป็นอุปัทวเหตุ (โดยพระองค์เอง)[29] และได้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาขึ้นสืบทอดราชบัลลังก์[30] ไม่กี่วันต่อมาฝ่ายปฏิปักษ์ของปรีดีฯ นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มนิยมเจ้าได้นำมาเป็นประเด็นทางการเมือง โดยกล่าวหาว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ และมีนายปรีดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้[31] เพื่อสยบข่าวลือและพิสูจน์ความบริสุทธิ์ นายกปรีดีจึงประกาศจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนขึ้น และดำเนินการชันสูตรพระบรมศพ เพื่อพิสูจน์ความจริงให้กระจ่าง[32]การชันสูตรพระบรมศพเริ่มวันที่ 26 มิถุนายน 2489[33]

สภาพพระบรมศพเริ่มแรก

ภาพจำลองลักษณะท่าทางพระบรมศพไฟล์:Rama8011.jpgภาพจำลองลักษณะท่าทางพระบรมศพไฟล์:Rama8013.jpgอาวุธปืนของกลาง

ต้องอาศัยจากคำให้การบุคคลที่เข้าไปพบพระบรมศพกลุ่มแรก[34]ในการการวิเคราะห์ เนื่องจากว่าภายหลังเมื่อตำรวจไปถึงได้มีการเคลื่อนย้ายและขยับพระบรมศพและวัตถุในที่เกิดเหตุไปจากเดิมแล้ว[35]

สภาพพระบรมศพ ทรงบรรทมหงายพิงพระเขนย (หมอน) คล้ายคนนอนหลับอย่างปกติ มีผ้าคลุมตั้งแต่พระอุระ (อก) ตลอดจนถึงข้อพระบาท (ข้อเท้า) มีพระโลหิต (เลือด) ไหลโทรมพระพักตร์ (หน้า) ลงมาที่พระเขนยและผ้าลาดพระยี่ภู่ พระเศียร (ศีรษะ) ตะแคงไปทางด้านขวาเล็กน้อย บริเวณกึ่งกลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ตรงตรงเหนือพระขนง (คิ้ว) ซ้าย มีแผลกระสุนปืน หนังฉีกเป็นแฉกคล้ายเครื่องหมายคูณกว้างยาวประมาณ 4 ซม. พระเนตร (ตา) ทั้งสองหลับสนิท ไม่ได้ฉลองพระเนตร (แว่นตา) พระเกศา (ผม) แสกเรียบอยู่ในรูปที่เคยทรง พระโอษฐ์ (ปาก) ปิด พระกร (แขน) ทั้งสองเหยียดทอดทับนอกผ้าคลุมพระองค์แนบพระวรกายตามปกติ พระหัตถ์ทั้งสองแบอยู่ในท่าธรรมดา พระบาททั้งสองเหยียดทอดชิดกันอยู่ห่างจากปลายพนักพระแท่นประมาณ 7 ซม. มีปืนของกลางขนาดลำกล้อง 11 มม. วางอยู่ข้างพระกรซ้าย ลำกล้องขนานและห่างพระกร 1 นิ้ว ปากกระบอกหันไปทางพระบาท ศูนย์ท้ายของปืนอยู่ตรงระดับข้อพระกร (ข้อศอก)

ลักษณะบาดแผล และวิถีกระสุน[36]

  • มุมด้านหน้า
  • มุมด้านหลัง
  • มุมด้านข้าง
  • มุมด้านหน้า (X-ray)
  • มุมด้านข้าง (X-ray)
  • มุมด้านเอียง (X-ray)
  • มุมกดหน้า (X-ray)
  • มุมกดหน้า (X-ray)
  • มุมกดหน้า (X-ray)
  • ภาพจำลองจากหนังสือพิมพ์

ผลการชันสูตรพระบรมศพ

การชันสูตรพระบรมศพเริ่มในวันที่ 26 มิถุนายน 2489 โดยมี นพ.สุด แสงวิเชียร และ นพ.สงกรานต์ นิยมเสน เป็นผู้ลงมือผ่าตัดพระบรมศพด้วยกัน และมี นพ.สงัด เปล่งวานิช เป็นผู้คอยจดบันทึกผล[37]

  • ผลตรวจสอบสารพิษ ไม่พบว่า ร.8 ได้รับสารพิษแต่อย่างใด[38]
  • วิถีกระสุนเข้าทางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณกลางหน้าผากเหนือพระขนง (คิ้ว) ซ้ายเล็กน้อย และ ทะลุออกทางพระปฤษฎางค์ (ท้ายทอย) โดยมีวิถีเฉียงจากบนลงล่าง และมีทิศทางเอียงจากซ้ายไปขวา[39]
  • บาดแผลที่พระนลาฎ เป็นรูปกากบาท หนังฉีกแยกเป็น 4 แฉก ทั้ง 4 แฉกจดกัน ศูนย์กลางของแผลกากบาทอยู่ที่บริเวณกลางหน้าผากเหนือคิ้วซ้ายประมาณ 1 เซนติเมตร[40]
  • ปากกระบอกปืนต้องกดชิดติดบริเวณบาดแผลเมื่อลั่นไก ไม่เช่นนั้นก็ห่างไม่เกิน 5 เซนติเมตร[41]
  • ไม่พบอาการอาการ “คาดาเวอริค สปัสซัม” (Cadaveric Spasm) ในพระบรมศพ กล่าวคือเป็นอาการเกร็งค้างของกล้ามเนื้ออันเกิดจากสมองตายเฉียบพลัน (ในกรณีนี้คือถูกกระสุนปืน) เนื่องจากส่วนสมองของพระบรมศพถูกกระสุนทำลายฉับพลัน[42] ซึ่งอาจแสดงให้เห็นชัดเจนจากบริเวณ แขน ขา มือ นิ้วมือ เป็นต้น

ความเห็นแพทย์จากการชันสูตร

หลังชันสูตรพระบรมศพ คณะแพทย์ได้ลงความเห็นไว้ว่า

  • ลอบปลงพระชนม์ 16 เสียง
  • ปลงพระชนม์เอง 4 เสียง
  • อุบัติเหตุ 2 เสียง

โดยคณะแพทย์ 20 คน เป็นแพทย์ไทย 16 คน แพทย์ต่างชาติ 4 คน (อเมริกัน 1 คน, แพทย์จากกองทัพบริติชและบริติชอินเดีย 3 คน)[43] และใน 16 คนแรกที่เพิ่งกล่าวถึง 8 คนบอกตัด “อุบัติเหตุ” ออกไปเลยว่าเป็นไปไม่ได้ (หนึ่งในนั้น นพ.ชุบ โชติกเสถียร ตัดการยิงพระองค์เองออกหมดคือ ตัด “ปลงพระชนม์เอง” ด้วย) ที่เหลือเกือบทุกคนใส่ “อุบัติเหตุ” ไว้หลังสุด (คือเรียงลำดับความเป็นไปได้ว่า “ถูกปลงพระชนม์, ปลงพระชนม์เอง หรือ อุบัติเหตุ”)[44] นอกจากนี้แพทย์บางคนที่ไม่เจาะจงตัดอุบัติเหตุทิ้ง ยังให้เหตุผลว่าแม้จะมีความเป็นไปได้ แต่ก็น้อยมากไม่ถึง 1 ในล้าน เช่น นพ.หลวงพิณพากย์พิทยาเพท และ นพ.ใช้ ยูนิพันธ์[45]โดยการนับของแพทย์ นับจากใครเห็นว่าเหตุใดมีน้ำหนักมากสุด ให้นับอย่างนั้นเป็น 1 อย่างอื่นไม่นับ[46]

ใกล้เคียง

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การสวรรคตและพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี การสวดภาณยักษ์ การสวรรคตของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 การสวนทวารด้วยกาแฟ การสวนทวารหนัก การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ การสวมมงกุฎพระนางพรหมจารี (เบลัซเกซ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล http://socialitywisdom.blogspot.com.au/2009/02/blo... http://socialitywisdom.blogspot.com.au/2009/02/blo... http://somsakwork.blogspot.com.au/2007/11/2.html http://somsakwork.blogspot.com.au/2007/11/blog-pos... http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/2.html http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/blog-post.h... http://prachatai.com/05web/th/home/11358 http://www.sarakadee.com/feature/2000/04/pridi.htm http://www.su-usedbook.com http://www.su-usedbook.com/product.detail.php?lang...