ทฤษฎีและความเชื่อ ของ การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

ปัจจุบันเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับรัชกาลที่ 8 มักจะเขียนสาเหตุของการสวรรคตไว้แต่เพียงสั้น ๆ ทำนองว่า "เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง" หลายฉบับอาจระบุสาเหตุเพิ่มเติมด้วย ทำนองว่า "เป็นเพราะพระแสงปืนลั่นระหว่างทรงทำความสะอาดพระแสงปืน" เข้าใจว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการโต้เถียงกรณีสวรรคต

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรณีสวรรคตนี้แม้ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว ก็ยังไม่มีคำอธิบายที่กระจ่างชัดเจน จึงทำให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ ซึ่งพยายามจะอธิบายกรณีที่เกิดขึ้น โดยประเด็นหลักก็คือกรณีสวรรคตนี้ เป็นการปลงพระชนม์โดยบุคคลอื่น หรือรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำการอัตวินิบาตกรรมปลงพระชนม์ตัวพระองค์เอง

สำหรับทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ก็จะต้องอธิบายประเด็นสำคัญให้ได้คือ ใครอยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต และประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ จำเลยที่ถูกศาลฎีกาตัดสินว่ากระทำความผิดนั้น แท้จริงเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่

ผู้อยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต

  • สถานการณ์ในขณะนั้นพุ่งเป้าไปที่ ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ซึ่งประเด็นนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากปรีดีขณะนั้นมีศัตรูทางการเมืองอยู่จำนวนมากที่ต้องการจะกำจัดออกไป เช่น กลุ่มทหารสายจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่สูญเสียอำนาจหลังร่วมมือกับจักรวรรดิญี่ปุ่นนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านขณะนั้น[ต้องการอ้างอิง]
  • ในหนังสือ The Revolutionary King: The True–Life Sequel to The King and I (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2543) ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมวงศานุวงศ์ เขียนโดย วิลเลี่ยม สตีเฟนสัน ซึ่งเป็นแขกที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในช่วงระยะหนึ่ง ได้เขียนไว้ว่า สายลับญี่ปุ่น ชื่อ ซึจิ มาซาโนบุ (Tsuji Masanobu) ซึ่งหลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศไทยหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง น่าจะเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ แต่ปัจจุบันมีหลักฐานที่ไม่สามารถโต้แย้งได้เลยว่า นายมาซาโนบุ ซุจิ ผู้นี้ไม่ได้อยู่ใกล้กับกรุงเทพเลย[64] ในขณะที่ในหลวงอานันทมหิดลได้ถูกปลงพระชนม์ ข้อสันนิษฐานนี้จึงตกไป

จำเลยทั้งสามเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่

ข้อสังเกตคือ ระหว่างที่การสืบสวนโดยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์กำลังคืบหน้านั้น คณะทหารสาย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ก่อรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และแต่งตั้งให้ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้ง พล.ต.ต. พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) (พี่เขยของหม่อมราชวงศ์เสนีย์และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช พรรคประชาธิปัตย์) อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ให้กลับเข้ารับราชการ เพื่อทำหน้าที่สืบสวนกรณีสวรรคตเสียใหม่ นำไปสู่การจับกุมจำเลยทั้งสามในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เพียง 12 วันหลังรัฐประหาร และหลังจากการจับกุมนั้น พระพินิจชนคดีก็ยังไม่สามารถหาพยานหลักฐานได้ทันในระยะเวลาสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนดคือ 90 วัน รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มีจึงได้เสนอกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2491 ขยายกำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในกรณีสวรรคตได้เป็นพิเศษ ให้ศาลอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาได้หลายครั้ง รวมเวลาไม่เกิน 180 วัน[65] ก่อนการประหารชีวิต เฉลียว ปทุมรส 1 ใน 3 จำเลยของคดีดังกล่าว ได้ขอพบพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และเล่ากันว่า เฉลียวได้บอกชื่อฆาตกรตัวจริงให้พลตำรวจเอกเผ่าทราบ[ต้องการอ้างอิง]

และถึงแม้สังคมบางส่วนจะว่าปรีดีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต แต่กรณีคดีของจำเลยทั้งสามที่ถูกประหารชีวิตไปก็ไม่เคยถูกรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาใหม่เลย ทั้งในกระบวนการยุติธรรมหรือการศึกษาหาความจริงใหม่ ทั้งที่ข้อกล่าวหาของจำเลยทั้งสามและปรีดีนั้น มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด (ข้อกล่าวหาคือ "ปรีดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของจำเลยทั้งสาม")[66] และมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าอย่างน้อยหนึ่งในสามจำเลยน่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์[65]

ความเชื่อว่าทรงทำอัตวินิบาตกรรม

ทฤษฎีนี้มุ่งอธิบายประเด็นความขัดแย้งในราชสำนัก และเหตุผลที่ทำให้ในที่สุดรัชกาลที่ 8 ทรงตัดสินใจเช่นนั้น เอกสารสำคัญที่เสนอทฤษฎีนี้ก็คือหนังสือ The Devil’s Discus: An Enquiry Into the Death of Ananda, King of Siam โดย เรนย์ ครูเกอร์ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2507 หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทย ใช้ชื่อ กงจักรปีศาจ

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส.ศิวรักษ์) เคยเขียนวิจารณ์หนังสือเล่มนี้ลงใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ว่าหนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลที่ผิดพลาด รวมถึงวิจารณ์ตัวนายปรีดีและผู้เขียนหนังสือไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากสุลักษณ์เชื่อว่าปรีดีมีส่วนเกี่ยวของกับการปลงพระชนม์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปในภายหลัง สุลักษณ์ได้เขียนเล่าในปาจารยสาร ฉบับกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2550 ว่าการเขียนวิจารณ์ในครั้งนั้นเป็นเพราะเขาหลงเชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่อ และต่อมาเขาจึงไถ่บาปด้วยการเขียนหนังสือเกี่ยวกับปรีดี และต่อมามีการแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Powers That Be: Pridi Banomyong through the Rise and Fall of Thai Democracy[67][66]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การสวรรคตและพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี การสวดภาณยักษ์ การสวรรคตของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 การสวนทวารด้วยกาแฟ การสวนทวารหนัก การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ การสวมมงกุฎพระนางพรหมจารี (เบลัซเกซ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล http://socialitywisdom.blogspot.com.au/2009/02/blo... http://socialitywisdom.blogspot.com.au/2009/02/blo... http://somsakwork.blogspot.com.au/2007/11/2.html http://somsakwork.blogspot.com.au/2007/11/blog-pos... http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/2.html http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/blog-post.h... http://prachatai.com/05web/th/home/11358 http://www.sarakadee.com/feature/2000/04/pridi.htm http://www.su-usedbook.com http://www.su-usedbook.com/product.detail.php?lang...