การวินิจฉัยของศาล ของ การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐบาลใหม่ได้ทำการสืบสวนต่อ โดยพุ่งเป้าไปที่เป็นการลอบปลงพระชนม์ โดยมีนายชิต นายบุศย์ นายเฉลียว นายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย เป็นจำเลย จากนั้นอัยการได้นำสืบ คดีขึ้นสู่ศาล ทั้ง 3 ศาลวินิจฉัยความเป็นไปได้ดังนี้จากความเป็นไปได้ทั้ง 4 แบ่งเป็น

การกระทำโดยพระองค์เอง

  • ตั้งใจ (ฆ่าตัวตาย)
  • ไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ)

การกระทำโดยผู้อื่น

  • ตั้งใจ (ลอบปลงพระชนม์)
  • ไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ)

ศาลชั้นต้น

  1. กรณีที่ 1 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยตั้งใจ (ฆ่าตัวตาย) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[47]
  2. กรณีที่ 2 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่น ปืนลั่น) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[48]
  3. กรณีที่ 3 การกระทำโดยผู้อื่น โดยตั้งใจ (ลอบปลงพระชนม์) ศาลมั่นใจว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์[49]
  4. กรณีที่ 4 การกระทำโดยผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่น ปืนลั่น) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[50]

ศาลชั้นอุทธรณ์

  1. กรณีที่ 1 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยตั้งใจ (ฆ่าตัวตาย) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[51]
  2. กรณีที่ 2 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่น ปืนลั่น) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[52]
  3. กรณีที่ 3 การกระทำโดยผู้อื่น โดยตั้งใจ (ลอบปลงพระชนม์) ศาลเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์[53]
  4. กรณีที่ 4 การกระทำโดยผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่น ปืนลั่น) ศาลเห็นว่าให้ตัดข้อนี้ทิ้งโดยไม่มีทางที่จะโต้แย้งได้[54]

ศาลชั้นฎีกา

  1. กรณีที่ 1 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยตั้งใจ (ฆ่าตัวตาย) ศาลเห็นว่ามิใช่การกระทำโดยพระองค์เอง[55]
  2. กรณีที่ 2 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่น ปืนลั่น) ศาลเห็นว่ามิใช่การกระทำโดยพระองค์เอง[56]
  3. กรณีที่ 3 การกระทำโดยผู้อื่น โดยตั้งใจ (ลอบปลงพระชนม์) ศาลเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์[57]
  4. กรณีที่ 4 การกระทำโดยผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ เช่น ปืนลั่น) ศาลฎีกาไม่ได้กล่าวถึงข้อนี้[58]

นอกจากนี้ ประเด็นเรื่อง การสวรรคตเพราะอุบัติเหตุโดยการกระทำของผู้อื่น ในข้อสรุปรายงานของคณะกรรมการสอบสวนพฤติการณ์สวรรคต ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2489 ก็ได้สรุปไปในทำนองเดียวกับศาล คือ "อุบัติเหตุเกิดจากการกระทำของผู้อื่นนั้นไม่มีเค้ามูลอันจำต้องพิจารณาถึง"[59]

ความเห็นแย้งศาลอุทธรณ์

หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ทำความเห็นแย้งไว้ในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า คดีนี้ควรพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสาม[60]นอกจากนี้ หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ยังให้ความเห็นว่าอาจเป็นอุบัติเหตุโดยพระองค์เอง ดังที่กล่าวไว้ในในเอกสารความเห็นแย้ง[61] และกล่าวย้ำอีกครั้งในบทสัมภาษณ์ในอีกหลายปีให้หลัง[62]

ใกล้เคียง

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การสวรรคตและพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี การสวดภาณยักษ์ การสวรรคตของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 การสวนทวารด้วยกาแฟ การสวนทวารหนัก การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ การสวมมงกุฎพระนางพรหมจารี (เบลัซเกซ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล http://socialitywisdom.blogspot.com.au/2009/02/blo... http://socialitywisdom.blogspot.com.au/2009/02/blo... http://somsakwork.blogspot.com.au/2007/11/2.html http://somsakwork.blogspot.com.au/2007/11/blog-pos... http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/2.html http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/blog-post.h... http://prachatai.com/05web/th/home/11358 http://www.sarakadee.com/feature/2000/04/pridi.htm http://www.su-usedbook.com http://www.su-usedbook.com/product.detail.php?lang...