การสัมพันธ์ที่เกิดจากการเรียน ของ การสัมพันธ์

(อังกฤษ: learned association) การเรียนเชิงสัมพันธ์คือเมื่อบุคคลหรือสัตว์สัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (ทางเสียง หรือภาพ) หรือพฤติกรรม (ทางเสียง หรือภาพ) กับสิ่งเร้าอันเดิม (ทางเสียง หรือภาพ). ยิ่งสิ่งเร้ามีความเป็นรูปธรรมมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสปลุกภาพความรู้สึกที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางของการเรียนเชิงสัมพันธ์ และความจำ[4] ความสามารถในการเรียนข้อมูลใหม่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน และดังนั้นเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสูงวัยขึ้นแบบสุขภาพดี มีงานวิจัยเพียงพอที่บันทึกการลดลงของความสามารถที่จะสร้างหรือนึกถึงความจำอาศัยเหตุการณ์อันเนื่องมาจากความชรา[5] การสัมพันธ์เป็นรากฐานของการเรียน[6] การเรียนในรูปแบบนี้สามารถพบเจอได้ในทั้งการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม และการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (operant conditioning)

กฎแห่งผล

เอ็ดเวิร์ด ธอร์นไดค์ (Edward Thorndike) ทำวิจัยในสาขานี้และได้พัฒนากฎแห่งผล (อังกฤษ: law of effect) ขึ้น โดยการสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองนั้นถูกกระทบโดยผลที่ตามมาของการตอบสนองนั้น ๆ[7] เช่น พฤติกรรมจะเกิดบ่อย และ/หรือแรงขึ้นถ้าได้รับรางวัลเป็นผลที่ตามมา นี่เกิดขึ้นเพราะการสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม กับภาพแทนทางจิต ( mental representation) ของรางวัล (เช่น อาหาร) ในทางกลับกัน การได้รับผลที่เป็นลบจะลดอัตราการเกิดเนื่องจากการสัมพันธ์ที่เป็นลบ[7]

การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม

การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (อังกฤษ: classical conditioning) เป็นตัวอย่างของการสัมพันธ์ที่เกิดจากการเรียน กระบวนการการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิมประกอบไปด้วยสี่องค์ประกอบ: สิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไข (unconditioned stimulus (UCS)), การตอบสนองไม่มีเงื่อนไข (unconditioned response (UCR)), สิ่งเร้ามีเงื่อนไข (conditioned stimulus (CS)), และการตอบสนองมีเงื่อนไข (conditioned response (CS))[1]

แม้ไม่มีการวางเงื่อนไข แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไขกับการตอบสนองไม่มีเงื่อนไขมีอยู่แล้ว เมื่อจับคู่สิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไขกับสิ่งเร้าสิ่งที่สองอีกอันหนึ่ง การตอบสนองไม่มีเงื่อนไขจะถูกสัมพันธ์กับสิ่งเร้าทั้งสองสิ่งนั้น สิ่งเร้าสิ่งที่สองเรียกว่า สิ่งเร้ามีเงื่อนไข และมันกระตุ้นการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข[8]

ความแรงของการตอบสนองต่อสิ่งเร้ามีเงื่อนไขจะเพิ่มขึ้นต่อเวลาของการเรียน ในขณะที่สิ่งเร้ามีเงื่อนไขถูกสัมพันธ์กับสิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไข ความแรงของการตอบสนองอาจลดลงได้ถ้าสิ่งเร้ามีเงื่อนไขถูกนำเสนอโดยไม่มีสิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไข[8] ในการทดลองอันโด่งดังของปัฟลอฟ เขาใช้การตอบสนองแบบไม่มีเงื่อนไขของสุนัขที่จะน้ำลายไหลเมื่อเห็นอาหาร และจับคู่มันกับเสียงกระดิ่งซึ่งเป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไขเมื่อให้อาหาร หลังจากนั้นเมื่อสั่นกระดิ่ง สุนัขจะน้ำลายไหลแม้จะไม่มีอาหารอยู่ก็ตาม แสดงให้เห็นถึงการสัมพันธ์ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาระหว่างกระดิ่งและอาหาร[9][10]

การวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ

ในการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (อังกฤษ: operant conditioning) พฤติกรรมจะเปลี่ยนไปเนื่องจากผลของการกระทำที่ได้ประสบในภายหลัง สิ่งเร้าไม่ได้ทำให้เกิดพฤติกรรมแบบในการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม แต่การสัมพันธ์ถูกสร้างขึ้นมาระหว่างสิ่งเร้ากับผลที่ตามมา เป็นการขยายความโดยธอร์นไดค์ในกฎของผลของเขา[10][8]

บี. เอฟ. สกินเนอร์ (B.F. Skinner) โด่งดังจากการศึกษาเรื่องตัวเสริมพฤติกรรม รวมถึงลักษณะของข้อแม้ (อังกฤษ: contingency) หมายถึงการเชื่อมโยงความระหว่างการกระทำกับผลที่ตามมา หรือการเสริม[8] สกินเนอร์บรรยายถึงข้อแม้สามรูปแบบ: การเสริมบวก การเสริมลบ และการลงโทษ การเสริมสร้างการสัมพันธ์บวกระหว่างการกระทำและผลที่ตามมาเพื่อสนับสนุนการกระทำนั้นต่อไป นี่สามารถทำได้สองรูปแบบ การเสริมบวกจะนำเข้าสิ่งเร้าที่เป็นรางวัล ในทางตรงกันข้ามการเสริมลบจะเอาสิ่งเร้าที่ไม่ชอบออกไป การลงโทษจะสร้างการสัมพันธ์ลบระหว่างการกระทำและผลที่ตามมา ซึ่งจะทำให้ไม่มีการกระทำนั้นต่อไปอีก[8]

พื่นอารมณ์

เนื้อหาโดยรวมของพื้นอารมณ์ (อังกฤษ: mood) เมื่อเทียบกับความรู้สึก, อารมณ์, และสภาวะอารมณ์ (affect) จะมีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่า และมีโอกาสถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้าและเหตุการณ์มากกว่า การศึกษาที่นำเสนอนี้สืบค้นถึงส่วนประกอบของประสบการณ์โดยตรงของพื้นอารมณ์อย่างหนึ่งเช่น สภาวะเศร้า หรือโกรธ พื้นอารมณ์ปกติถูกนิยามด้วยการเปรียบเทียบกับอารมณ์ มีหลายเกณฑ์เพื่อแยกแยะพื้นอารมณ์ออกจากอารมณ์ แต่มีการตกลงกันอย่างกว้างขวางว่า คุณสมบัติแยกแยะที่สำคัญคือพื้นอารมณ์นั้นกระจัดกระจายและสากลกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับอารมณ์[11] วอตสัน ได้แนะนำกระต่ายขนปุยสีขาวต่อเด็กทารก และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกระต่ายและเสียงดัง การทดลองนี้ทำให้หนูน้อยอัลเบิร์ตสัมพันธ์กระต่ายกับความกลัว[6]

ใกล้เคียง

การสังหารหมู่ที่หนานจิง การสังหารหมู่ที่จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2565 การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ (ออสเตรเลีย) การสักยันต์ การสังเคราะห์ด้วยแสง การสัมพันธ์ การสังหารหมู่ที่วัดพรหมคุณาราม รัฐแอริโซนา การสังหารหมู่เชลยศึกที่ออแลนิวกา การสังหารหมู่ที่บูชา การสังหารหมู่ที่หมีลาย