ความถี่ลาร์เมอร์ ของ การหมุนควงลาร์เมอร์

เวกเตอร์โมเมนตัมเชิงมุม J → {\displaystyle {\vec {J}}} จะหมุนควง (คือ มีจุดหนึ่งยันกับแกนอ้างอิง ที่เหลือหมุนไปรอบ ๆ ในลักษณะกวาดเป็นรูปทรงกรวย) รอบเส้นสนามแม่เหล็กจากภายนอกด้วยความถี่เชิงมุมค่าหนึ่ง เรียกความถี่นี้ว่าความถี่ลาร์เมอร์ (Larmor frequency) ความถี่ลาร์เมอร์กำหนดตามสมการ

ω = − γ B {\displaystyle \omega =-\gamma B}

หรือ

ω = e g B 2 m {\displaystyle \omega ={\frac {egB}{2m}}}

โดยที่ ω {\displaystyle \omega } แทนความถี่ลาร์เมอร์[1] γ = − e g 2 m {\displaystyle \gamma =-{\frac {eg}{2m}}} แทนอัตราส่วนไจโรแมกเนติก อัตราส่วนใจโรแมกเนติกคำนวณจากตัวแปรต่อไปนี้คือ m {\displaystyle m} แทนมวล − e {\displaystyle -e} แทนประจุมูลฐาน B {\displaystyle B} แทนขนาดของสนามแม่เหล็ก[2] และ g {\displaystyle g} เป็นตัวประกอบจี ซึ่งปกติอยู่ที่ 1 สำหรับอนุภาคเดี่ยว แต่จะเป็นค่าอื่นเมื่ออนุภาครวมตัวเป็นนิวเคลียส ค่าจีไม่สามารถคำนวณได้โดยตรง แต่สามารถวัดได้ ซึ่งสมบัติในข้อนี้เป็นส่วนสำคัญของสเปกโทรสโคปีด้วยวิธีการสั่นพ้องของนิวเคลียสโดยใช้สนามแม่เหล็ก (NMR spectroscopy)


ใกล้เคียง

การหมักเชิงอุตสาหกรรม การหมิ่นประมาท (กฎหมายไทย) การหมักดอง การหมุนแถวลำดับ การหมุนเชิงแสง การหมัก (ชีวเคมี) การหมุน (สเกตลีลา) การหมุนควงลาร์เมอร์ การหมุนรอบตัวเอง การหมักเนื้อ