ทฤษฎี ของ การหลอกลวงตัวเอง

การวิเคราะห์

รูปแบบทั่วไปของปรากฏการณ์นี้ พุ่งความสนใจไปที่เรื่องการหลอกลวงผู้อื่นเช่น "นาย ก" ตั้งใจทำให้ "นาย ข" เชื่อในทฤษฎีบท p ทั้ง ๆ ที่รู้หรือเชื่อจริง ๆ ว่า ~p (คือว่า p ไม่เป็นความจริง)การหลอกลวงเช่นนี้เป็นเรื่องจงใจ และบังคับในตัวว่า คนหลอกต้องรู้หรือเชื่อว่า ~p ในขณะที่คนถูกหลอกต้องเชื่อว่า pดังนั้น ในรูปแบบทั่วไปนี้ คนหลอกตัวเองจะต้อง (1) มีความเชื่อที่ขัดแย้งกัน (2) ตั้งใจทำให้ตัวเองถือเอาความเชื่อที่ตนรู้หรือเชื่อว่า ไม่เป็นจริง[2]

แต่กระบวนการหาเหตุผลแก้ต่างหรือเข้าข้างตนเองในบุคคล สามารถอำพรางความตั้งใจหลอกตนเองของตนนักวิชาการผู้หนึ่งแสดงว่า การหาเหตุผลเช่นนั้นในสถานการณ์บางอย่าง ทำให้ปรากฏการณ์หลอกตนเองเกิดขึ้นได้เช่น เมื่อบุคคลหนึ่ง ผู้จริง ๆ ไม่เชื่อในตรรกบท p ตั้งใจพยายามให้ตนเชื่อหรือรักษาความเชื่อใน p โดยใช้เหตุผลต่าง ๆ และดังนั้นจึง ทำตัวเองให้เข้าใจผิดอย่างไม่ได้ตั้งใจ เป็นการเชื่อหรือรักษาความเชื่อเกี่ยวกับ p โดยใช้ความคิดแบบเอนเอียง จึงเป็นการหลอกตัวเองโดยวิธีที่เป็นเหตุเป็นผลและเป็นวิธีที่ไม่ต้องตั้งใจหลอกตนเองหรือมีความคิดไม่ซื่อสัตย์โดยต่างหาก[3]

จิตวิทยา

ปรากฏการณ์หลอกลวงตัวเองสร้างคำถามในเรื่องธรรมชาติของ "บุคคล" โดยเฉพาะในทางจิตวิทยาและในเรื่อง "ตน" (หรืออัตตา)ปฏิทรรศน์ที่อ้างว่าเป็นธรรมชาติของเรื่องนี้ มีเหตุจากความคิดที่ไม่สมเหตุผล แต่ก็มีผู้อ้างว่า ทุกคนไม่ได้มีแนวโน้มที่จะมีปรากฏการณ์นี้[4]นอกจากนั้นแล้ว การหาเหตุผลแก้ต่างหรือเข้าข้างตนเองยังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยมากมายรวมทั้งการเข้าสังคม (socialization) ความเอนเอียงต่าง ๆ ของบุคคล ความกลัว และการกดเก็บทางประชาน (cognitive repression)และสามารถจัดเปลี่ยนได้ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ทำให้มองสถานการณ์เชิงลบในแง่ดีเกินไป และสถานการณ์ที่ดีแย่เกินไปดังนั้น การหาเหตุผลแก้ต่างเพียงแนวคิดเดียว ไม่สามารถสร้างความชัดเจนต่อกระบวนการหลอกตนเอง เพราะว่าการคิดหาเหตุผลเป็นรูปแบบที่ปรับเปลี่ยนได้ในการทำงานทางจิต[5]

ปฏิทรรศน์ของการหลอกลวงตนเอง

นักปรัชญาผู้หนึ่งได้ให้แสงสว่างเกี่ยวกับความขัดแย้งกัน (หรือปฏิทรรศน์) ที่สำคัญของการหลอกลวงตนเองซึ่งมีสองอย่าง อย่างแรกเป็นเรื่องภาวะทางจิตของผู้หลอกตัวเอง และอย่างที่สองเป็นปฏิสัมพันธ์แบบพลวัตของการหลอกลวงตนเอง โดยมีชื่อบัญญัติว่า ปฏิทรรศน์สถิต (static paradox) และปฏิทรรศ์พลวัต (dynamic paradox) ตามลำดับ

นักปรัชญาผู้นั้นได้ให้ตัวอย่างของปฏิทรรศน์สถิตดังต่อไปนี้

ถ้านาย "ก" หลอกนาย "ข" ให้เชื่ออะไรบางอย่างว่า p เป็นเรื่องจริง และนาย ก ก็รู้หรือเชื่อจริง ๆ ว่า p เป็นเรื่องเท็จ ในขณะที่ทำให้นาย ข เชื่อว่า p เป็นเรื่องจริงและดังนั้น เมื่อนาย ก หลอก นาย ก เอง ให้เชื่อว่า p เป็นจริง เขาก็จะรู้หรือเชื่อจริง ๆ ว่า p เป็นเท็จ ในขณะที่ทำให้ตัวเองเชื่อว่า p เป็นเรื่องจริงดังนั้น นาย ก ก็จะต้องเชื่อไปพร้อม ๆ กันว่า p เป็นเท็จ และว่า p เป็นจริงด้วย แล้วนี่จะเป็นไปได้อย่างไร[6]

และพรรณนา ปฏิทรรศน์พลวัตดังต่อไปนี้

โดยทั่วไปแล้ว นาย "ก" จะไม่สามารถใช้กลยุทธ์หลอกลวงนาย "ข" ได้ ถ้านาย ข รู้เจตนาหรือแผนของนาย กซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน เมื่อนาย ก และ ข เป็นคนเดียวกันดังนั้น สำหรับคนที่ต้องการหลอกตัวเอง การรู้เจตนาและกลยุทธ์ของตนเองดูเหมือนจะทำให้การหลอกตัวเองนั้นไม่มีผลและในด้านตรงกันข้าม ข้อเสนอว่า คนหลอกตัวเองมักจะใช้กลยุทธ์หลอกตัวเองอย่างสำเร็จผลโดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรดูจะเป็นเรื่องน่าขันเพราะว่า การดำเนินการตามแผนของบุคคลดูเหมือนจะต้องอาศัยความเข้าใจแผนและเป้าหมายของตนโดยทั่วไปและดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว บุคคลจะสามารถหลอกตัวเองโดยกลยุทธ์หลอกตัวเองได้หรือไม่[6]

ดังนั้น แบบจำลองเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหาว่า บุคคลจะสามารถมีความเชื่อที่ขัดกันเองได้อย่างไร (ปฏิทรรศน์สถิต) และจะสามารถหลอกตัวเองได้อย่างไรโดยที่ไม่ทำให้เจตนาของตนไร้ประสิทธิผล (ปฏิทรรศน์พลวัต)การพยายามแก้ปัญหาเหล่านี้ ทำให้เกิดแนวคิดแบ่งออกเป็นสองพวกแนวคิดหนึ่งธำรงว่า กรณีสำคัญที่เด่น ๆ ของการหลอกลวงตัวเองเป็นการทำ "โดยมีเจตนา" และอีกแนวคิดหนึ่งเป็นนัยตรงข้ามกับแนวคิดนั้น แนวคิดสองอย่างนี้เรียกว่า "พวกมีเจตนา" (intentionalist) และ "พวกไม่มีเจตนา" (non-intentionalist) ตามลำดับ[2]

พวกนักปรัชญาที่มีความเห็นแบบแรกมักจะตกลงกันได้ว่า การหลอกลวงตนเองเป็นการกระทำโดยเจตนา แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่า จะต้องทำโดยมีความเชื่อขัดกันหรือไม่[2]เป็นแนวคิดที่รวมองค์ประกอบเกี่ยวกับการแบ่งเวลา (คือยืดเวลาออกเป็นเวลานาน ๆ เพิ่มโอกาสที่จะลืมว่าได้หลอกตัวเอง) หรือการแบ่งทางจิตภาพ (คือการมีด้านหรือฝ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับ "ตน")

โดยเปรียบเทียบกัน นักปรัชญาพวกที่สองมักจะเชื่อว่า แม้กรณีต่าง ๆ ของการหลอกลวงตนเองจะไม่ใช่เรื่องที่เกิดโดยบังเอิญ แต่ก็เกิดจากความต้องการ ความวิตกกังวล และอารมณ์อื่น ๆ เกี่ยวกับ p[2]ซึ่งเป็นแนวคิดที่แยกแยะการหลอกตัวเองจากความเข้าใจผิด[2]ยังมีคำถามและการโต้เถียงที่ยังไม่ยุติมากมายเกี่ยวปฏิทรรศน์ของการหลอกตัวเอง และทฤษฎีที่สามารถมีมติร่วมกันได้ก็ยังไม่ปรากฏ

ทฤษฎีของรอเบิร์ต ทริเวอร์

มีทฤษฎีว่า มนุษย์เสี่ยงต่อการหลอกตัวเองเพราะว่าคนโดยมากมีความติดข้องทางอารมณ์กับความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งบางเรื่องอาจจะไร้เหตุผลมีนักชีววิทยาวิวัฒนาการ เช่น ศ.ดร.รอเบิร์ต ทริเวอร์ ที่เสนอว่า[7]การหลอกตัวเองเป็นส่วนสำคัญของพฤติกรรมมนุษย์ และแม้ของสัตว์โดยทั่วไปคือ บุคคลจะหลอกตัวเองให้เชื่ออะไรบางอย่างที่ไม่จริง เพื่อจะให้สามารถยังให้คนอื่นเชื่อเรื่องนั้นได้ดีกว่าเพราะว่า เมื่อบุคคลยังให้ตัวเองเชื่อเรื่องที่ไม่จริง ก็จะสามารถซ่อนอาการหลอกลวงได้ดีกว่า

แนวคิดนี้มีมูลฐานจากเหตุผลเช่นนี้ คือ การหลอกลวงเป็นหลักอย่างหนึ่งของการสื่อสารในธรรมชาติ ทั้งในสปีชีส์เดียวกันและระหว่างสปีชีส์ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้ได้เปรียบบุคคลอื่นเริ่มตั้งแต่การร้องตกใจจนถึงการร้องเลียนแบบ สัตว์ได้ใช้การหลอกลวงเพื่อการรอดชีวิตและสัตว์ที่สามารถรู้ว่าเป็นการหลอกลวงจะมีโอกาสสูงกว่าที่จะรอดชีวิตและดังนั้น การหลอกลวงตนเองจึงเป็นการอำพรางความตั้งใจหลอกลวงจากบุคคลอื่นที่จะรู้ได้ดังที่ ดร.ทริเวอร์กล่าวว่า "ซ่อนความจริงจากตัวเพื่อที่จะซ่อนจากคนอื่น ๆ ได้ลึกยิ่งกว่า"ในมนุษย์ การสำนึกว่ากำลังหลอกผู้อื่นมักจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น จมูกบาน เหงื่อออก เสียงเปลี่ยน การขยับตา และการกะพริบตาเร็วและดังนั้น ถ้าการหลอกลวงตนเองสามารถทำให้ตนเชื่อเรื่องบิดเบือนเอง บุคคลนั้นจะไม่ปรากฏอาการหลอกลวง และดังนั้นจะดูเหมือนพูดความจริง

การหลอกลวงตนเองสามารถทำเพื่อให้เหมือนเก่งกว่าหรือด้อยกว่าที่ตนเป็นจริง ๆยกตัวอย่างเช่น บุคคลสามารถแสดงความมั่นใจเกินจริงเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม หรือแสดงความมั่นใจน้อยเกินจริงเพื่อที่จะเลี่ยงสัตว์ล่าหรือภัยอย่างอื่นดังนั้น ถ้าบุคคลสามารถซ่อนความรู้สึกและเจตนาของตนได้ดี ก็จะสามารถหลอกผู้อื่นได้สำเร็จมากกว่า

แต่ก็สามารถอ้างได้ว่า ความสามารถในการหลอกลวงหรือหลอกลวงตัวเอง ไม่ใช่เป็นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือก แต่เป็นผลข้างเคียงของลักษณะที่ทั่วไปยิ่งกว่านั้นคือ ความคิดเชิงนามธรรม (abstract thinking)ซึ่งทำให้มีความได้เปรียบทางวิวัฒนาการหลายอย่างเช่น พฤติกรรมที่ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ และการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆแต่เนื่องจากว่า การโกหกเป็นพฤติกรรมทางนามธรรม กระบวนการทางจิตที่สร้างเรื่องเท็จ สามารถเกิดในสัตว์ที่สมองซับซ้อนเพียงพอที่จะให้เกิดความคิดเชิงนามธรรมได้เท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]การหลอกตัวเองเป็นการลดเรื่องที่ต้องคิด (หรือลดการประมวลข้อมูลในสมอง) ซึ่งก็คือ มันซับซ้อนน้อยกว่าที่บุคคลจะมีพฤติกรรมหรือคิดในรูปแบบที่แสดงว่าเป็นความจริง ถ้าบุคคลนั้นเชื่อว่าเรื่องนั้นเป็นจริงเพราะว่า สมองก็จะไม่ต้องคิดถึงเรื่องจริงและเรื่องเท็จเสมอ ๆ โดยเพียงแค่เชื่อว่า สิ่งที่เป็นเท็จเป็นเรื่องจริง

นัยที่เป็นผลของทฤษฎี

เพราะว่ามีการหลอกลวง ดังนั้นก็จะมีการคัดเลือกที่มีกำลังเพื่อความสามารถที่จะรู้ความหลอกลวงได้ดังนั้น การหลอกลวงตนเองจึงได้วิวัฒนาการขึ้นเพื่อซ่อนอาการหลอกลวงจากคนอื่น ๆการมีการหลอกลวงเอง เป็นตัวอธิบายการมีความสามารถแต่กำเนิดในการหลอกตัวเองเพื่อซ่อนอาการหลอกลวงดังนั้น มนุษย์หลอกตัวเองเพื่อจะหลอกคนอื่นได้ดีกว่า และได้เปรียบต่อผู้อื่นตั้งแต่ ดร.ทริเวอร์ได้เสนอทฤษฎีการหลอกตัวเองโดยเป็นการปรับตัวเมื่อ 3 ทศวรรษก่อน ก็ได้มีการถกเถียงกันเรื่อย ๆ มาว่า พฤติกรรมเช่นนี้มีมูลฐานทางพันธุกรรมหรือไม่

แม้ว่าคำอธิบายเกี่ยวกับการหลอกลวงผู้อื่นและตัวเองว่าเป็นลักษณะแต่กำเนิดอาจจะเป็นจริง แต่ว่าก็ยังมีคำอธิบายอื่น ๆ มากมายเกี่ยวกับรูปแบบพฤติกรรมเช่นนี้เช่น มันเป็นไปได้ว่าความสามารถในการหลอกตัวเองไม่ได้มีแต่กำเนิด แต่เป็นลักษณะที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ยกตัวอย่างเช่น บุคคลอาจจะเคยถูกจับได้ว่าโกหกปิดความจริงโดยมีจมูกบาน ซึ่งแสดงให้คนอื่นรู้ว่ากำลังโกหก ดังนั้นจึงไม่ได้สิ่งที่ต้องการดังนั้น ในครั้งต่อ ๆ ไป เพื่อให้ได้ผลที่ดีกว่า บุคคลจะพยายามหลอกตัวเองว่าไม่มีข้อมูลที่เป็นเรื่องจริง เพื่อที่จะปิดบังการหลอกลวงดังนั้น มนุษย์อาจจะสามารถเรียนรู้การหลอกตัวเอง

ใกล้เคียง

การหลั่งน้ำอสุจิ การหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต การหลอกลวงตัวเอง การหลั่งนอกช่องคลอด การหลอมนิวเคลียส การหลีกเลี่ยงการเสีย การหลั่งใน การหลับ การหลบหนีและการถูกขับไล่ของชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1944–1950) การหลอมละลายนิวเคลียร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การหลอกลวงตัวเอง http://www.arbinger.com http://books.google.com/books?id=By3I9jsoBQkC&outp... http://www.informaworld.com/smpp/content~content=a... http://roberttrivers.com/Publications_files/T&Newt... http://skepdic.com/selfdeception.html http://www.ted.com/talks/michael_shermer_the_patte... http://plato.stanford.edu/entries/self-deception/ http://www.uniovi.es/Teorema/English/Issues/XXVI3.... http://www.bbsonline.org/Preprints/bbstoc/vol20.ht... https://books.google.co.th/books?hl=en&lr=&id=p6Ps...