การหลีกเลี่ยงการเสียและปรากฏการณ์ความเป็นเจ้าของ ของ การหลีกเลี่ยงการเสีย

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ในปี ค.ศ. 1990 ดร. คาฮ์นะมันและคณะเป็นพวกแรกที่เสนอทฤษฎีการหลีกเลี่ยงการเสีย โดยเป็นคำอธิบายของ endowment effect (ปรากฏการณ์ความเป็นเจ้าของ) ที่เราตั้งมูลค่าให้กับสิ่งของที่เราเป็นเจ้าของ มากกว่าของเหมือนกันที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ[4] ปรากฏการณ์การหลีกเลี่ยงการเสียและปรากฏการณ์ความเป็นเจ้าของ ทำให้ทฤษฎี Coase theorem ไม่เป็นจริง เพราะทฤษฎีพยากรณ์ว่า "การจัดสรรทรัพยากรจะเป็นอิสระจากการตั้งว่าใครเป็นเจ้าของ เมื่อการแลกเปลี่ยนที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นไปได้" (คือเมื่อของที่แลกมีมูลค่าเท่ากัน ควรจะแลกของได้อย่างอิสระโดยที่ความเป็นเจ้าของจะไม่มีผล)[upper-alpha 1]

แผนภูมิเส้นแสดงอุปสงค์และอุปทานทั่วไป

ในงานทดลองหลายงาน ผู้ทำงานวิจัยแสดงว่า การหลีกเลี่ยงการเสียสามารถใช้เป็นทฤษฎีอธิบายปรากฏการณ์ความเป็นเจ้าของได้ โดยเทียบกับคำอธิบายอื่น ๆ 5 อย่างที่ไม่สามารถ รวมทั้ง (1) ค่าใช้จ่ายในธุรกรรม (transaction costs) (2) ความเข้าใจผิด (3) พฤติกรรมต่อรองที่เป็นนิสัย (4) income effect (ความเปลี่ยนแปลงของการบริโภคที่เกิดเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่แท้จริง), or (5) trophy effect (ปรากฏการณ์ที่เพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งของที่เพิ่มสถานะทางสังคม) ในงานทดลองแต่ละงาน ผู้ร่วมการทดลองครึ่งหนึ่งจะได้รับสินค้าโดยสุ่ม แล้วถามถึงจำนวนเงินอย่างต่ำที่สุดที่จะขายสิ่งนั้นส่วนผู้ร่วมการทดลองที่เหลือจะไม่ได้อะไร แล้วถามถึงจำนวนเงินอย่างสูงที่สุดที่จะซื้อสิ่งนั้นเนื่องจากว่า สินค้านี้มีราคาเสถียร และการประเมินมูลค่าสินค้าจะต่างไปจากราคานี้เพราะเหตุแห่งการชักตัวอย่างเท่านั้นดังนั้น แผนภูมิเส้นแสดงอุปสงค์และอุปทานควรที่จะสะท้อนกันและกัน และควรที่จะเกิดการซื้อขายสินค้าจำนวนครึ่งหนึ่งนอกจากนั้นแล้ว ผู้ทำงานวิจัยยังกำจัดคำอธิบายว่าผู้ร่วมการทดลองขาดประสบการณ์ค้าขาย โดยให้ทำการค้าขายช้ำ ๆ กันผลการทดลองพบว่า ผู้ขายตั้งราคาที่ต้องการขายสูงกว่าผู้ซื้อต้องการซื้อในระดับสูง ซึ่งผู้ทำงานวิจัยยกว่ามีผลมาจากการหลีกเลี่ยงการเสีย ไม่ใช่เป็นเพราะเหตุอื่น ๆ ที่ตรวจสอบ

ใกล้เคียง

การหลั่งน้ำอสุจิ การหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต การหลอกลวงตัวเอง การหลั่งนอกช่องคลอด การหลอมนิวเคลียส การหลีกเลี่ยงการเสีย การหลั่งใน การหลับ การหลบหนีและการถูกขับไล่ของชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1944–1950) การหลอมเหลว

แหล่งที่มา

WikiPedia: การหลีกเลี่ยงการเสีย http://www.nytimes.com/2005/06/05/magazine/05FREAK... http://www.sciencedaily.com/releases/2012/08/12080... http://sciencek.com/allmedia/videos/LifeScience/Ho... http://www.washingtonpost.com/blogs/wonkblog/wp/20... http://www.economics.harvard.edu/faculty/fryer/fil... http://wolfweb.unr.edu/homepage/pingle/Teaching/BA... http://dirkbergemann.commons.yale.edu/files/kahnem... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16913944 http://www.edexcellence.net/commentary/education-g... //doi.org/10.1002%2Fbdm.602