การค้นหาค่าเหมาะสุดอย่างตอบสนองกับการค้นหาค่าเหมาะสุดอย่างชาญฉลาด ของ การหาค่าเหมาะสุดอย่างตอบสนอง

RSO is multi-disciplinary

การค้นหาค่าเหมาะสุดอย่างตอบสนองจัดอยู่ในพื้นที่การวิจัยที่ซ้อนทับกันหลายองค์ประกอบ ทั้งการวิจัยทางการจัดการ(การหาค่าเหมาะสุด) วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเรียนรู้ของเครื่องจักร รวมถึงเครือข่ายระบบประสาท(neural networks) จุดประสงค์หลักคือเพื่อที่จะศึกษารูปแบบการเรียนรุ้ที่สามารถประยุกต์ใช้ไปในการแก้ไขปัญหาและการหาค่าเหมาะสุด

สัญญาณการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการปรับค่าตัวแปรภายในของวิธีการการแก้ปัญหาได้มาจากสามแหล่ง คือ

  1. ลักษณะของปัญหาการค้นหาค่าเหมาะสุด ตัวอย่างเช่น ตัวแปรและตัวเลือกสำหรับการค้นหาที่ถูกประยุกต์ไปใช้กับปัญหา Travelling salesman problem(TSP) จะแตกต่างอย่างมากตัวแปรที่ใช้กับปัญหา Satisfiability
  2. กรณีที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหา TSP สำหรับเมืองในเทือกเขาแอลป์อาจจะต้องการตัวแปรการแก้ปัญหานี้สำหรับเมืองในพื้นราบ
  3. ลักษณะพิเศษในปริภูมิโครงแบบโดยรอบคำตอบที่ถูกเลือก ตัวอย่างเช่นถ้าคำตอบปัจจุบันถูกจำกัดอยู่ในอ่างน้ำรอบจุดเหมาะสุด(local optimum) ลักษณะของอ่างน้ำ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง ความสูงของผนังอ่าง เป็นต้น สามารถถูกใช้เพื่อที่จะปรับแต่งวิธีการหลบหนีที่หลากหลาย

ใกล้เคียง

การหายใจระดับเซลล์ การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ การหารด้วยศูนย์ การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี การหารสังเคราะห์พหุนาม การหาค่าเหมาะที่สุดแบบเฟ้นสุ่ม การหาค่าเหมาะสุดอย่างตอบสนอง การหาร การหาลำดับนิวคลีโอไทด์ด้วยวิธีอิลลูมินา การหารยาว