ประเทศไทย ของ การออกเสียงประชามติ

หลายประเทศมีการออกเสียงประชามติเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ประเทศไทยเคยมีการนำเอาการออกเสียงประชามติมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2492 ฉบับ พ.ศ. 2511 ฉบับ พ.ศ. 2517 ฉบับ พ.ศ. 2540 และฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 โดยสามฉบับแรกกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิออกเสียงประชามติในกรณีที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเท่านั้น ส่วนฉบับ พ.ศ. 2540 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีสามารถขอให้ประชาชนออกเสียงประชามติในเรื่องที่อาจกระทบถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่เคยมีการดำเนินการออกเสียงประชามติตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้จนกระทั่ง พ.ศ. 2550 ที่มีการออกเสียงให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549 (ชั่วคราว)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 ได้บัญญัติให้มีการนำระบบการออกเสียงประชามติมาใช้ในประเทศไทยอีกครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ประชาชนออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยการออกเสียงจัดให้มีขั้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการออกเสียงประชามติในประเทศไทย ซึ่งผลรวมทั่วประเทศออกมามีผู้เห็นชอบ 57.81 % และไม่เห็นชอบ 42.19 % หรือคิดจากผู้มีสิทธิทั้งหมดได้ผลตามตาราง

รายการคะแนนคิดเป็นร้อยละของผู้มีสิทธิทั้งหมด
จำนวนผู้เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ14,249,52031.05%
จำนวนผู้ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ10,419,91222.71%
จำนวนบัตรเสีย479,7151.05%
จำนวนไม่ออกเสียง20,741,34245.20%
จำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ45,890,489100%

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติให้นำการออกเสียงประชามติมาใช้ดังปรากฏในมาตรา 165[1] โดยการจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในสองกรณี คือ กรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้ และในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ โดยรัฐต้องดำเนินการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ และให้บุคคลฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบกับกิจการนั้น มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

ใกล้เคียง

การออกกำลังกาย การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559 การออกกำลังกายใช้ออกซิเจน การออกแบบแฟชั่น การออกเสียงคำว่า GIF การออกแบบอย่างสากล การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 การออกแบบอย่างชาญฉลาด การออกเสียงตัวอักษรของการสื่อสารวิทยุ การออกแบบกราฟิก