ประวัติ ของ การออกเสียงประชามติ

คำว่าการออกเสียงประชามติ หรือ referendum มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน "ad referendum" มีความหมายว่า "การนำมาให้สัตยาบัน" (หรือการนำมาให้รับรอง) แนวคิดเรื่องนี้เกิดขึ้นนานแล้วในทวีปยุโรป

ประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากประชาชน เพื่อให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข มติของคนในสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เดิมประชาชนในรัฐมีจำนวนไม่มาก จึงสามารถใช้อำนาจออกเสียงต่อกิจการบ้านเมืองได้โดยตรง แต่เมื่อรัฐเจริญขึ้นและมีประชากรมากขึ้น หากต่างคนต่างใช้อำนาจก็ย่อมทำให้เกิดความวุ่นวาย ต่อมาจึงจัดให้มีระบบผู้แทนราษฎรขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้แทนราษฎรทำหน้าที่รับความคิดเห็นมาจากประชาชน ออกเสียงแทนประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (จัดทำกฎหมาย) และอำนาจบริหาร (คณะรัฐมนตรี) แทนประชาชน

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในทางสังคมวิทยาแล้ว สมาชิกผู้แทนราษฎรหรือพรรคการเมืองที่สังกัดก็ดี อาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการเอื้อประโยชน์ต่อตนเองหรือแก่พรรคซึ่งทำให้การใช้อำนาจเหล่านั้นไม่ตรงกับเจตนาของประชาชนส่วนใหญ่ หรือแม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีเจตนาบริสุทธิ์ ประชาชนมีส่วนในการเป็นเจ้าของประเทศ มีผลได้ผลเสียด้วย จึงมีวิธีการที่หลากหลายในการตรวจสอบการใช้อำนาจ วิธีตรวจสอบเดิมคือการเลือกตั้งเท่านั้น โดยหากประชาชนเห็นว่าผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกไปไม่มีประสิทธิภาพหรือปฏิบัติตัวไม่ดี ก็ไม่เลือกผู้แทนคนนั้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

การออกเสียงประชามติเป็นกลไกที่นำมาเสริมทฤษฎีตัวแทนของประชาชน โดยให้สิทธิแก่ประชาชนในการตัดสินใจต่อกิจการหรืองานใด ๆ สนับสนุนหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นอกจากการให้สิทธิประชาชนออกเสียงประชามติในเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแล้ว บางประเทศยังเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องอื่น ๆ เช่น ร่างกฎหมายหรือนโยบายที่สำคัญหรือกิจการอื่นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน

ใกล้เคียง

การออกกำลังกาย การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559 การออกกำลังกายใช้ออกซิเจน การออกแบบแฟชั่น การออกเสียงคำว่า GIF การออกแบบอย่างสากล การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 การออกแบบอย่างชาญฉลาด การออกเสียงตัวอักษรของการสื่อสารวิทยุ การออกแบบกราฟิก