ศิลปินการาวัจโจ ของ การาวัจโจ

กำเนิดบาโรก

พระเยซูถูกจับ” ค.ศ. 1602. หอกศิลป์แห่งไอร์แลนด์, ดับลิน การใช้ค่าต่างแสงของคาราวัจโจแสดงให้เห็นจากใบหน้าและเสื้อเกราะ แต่จะไม่เห็นที่มาของลำแสง คนทางขวาสุดเป็นภาพเหมือนตนเองพระกระยาหารค่ำที่เอ็มมัส” ค.ศ. 1601. สีน้ำมันบนผ้าใบ, 139 x 195 ซม. หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน

การาวัจโจ “ใส่เงา (oscuro) ในการสร้างค่าต่างแสง”[29] ค่าต่างแสงเป็นกรรมวิธีการเขียนที่มีใช้กันมานานก่อนหน้านั้นแต่คาราวัจโจเป็นผู้ที่ทำให้เป็นกรรมวิธีที่มีความหมายที่ชัดเจนขึ้น โดยการทำให้เงามืดขึ้นและวางตัวแบบในแสงที่จัดจ้า การวาดเช่นนี้ทำให้ผู้เขียนต้องเพิ่มความสังเกตความเป็นจริงทางด้านสรีระและทางจิตวิทยาของตัวแบบในภาพมากยิ่งขึ้น ความสามารถในการใช้ค่าต่างแสงของคาราวัจโจทำให้เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ศิลปินแต่ก่อให้เกิดปัญหากับคณะกรรมการผู้จ้างงานทางศาสนาบ่อยครั้ง คาราวัจโจมีความสามารถในการเขียนภาพอย่างรวดเร็วจากตัวแบบจริงโดยเพียงแต่ร่างหยาบๆ บนผืนผ้าใบด้วยด้ามแปรง ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นที่ชิงชังในบรรดาช่างเขียนผู้ชำนาญที่ติเตียนการไม่ยอมวาดจากภาพร่างและการที่ไม่ยอมวาดตัวแบบอย่างอุดมคติอย่างที่ช่างเขียนอื่นทำ แต่ตัวแบบของคาราวัจโจเป็นตัวแบบที่เป็นจริงเป็นจังตามที่คาราวัจโจเห็น บางตัวก็สามารถบอกได้ว่าเป็นใครรวมทั้งมาริโอ มินนิติ และฟรานเชสโค โบเนริ ทั้งสองคนเป็นเพื่อนศิลปินด้วยกัน มาริโอปรากฏในภาพหลายภาพในยุคแรกของการเขียน ฟรานเชสโคปรากฏเป็นเทวดา, นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์, และเดวิดในภาพเขียนหลังจากนั้น แบบสำหรับสตรีก็รวมทั้ง ฟิลลิเด เมลันโดรนิ, แอนนา บิอันชินิ, และมัดดาเลนา อันโตเย็ตติ (“ลีนา” ที่กล่าวถึงในเอกสารในศาลเกี่ยวกับกรณี “อาร์ติโชค”) [30] และเช่นฮาเร็มของคาราวัจโจ สตรีทั้งหมดเป็นโสเภณีมีชื่อ ผู้ปรากฏในภาพเป็นบุคคลในศาสนาต่างๆ เช่นพระแม่มารี และนักบุญต่างๆ[31] คาราวัจโจเองก็ปรากฏในภาพที่เขียนเองหลายภาพๆ สุดท้ายปรากฏเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ทางด้านขวาสุดของภาพ “การพลีชีพของนักบุญเออร์ซูลา[32]

คาราวัจโจมีความสามารถในการแสดงฉากภาพที่กระจ่างในชั่วขณะที่สำคัญที่สุดของเหตุการณ์อย่างที่ไม่มีผู้ใดเทียบเทียมได้ เช่นในภาพ “พระกระยาหารค่ำที่เอ็มมัส” ที่แสดงนาทีที่สาวกจำได้ว่าเป็นพระเยซู--วินาทีก่อนหน้านั้นทรงเป็นเพียงเพื่อนร่วมทางที่โศรกเศร้าต่อการจากไปของเมสไซยาห์แต่วินาทีถัดมาพระองค์กลายเป็นพระมหาไถ่ ในภาพ “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” มือของนักบุญแม็ทธิวชี้อกตัวเองราวจะกล่าวว่า “ใคร, ข้าหรือ?” ขณะที่สายตาที่มองตรงไปยังพระเยซูกล่าวแล้วว่า “ตกลง, ข้าจะติดตามท่าน” และในภาพ “ชุบชีวิตลาซารัส” คาราวัจโจยิ่งก้าวต่อไปอีกก้าวหนึ่งโดยการแสดงกระบวนการชุบชีวิตระหว่างที่เกิดขึ้น ร่างของลาซารัสยังกึ่งแข็งจากที่เพิ่งเสียชีวิตไปได้สามวันและได้รับการชุบชีวิตขึ้นมา แต่มือและใบหน้าทำท่ารู้ว่าเป็นพระเยซูเหมือนมีชีวิต จิตรกรบาโรกสำคัญๆ หลายคนก็ใช้วิธีเดียวกันเช่นจานโลเรนโซ แบร์นินีผู้มีความสนใจอย่างจริงจังกับหัวเรื่องของวรรณกรรมของโอวิด “มหากาพย์เมตะมอร์ฟอร์ซิส

“กลุ่มคาราวัจโจ”

จูดิธตัดหัวโฮโลเฟิร์นเนส” ค.ศ. 1598-1599. หอศิลป์โบราณแห่งชาติ โรม

การตั้งภาพเขียนของนักบุญแม็ทธิวในชาเปลคอนตาเรลลิมีผลต่อนักเขียนรุ่นใหม่ในโรมทันที คาราวัจโจกลายเป็นผู้นำในการเขียนภาพแบบใหม่ของนักเขียนที่ทะเยอทะยานทุกคน “กลุ่มคาราวัจโจ” กลุ่มแรกรวมทั้งจิโอวานนิ บากลิโอเน (แต่ติดตามอยู่เพียงไม่นาน) และโอราซิโอ เจนติเลสชิ (Orazio Gentileschi) รุ่นต่อมาก็ได้แก่คาร์โล ซาราเชนิ (Carlo Saraceni), บาร์โทโลเมโอ มันเฟรดิ (Bartolomeo Manfredi) และโอราซิโอ บอร์จิอันนิ (Orazio Borgianni) แม้ว่าเจนติเลสชิจะอายุมากกว่ามากแต่เป็นจิตรกรคนเดียวที่อายุยืนกว่า ค.ศ. 1620 ไปมากและต่อมากลายมาเป็นจิตรกรประจำราชสำนักของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ลูกสาวของเจนติเลสชิอาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิก็มีความใกล้ชิดกับคาราวัจโจและเป็นผู้มีพรสวรรค์มากที่สุดคนหนึ่งในวิธีการเขียนแบบคาราวัจโจ แต่ในกรุงโรมและในอิตาลีขบวนการเขียนภาพของอันนิบาเล คารัคชีที่ผสานระหว่างศิลปะเรอเนสซองซ์สูงและการเขียนความเป็นจริงแบบลอมบาร์ดเป็นขบวนการที่มามีความนิยมเหนือกว่าวิธีการเขียนของคาราวัจโจ

ช่วงระยะเวลาสั้นที่คาราวัจโจพำนักอยู่ในเนเปิลส์ก็พอเพียงที่จะสร้างตระกูลการเขียนแบบคาราวัจโจแบบเนเปิลส์ที่รวมทั้งจิตรกรบัตติสเตลโล คารัคชิโอโล (Battistello Caracciolo) และ คาร์โบ เซลลิตโต (Carlo Sellitto) ขบวนการเขียนแบบคาราวัจโจสิ้นสุดลงเมื่อเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1656 และการติดต่อกับสเปนเพราะเนเปิลส์เป็นของสเปนก็ ทำให้อิทธิพลการเขียนของคารัคชิโอโลเผยแพร่ไปถึงสเปนด้วย

ทางเหนือกลุ่มศิลปินโรมันคาทอลิกจากอูเทรคช, “กลุ่มคาราวัจโจอูเทรคช” (Utrecht caravaggism) ถึงกับเดินทางไปโรมเพื่อไปศึกษากับคาราวัจโจในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และได้รับอิทธิพลการเขียนอย่างลึกซึ้งจางงานของคาราวัจโจเช่นที่เบลโลริบรรยาย แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นเมื่อมาแทนด้วยอิทธิพลการเขียนในคริสต์ทศวรรษ 1620 ที่รวมทั้งเฮ็นดริค เตอร์ บรูกเก็น (Hendrick ter Brugghen), เจอราร์ด ฟาน โฮนท์ฮอร์สต์ (Gerard van Honthorst), อันดรีส์ โบท (Andries Both) และเดิร์ค ฟาน บาบูเร็น

แม้ว่าอิทธิพลของคาราวัจโจต่อนักเขียนรุ่นต่อมาจะลดน้อยลงไปแต่ก็ยังเห็นได้ในงานของปีเตอร์ พอล รูเบนส์ (ผู้ซื้อภาพหนึ่งของคาราวัจโจให้แก่กอนซากาแห่งมานตัวและเขียนงานก็อปปีภาพ “ชะลอร่างจากกางเขน”), โยฮันส์ เวร์เมร์, แรมบรังด์, และเดียโก เบลัซเกซ ผู้ที่อาจจะได้เห็นงานของคาราวัจโจระหว่างการเดินทางในอิตาลี

การสิ้นสุดและการรื้อฟื้นความนิยม

ชะลอร่างจากกางเขน” (ค.ศ. 1602-1603) พิพิธภัณฑ์วาติกัน

ชื่อเสียงของคาราวัจโจแทบจะไม่คงยาวไปกว่าเมื่อเสียชีวิต แต่ศิลปะบาโรกใช้เทคนิคการวาดค่าต่างแสงของคาราวัจโจแต่ปราศจากความเป็นจริงทางจิตใจ คาราวัจโจมีอิทธิพลโดยตรงต่อโอราซิโอ เจนติเลสชิและลูกสาวอาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิ และไกลไปยังฝรั่งเศสชอร์ช เดอ ลา ตูร์ และซิมง วูเอท์ (Simon Vouet) และในสเปนจุยเซ็ปเป ริเบอรา (Giuseppe Ribera) แต่เพียงไม่กี่สิบปีต่อมาอิทธิพลของคาราวัจโจก็สิ้นสุดลงหรือถูกละเลย ศิลปะบาโรกที่คาราวัจโจมีบทบาทในการก่อตั้งก็วิวัฒนาการต่อไป แต่เหตุหนี่งที่อิทธิพลของคาราวัจโจที่ไม่ยืนยาวอาจจะเป็นเพราะการที่คาราวัจโจไม่มีห้องเขียนภาพเช่นคารัคชิ จึงทำให้ไม่มีสถานที่ที่เป็นหลักแหล่งสำหรับการเผยแพร่ทฤษฎีการเขียนของตนเอง นอกจากนั้นคาราวัจโจก็ไม่มีโอกาสได้ก่อตั้งปรัชญาการเขียนอย่างเป็นทางการ ความเป็นจริงทางจิตวิทยาในการเขียนของคาราวัจโจจึงเพียงสิ่งที่เห็นได้จากงานเขียนที่ยังหลงเหลืออยู่เท่านั้น นอกจากนั้นชื่อเสียงก็ยังมาถูกทำให้หมองลงโดยนักเขียนชีวประวัติสองคน จิโอวานนิ บากลิโอเนจิตรกรคู่แข่งที่ออกจะเป็นศัตรูของคาราวัจโจ และจิโอวานนิ เบลโลรินักวิจารณ์ศิลปะผู้มีอิทธิพลของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้ไม่รู้จักคาราวัจโจเป็นการส่วนตัวแต่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากนิโคลาส์ ปูแซนผู้ก็ไม่รู้จักคาราวัจโจเช่นกันแต่ไม่ชอบวิธีการเขียนภาพของคาราวัจโจ[33]

ในคริสต์ทศวรรษ 1920 นักวิจารณ์ศิลปะโรแบร์โต ลองกีฟื้นฟูความนิยมคาราวัจโจขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยสรรเสริญว่า: “จุยเซ็ปเป ริเบอรา, โยฮันส์ เวร์เมร์, โยฮันส์ เวร์เมร์, ชอร์ช เดอ ลา ตูร์ และแรมบรังด์ไม่อาจจะมีชื่อเสียงได้ถ้าไม่มีคาราวัจโจ และศิลปะของเออแฌน เดอลาครัวซ์, กุสตาฟ คอร์แบท์ และเอดวด มาเนท์คงจะเป็นศิลปะที่แตกต่างไปจากที่เห็นเป็นอันมาก”[34] ซึ่งนักวิจารณ์ศิลปะเบอร์นาร์ด เบอร์เร็นสัน (Bernard Berenson) เห็นพ้องด้วย: “นอกไปจาก ไมเคิล แอนเจโลไปแล้วกก็ไม่มีจิตรกรอิตาลีคนใดที่มีอิทธิเกินไปกว่านั้น”[35]

วัฒนธรรมสมัยใหม่

การตัดหัวนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” ค.ศ. 1608 มหาวิหารร่วมเซนต์จอห์น, วาลเล็ตตา

พิพิธภัณฑ์ศิลปะหลายพิพิธภัณฑ์เช่นที่ดีทรอยต์และนิวยอร์ก ต่างก็มีห้องแสดงงานของงานเขียนของจิตรกรที่แสดงวิธีการเขียนที่แสดงว่าได้รับอิทธิพลจากคาราวัจโจ—ฉากการวาดกลางคืน, การใช้แสงที่เป็นนาฏกรรม, การใช้คนธรรมดาเป็นแบบ, หรือการเขียนจากธรรมชาติโดยไม่มีการแต่งเติมเป็นต้น ในปัจจุบันจิตรกรเช่นช่างเขียนนอร์เวย์ออด เนอร์ดรุม (Odd Nerdrum) และชาวฮังการีทิบอร์ เซอร์นุส (Tibor Csernus) ต่างก็พยายามใช้วิธีเขียนของคาราวัจโจแต่ในขณะเดียวกันก็ปรับปรุงให้สมสมัยขึ้น และจิตรกรชาวอเมริกันดัก โอลสัน (Doug Ohlson) นักสร้างภาพยนตร์เดเร็ค จาร์แมน (Derek Jarman) สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตใน “คาราวัจโจ”; และจิตรกรปลอมภาพฮัน ฟาน เมเกอเร็น (Han van Meegeren) ใช้งานของคาราวัจโจเมื่อสร้างงานของจิตรกรผู้มีชื่อเสียง

งานเขียนของคาราวัจโจที่ยังมีอยู่มีเพียง 50 ชิ้น, “พระเยซูเรียกนักบุญปีเตอร์และนักบุญแอนดรูว์” เพิ่งพบว่าเก็บอยู่ที่พระราชวังแฮมพ์ตันที่ถูกบันทึกผิดไปว่าเป็นงานก็อปปี แต่ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นงานต้นฉบับและได้รับซ่อมแซม บางภาพก็หายไปหรือบางภาพก็ถูกทำลายระหว่างสงคราม