ความเร็วในการเคลื่อนที่ ของ การเคลื่อนที่ในรอบวัน

ความยาวของเส้นทางที่วัตถุท้องฟ้าเคลื่อนที่ในรอบหนึ่งวันบนทรงกลมท้องฟ้าเนื่องจากการเคลื่อนที่ในรอบวัน (รวมถึงเมื่ออยู่ใต้ขอบฟ้าด้วย) แปรตรงกับโคไซน์ของเดคลิเนชัน (cos δ) ของวัตถุท้องฟ้า ดังนั้น ความเร็วของการเคลื่อนที่ในรอบวันของวัตถุคือ cos δ × 15°/ชั่วโมง = 15'/นาที = 15"/วินาที อาจเปรียบเทียบความเร็วนี้กับขนาดวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ ดังนี้:

  • การเคลื่อนที่ไปเป็นระยะหนึ่งเส้นผ่านศูนย์กลาง (สูงสุด) ของดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ใช้เวลาประมาณสองนาที
  • การเคลื่อนที่หนึ่งเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดใช้เวลาประมาณ 4 วินาที
  • การเคลื่อนที่ไป 2,000 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุดใช้เวลาประมาณ 1 วินาที

สามารถสังเกตการเคลื่อนที่ในรอบวันของวัตถุท้องฟ้าได้โดยการถ่ายภาพโดยเปิดรับแสงนานโดยตั้งกล้องนิ่ง ยิ่งดาวฤกษ์อยู่ใกล้ขั้วท้องฟ้ามากก็จะยิ่งเคลื่อนที่ช้าเท่านั้น เพื่อที่จะหักล้างการเคลื่อนที่ในรอบวันของวัตถุท้องฟ้าในภาพถ่าย วิธีที่ดีที่สุดคือการติดตามการเคลื่อนที่ในรอบวันโดยใช้กล้องที่ติดฐานตั้งระบบศูนย์สูตร เมื่อใช้ฐานตั้งระบบศูนย์สูตร ก็จะสามารถติดตามการเคลื่อนไหวในรอบวันได้ง่าย ๆ โดยแค่หมุนแกนปรับค่าไรต์แอสเซนชัน ฐานตั้งระบบศูนย์สูตรบางชนิดสามารถดำเนินการติดตามวัตถุท้องฟ้าโดยอัตโนมัติโดยใช้มอเตอร์

ใกล้เคียง

การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์) การเคหะแห่งชาติ (ประเทศไทย) การเคลื่อนที่แบบบราวน์ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนไหวของกลุ่มแอลจีบีที การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย การเคลื่อนย้ายเรลิก การเคลื่อนถอยของวิษุวัต การเคลื่อนไหวเอง การเคลื่อนลงตามความชัน