ทิศทางการเคลื่อนที่ ของ การเคลื่อนที่ในรอบวัน

การหมุนของดาวใกล้ขั้วท้องฟ้าเหนือ

ทิศทางการเคลื่อนที่ในรอบวันของวัตถุท้องฟ้าจะเป็นดังนี้เมื่อสังเกตจากซีกโลกเหนือ

  • เมื่อมองดูท้องฟ้าทางทิศเหนือ วัตถุท้องฟ้าที่อยู่ด้านล่างขั้วท้องฟ้าเหนือจะเคลื่อนจากซ้ายไปขวา กล่าวคือ จากตะวันตกไปตะวันออก
  • เมื่อมองดูท้องฟ้าทางทิศเหนือ วัตถุท้องฟ้าที่อยู่สูงกว่าขั้วท้องฟ้าเหนือจะเคลื่อนที่จากขวาไปซ้าย กล่าวคือ จากตะวันออกไปตะวันตก
  • เมื่อมองดูท้องฟ้าทางทิศใต้ จะเคลื่อนจากซ้ายไปขวา นั่นคือตะวันออกไปตะวันตก

ดังนั้นดาวใกล้ขั้วฟ้าเหนือจะเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิการอบขั้วโลกเหนือบนท้องฟ้า ดาวเหนือจะไม่เคลื่อนที่มากนักเนื่องจากเกือบจะอยู่ในทิศทางเดียวกับขั้วท้องฟ้าเหนือ

สำหรับที่ขั้วโลกเหนือบนโลกนั้น เนื่องจากไม่มี ทิศทางเหนือ ตะวันออก หรือตะวันตก จึงเห็นการเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้าเป็นเคลื่อนที่จากซ้ายไปขวา เมื่อมองไปที่จุดจอมฟ้า วัตถุท้องฟ้าทั้งหมดจะเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกาไปรอบจุดจอมฟ้า

การเคลื่อนที่ในรอบวันในที่ซีกโลกใต้นั้น เมื่อเทียบกับในซีกโลกเหนือแล้ว จะสลับระหว่างเหนือใต้ และสลับระหว่างซ้ายและขวา ส่วนการเคลื่อนที่ในทิศตะวันออกกับตะวันตกนั้นจะไม่ต่างกัน นอกจากนี้ ขั้วใต้ของท้องฟ้าจะกลายเป็นศูนย์กลางของการหมุนแทนที่จะเป็นขั้วเหนือของท้องฟ้า ในซีกโลกใต้ ดาวฤกษ์โคจรรอบขั้วฟ้าใต้ตามเข็มนาฬิกา

ที่เส้นศูนย์สูตร ขั้วท้องฟ้าทั้ง 2 ขั้วอยู่ที่ขอบฟ้า และการเคลื่อนที่ในรอบวันจะเคลื่อนที่จะเห็นเป็นทวนเข็มนาฬิกา (วนซ้าย) รอบดาวเหนือ และตามเข็มนาฬิกา (วนขวา) รอบขั้วฟ้าใต้ วัตถุท้องฟ้าทั้งหมดยกเว้นที่ขั้วทั้งสองจะเคลื่อนที่จากตะวันออกไปตะวันตก

ใกล้เคียง

การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์) การเคหะแห่งชาติ (ประเทศไทย) การเคลื่อนที่แบบบราวน์ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนไหวของกลุ่มแอลจีบีที การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย การเคลื่อนย้ายเรลิก การเคลื่อนถอยของวิษุวัต การเคลื่อนไหวเอง การเคลื่อนลงตามความชัน