การเปลี่ยนสัณฐานของแมลง ของ การเปลี่ยนสัณฐาน

แต่ละระยะของการเปลี่ยนสัณฐาน
ไข่ตัวอ่อนดักแด้ตัวเต็มวัย
EggLarva/NymphPupaAdult
เมตามอร์โฟซิสแบบไม่สมบูรณ์ในตั๊กแตน ซึ่งมีระยะตัวอ่อนอินสตาร์หลายระยะ

โดยปกติ เมตามอร์โฟซิสดำเนินไปด้วยขั้นตอนที่แตกต่างชัดเจน เริ่มจาก ตัวอ่อน (larva หรือ nymph) บางโอกาสผ่านขั้นตอน ดักแด้ (pupa) และสิ้นสุดเป็น ตัวเต็มวัย

แมลงมีเมตามอร์โฟซิส 2 ประเภทใหญ่คือเมตามอร์โฟซิสแบบไม่สมบูรณ์ หรือ เฮมิเมตาบอลิซึมและ เมตามอร์โฟซิสแบบสมบูรณ์ หรือโฮโลเมตาบอลิซึม

ขั้นตอนที่ไม่เป็นตัวเต็มวัยของสปีชีส์ที่มีเมตามอร์โฟซิสโดยปกติเรียกทับศัพท์ว่า "ลาวา" (อ. larva พหูพจน์ larvae) และขั้นตอนเหล่านี้อาจเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแต่เมตามอร์โฟซิสแบบสมบูรณ์ของแมลงจำนวนมาก เฉพาะระยะแรกเท่านั้นเรียกว่า ลาร์วา หรือ หนอนแมลง หรือ ลูกน้ำ และบางครั้งอาจมีหลายระยะย่อย โดยเรียกชื่อต่างกันในแต่ละระยะย่อย เช่น ตัวอ่อนของครัสตาเซีย

แต่เมตามอร์โฟซิสแบบสมบูรณ์ของแมลงจำนวนมาก เฉพาะระยะแรกเท่านั้นเรียกว่า "ลาร์วา" หรือ "หนอนแมลง" หรือ "ลูกน้ำ"และบางครั้งอาจเรียกชื่อต่างกันในแต่ละระยะย่อย แบ่งแยกตามธรรมชาติของเมตามอร์โฟซิสกรณีตัวอย่างของเมตามอร์โฟซิส ซึ่งระยะตัวอ่อนของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียกว่า "ลูกอ๊อด"


เมตามอร์โฟซิสแบบไม่สมบูรณ์

สำหรับ "เฮมิเมตาบอลิซึม" หรืออาจเรียกว่า "เมตามอร์โฟซิสแบบไม่สมบูรณ์" หรือ "เมตามอร์โฟซิสอย่างง่าย" หรือ "เมตามอร์โฟซิสอย่างค่อยเป็นค่อยไป"

พัฒนาการของตัวอ่อนประกอบด้วยระยะซ้ำๆ ของการเจริญเติบโต และการลอกคราบ ระยะเหล่านี้เรียกว่า ตัวอ่อนอินสตาร์รูปแบบในระยะตัวอ่อนใกล้เคียงกับตัวเต็มวัย แต่ตัวเล็กกว่า และไม่มีปีกเหมือนตัวเต็มวัย (ถ้าตัวเต็มวัยมีปีก)

ระหว่างตัวอ่อนอินสตาร์ในระยะต่างๆ แตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น และมักแตกต่างเรื่องสัดส่วนตำแหน่งของร่างกาย และจำนวนปล้องที่ท้อง

แมลงใช้เวลาในระยะตัวอ่อนมากหรือน้อยกว่าระยะตัวเต็มวัย แล้วแต่สปีชีส์สปีชีส์ที่มีระยะตัวเต็มวัยสั้น มักมีเมตามอร์โฟซิสแบบไม่สมบูรณ์ตัวอย่างที่เด่นชัด เช่น ตัวเต็มวัยของ แมลงเม่า ไม่กินอาหารเลย มีเวลาเพียง 1 วัน เพื่อผสมพันธุ์ หรือ ตัวเต็มวัยของ จักจั่น อาศัยอยู่ใต้ดิน 13 - 17 ปีขณะที่โดยทั่วไป สปีชีส์ที่มีระยะตัวเต็มวัยยาวนาน มักมีเมตามอร์โฟซิสแบบสมบูรณ์

การศึกษาสังเกตจำนวนมากบ่งชี้ว่า การสลายของเซลล์มีบทบาทกำหนดกระบวนการทางกายภาพของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่าง การเจริญของคัพภะ และการเปลี่ยนสัณฐาน


เมตามอร์โฟซิสแบบสมบูรณ์

สำหรับ "โฮโลเมตาบอลิซึม" หรืออาจเรียกว่า "เมตามอร์โฟซิสแบบสมบูรณ์" หรือ "เมตามอร์โฟซิสอย่างซับซ้อน"

ตัวอ่อนแตกต่างจากตัวเต็มวัยอย่างสิ้นเชิง แมลงเปลี่ยนแปลงผ่านจากระยะตัวอ่อน เข้าสู่ระยะเฉื่อยชาที่เรียกว่า "ดักแด้" (อ. pupa หรือ chrysalis) แล้วโผล่ออกจากเปลือกดักแด้ในตอนท้ายระยะ เข้าสู่ระยะ "ตัวเต็มวัย"

ขณะดักแด้อยู่ภายในเปลือกที่สร้างคลุมเพื่อป้องกันขณะเปลี่ยนครั้งใหญ่ แมลงจะขับน้ำย่อย เพื่อทำลายร่างกายหลายส่วนของระยะตัวอ่อน เหลือเซลล์จำนวนเล็กน้อยที่ไม่ถูกย่อยเปลี่ยนแปลงเซลล์ที่เหลือเริ่มเจริญสู่ตัวเต็มวัย โดยใช้สารอาหารจากส่วนของตัวอ่อนที่ถูกย่อยกระบวนการสลายและเจริญใหม่ของเซลล์นี้เรียกว่า ฮิสโทไลซิส (histolysis) และ ฮิสโทเจเนซิส (histogenesis)

ในภาษาไทย ระยะดักแด้ มีคำเรียกอื่นคือ ตัวโม่ง ใช้เรียกระยะดักแด้ของแมลงบางชนิด เช่น ยุง หรือ แมลงปอ


การควบคุมด้วยฮอร์โมน

การเติบโตและเปลี่ยนสัณฐานของแมลงควบคุมด้วย ฮอร์โมน ที่สังเคราะห์จาก ต่อมเอนโดซรีน ใกล้กับส่วนหน้าของลำตัว

บางเซลล์ในสมองของแมลง คัดหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้น ต่อมทอราซิซ เพื่อให้คัดหลั่งฮอร์โมนชนิดที่สองคือ เอคดายโซน ซึ่งเป็นสเตอรอยด์ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนสัณฐาน

ยิ่งกว่านั้น ตอร์พอรา อัลลาตา ยังผลิต ฮอร์โมนตัวอ่อน ซึ่งมีผลยับยั้งการพัฒนาลักษณะตัวเต็มวัย ขณะที่ยอมให้เกิด การลอกคราบดังนั้นแมลงจึงอยู่ในขั้นตอนการลอกคราบ เพราะถูกควบคุมโดยเอคดายโซน จนกว่าการผลิตฮอร์โมนตัวอ่อนจะหยุด แล้วการเปลี่ยนสัณฐานจึงเกิดขึ้น

ใกล้เคียง

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง การเปลี่ยนชื่อนครในประเทศอินเดีย การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย การเปรียบเทียบยศทหารเกาหลี การเป็นพิษจากพาราเซตามอล การเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า การเปลี่ยนสัณฐาน การเป็นพิษจากไซยาไนด์