การเปลี่ยนแปลงในภาษาไทย ของ การเปลี่ยนแปลงภาษา

ภาษาเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการออกเสียง คำศัพท์ รูปแบบ และลักษณะอื่นอื่นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ภาษาที่เปลี่ยนไปเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไทย

สื่อและการกระจายตัวของประชากรเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของภาษา จะเห็นได้ว่ามีคำศัพท์จากทางภาคต่างๆ ในประเทศไทยเริ่มใช้กันข้ามภาคในประเทศไทย เช่นคำศัพท์จากทางภาคกลางมีการเริ่มใช้กันมากทางภาคเหนือ และภาคใต้เนื่องจากทุกคนได้ดูรายการโทรทัศน์ ที่เสนอภาษาจากทางภาคกลาง ในขณะเดียวกันกลุ่มคนภาคกลางได้เริ่มใช้ภาษาจากทางภาคอีสานมากขึ้น เมื่อมีรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับคนที่อาศัยในภาคอีสาน ภาษาต่างประเทศเช่นภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในทางศัพท์วิชาการและศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเช่นกัน

กลุ่มเฉพาะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาของภาษา คำศัพท์ใหม่ใหม่เกิดขึ้นมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น มีภาษาเฉพาะของกลุ่ม เมื่อภาษาเกิดมีการใช้กันใหม่ ทำให้มีคำศัพท์ใหม่นิยามขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหมดการใช้ของคำศัพท์นั้นนั้น ภาษานั้นก็จะตกรุ่นและหมดความนิยมไป ยกตัวอย่างเช่นคำว่า จ๊าบ ที่เคยมีการใช้กันในหมู่วัยรุ่น และเริ่มนิยมกันมากเมื่อสื่อนำไปใช้ในรายการโทรทัศน์ มีการถกเถียงเรื่องของภาษาวัยรุ่นที่ไม่นับว่าเป็นภาษาไทยกันมาก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทุกคนใช้ภาษาเดียวกันและมีการสื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน ย่อมถือได้ว่า ภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่ว่าจากวัยรุ่นหรือนักวิชาการ ยังคงเป็นภาษาไทย[[หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ]

บทความเกี่ยวกับภาษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา

ใกล้เคียง

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง การเปลี่ยนชื่อนครในประเทศอินเดีย การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย การเปรียบเทียบยศทหารเกาหลี การเป็นพิษจากพาราเซตามอล การเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า การเปลี่ยนสัณฐาน การเป็นพิษจากไซยาไนด์