การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย ของ การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย

การเปลี่ยนแปลงหลังการตายของร่างกายผู้ตาย จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง 2 ระยะเวลาด้วยกันคือ การเปลี่ยนแปลงในระยะแรกและการเปลี่ยนแปลงในระยะหลัง สำหรับการเปลี่ยนแปลงในระยะแรก ร่างกายของผู้ตายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ

  • ไม่มีสติสัมปชัญญะ
  • ไม่มี reflex Muscular Flaccidity ตอบสนองต่อการกระตุ้น
  • หัวใจหยุดเต้น ไม่มีการหายใจ
  • ไม่มีปฏิกิริยาแห่งชีวิต (อังกฤษ: Vital Reaction) หรือสิ่งใด ๆ ที่บ่งบอกว่ายังมีชีวิตอยู่
  • ไม่มีปฏิกิริยาแห่งชีวิตที่ลูกตา

เมื่อผู้ตายมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระยะแรกแล้ว การเปลี่ยนแปลงในระยะหลังของร่างกาย เป็นการบ่งบอกถึงสภาพร่างกายของผู้ตาย รวมทั้งเป็นการชี้บ่งลักษณะการตายของผู้ตาย ได้แก่

การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

ซึ่งเมื่อมีการตายเกิดขึ้น และมีการประมวลระยะเวลาการตายทุกอย่างแล้ว การหาระยะเวลาในการตายของผู้ตายในอุณหภูมิและความชื้นของประเทศไทยโดยเฉลี่ย และสภาพของศพไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเบื้องต้น เมื่อผู้ตายตายใหม่ ๆ ในช่วงระยะเวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง สภาพร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอันดับแรกคือตัวอ่อนปวกเปียก เมื่อสัมผัสกับร่างกายผู้ตายอาจจะรู้สึกว่ายังอุ่น ๆ ยกเว้นในการเกิดคาดาเวอริคสปัสซั่มหรือรายที่แข็งตัวเร็วผิดปกติ ร่างกายจะเกิดการลดลงของอุณหภูมิร่างกายอย่างรวดเร็ว บวกหรือลบประมาณ 1-2 ชั่วโมง

ระยะแรก

ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จะเกิดการแข็งตัวของกล้ามเนื้อตามร่างกายบางส่วน แต่Lividityยังเกิดไม่เต็มที่และยังไม่การ Fix ของร่างกาย บวกหรือลบประมาณ 3–4 ชั่วโมง ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง จะเกิดการแข็งตัวของกล้ามเนื้อเต็มที่ทั่วทั้งตัว ลิวิดิตี้ปรากฏเต็มที่ บวกหรือลบประมาณ 4–6 ชั่วโมง ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 18 ชั่วโมง การแข็งตัวของกล้ามเนื้อเริ่มคลายตัว เกิดการแข็งตัวของกล้ามเนื้อไม่ทั่วตัว แต่ลิวิดิตี้ยังคงปรากฏเต็มที่และเกิดการ Fixed ของร่างกาย บวกหรือลบประมาณ 6–8 ชั่วโมง

ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง การแข็งตัวของกล้ามเนื้อเริ่มคลายจนเกือบหมด เกิดการแข็งตัวของกล้ามเนื้อไม่ทั่วตัว ที่บริเวณท้องน้อยเริ่มมีสีเขียวปรากฏซึ่งเกิดจากก๊าซในร่างกาย อาจจะข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ลิวิดิตี้ยังเห็นเต็มที่ บวกหรือลบประมาณ 6–8 ชั่วโมง ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง ร่างกายเกิดการอ่อนตัว ไม่มีการแข็งตัวของกล้ามเนื้อหลงเหลืออยู่ สัมผัสและคลำตามร่างกายส่วนบนจะมีเส้นเลือดขึ้นเขียวทั่วไป ร่างกายเริ่มมีการบวมอืดพอสังเกตได้ มีกลิ่นเหม็นเน่าเล็กน้อย บวกหรือลบประมาณ 12–24 ชั่วโมง

ระยะกลาง

ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 4 วัน ร่างกายเกิดการขึ้นอืดเต็มที่ ลิ้นจุกปาก ตาถลน ผิวหนังลอกตัวในบางส่วน ใบหน้าบวมฉุและคล้ำจัด บวกหรือลบประมาณ 1–2 วัน ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 7 วัน เนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายเริ่มหายไปบางส่วน เช่นที่บริเวณหน้าผากหรือใบหน้า อาจจะมองเห็นกระดูกหน้าผากหรือกระดูกโหนกแก้มบางส่วน บวกหรือลบประมาณ 2– 3 วัน ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 2 อาทิตย์ ร่างกายเริ่มเข้าสู่กระบวนการเน่าสลายตัว เนื้อเยื่อของร่างกายสลายตัวมากขึ้น อาจจะมองเห็นกระดูกซี่โครงและอวัยวะในช่องอกเน่าอยู่ภายในร่างกาย มีกลิ่นเหม็นเน่าอย่างมาก บวกหรือลบประมาณ 5-6 วัน

ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 3 อาทิตย์แรก เนื้อเยื่อตามร่างกายเริ่มมีการสลายตัวมากขึ้น ศีรษะด้านบนอาจจะเหลือแต่เพียงกะโหลก กระดูกซี่โครงเริ่มมองเห็นมากขึ้น เนื้อเยื่อหน้าท้องหายไป สามารถมองเห็นลำไส้และอวัยวะในช่องท้องได้อย่างชัดเจน เกิดการเน่าสลายตัวทั่วทั้งร่างกาย บวกหรือลบประมาณ 7–10 วัน ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 1 เดือน เนื้อเยื่อตามร่างกายเกิดการสลายตัวจนเกือบหมดทั้งตัว แต่ยังคงมีเนื้อเยื่อบางส่วนหลงเหลืออยู่ เช่นบริเวณต้นขา สะโพกหรือหลังส่วนที่ร่างกายนอนทับอยู่ บวกหรือลบประมาณ 1–2 อาทิตย์

ระยะสุดท้าย

ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ร่างกายจะไม่มีเนื้อเยื่อเหลือเลย กระดูกบางส่วนเช่นนิ้วมือนิ้วเท้าหลุดออกจากกัน แต่กระดูกสันหลังยังยึดติดกันได้ด้วยพังผืด บวกหรือลบประมาณ 1 เดือน ถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 6 เดือน กระดูกต่าง ๆ ตามร่างกายเริ่มหลุดออกจากกันเป็นชิ้น ๆ พังผืด เส้นเอ็นเกิดการสลายตัวจนหมด มีกลิ่นเหม็นเน่าหลงเหลืออยู่บ้างเล็กน้อย บวกหรือลบประมาณ 2– 3 เดือน และถ้าผู้ตายตายในช่วงระยะเวลาประมาณ 1 ปี ร่างกายจะมีสภาพเหมือนกับตายมาแล้วประมาณ 6 เดือน แต่จะไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า ร่างกายจะคงเหลือแต่โครงกระดูกล้วน ๆ บวกหรือลบประมาณ 4 – 6 เดือน

ใกล้เคียง

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง การเปลี่ยนชื่อนครในประเทศอินเดีย การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย การเปรียบเทียบยศทหารเกาหลี การเป็นพิษจากพาราเซตามอล การเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า การเปลี่ยนสัณฐาน การเป็นพิษจากไซยาไนด์