การเผาทำลายหนังสือในชิลี
การเผาทำลายหนังสือในชิลี

การเผาทำลายหนังสือในชิลี

การเผาทำลายหนังสือในชิลี ดำเนินการโดยรัฐบาลทหารของเอากุสโต ปิโนเช หลังขึ้นสู่อำนาจผ่านรัฐประหารปี 1973 รัฐบาลดำเนินการเผาทำลายหนังสือที่ตนมองว่าเป็นภัยบ่อนทำลายความมั่นคง[1] ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมฝ่ายซ้ายและหนังสืออื่นที่ไม่สอดคล้องกับหลักการของคณะรัฐประหาร การเผาทำลายหนังสือนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "การถอนรากถอนโคนมะเร็งร้ายมาร์กซิสต์"[2]หลังรัฐประหาร กองทัพเริ่มดำเนินการบุกค้นผู้ที่อาจต่อต้านคณะรัฐประหารซึ่งถูกจับกุมและบางส่วนถูกสังหารที่สนามกีฬาแห่งชาติและที่อื่น ๆ ในขณะเดียวกัน ทหารยังรวบรวมและเผาทำลายหนังสือจำนวนมาก ไม่เพียงแต่วรรณกรรมมาร์กซิสต์ แต่ยังรวมถึงวรรณกรรมสังคมวิทยาทั่วไป ไปจนถึงหนังสือพิมพ์และนิตยสาร[3] นอกจากการยึดและเผาทำลายหนังสือแล้ว ยังมีคำสั่งให้นำหนังสือประเภทดังกล่าวออกจากห้องสมุดและร้านหนังสือทั่วประเทศด้วย[2] หนังสือที่ถูกทำลายนั้นมีหลากหลายประเภทมาก แม้แต่หนังสือที่เกี่ยวกับศิลปะแบบบาศกนิยม (cubism) เพราะทหารเข้าใจว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิวัติคิวบา (Revolución cubana)[4][5]การเผาทำลายหนังสือนี้นำไปสู่การประท้วงใหญ่ในระดับสากล เช่น สมาคมห้องสมุดอเมริกันประณามการเผาทำลายหนังสือนี้ ระบุว่า "เป็นการกดขี่ที่เลวทราม" ซึ่ง "ละเมิดสิทธิพื้นฐานของประชาชนชาวชิลี"[3]การเผาหนังสือเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ตลอดสมัยของคณะรัฐประหารซึ่งกินเวลาถึงราวปี 1990 ในเดือนพฤศจิกายน 1986 เจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ยึดหนังสือ La aventura de Miguel Littín clandestino en Chile ซึ่งประพันธ์โดยกาบริเอล การ์ซิอา มาร์เกซ จำนวนเกือบ 15,000 เล่ม ก่อนจะส่งต่อไปเผาทำลายในบัลปาราอิโซ นอกจากนี้ ในการเผาทำลายครั้งเดียวกันนั้นยังมีหนังสือรวบรวมความเรียงของเตโอโดโร เปตกอฟ นักการเมืองและอดีตนักรบกองโจรชาวเวเนซุเอลา ที่ถูกเผาทำลายเช่นกัน[6]

ใกล้เคียง

การเผาศพ การเผาขยะ การเผาไหม้ การเผยแผ่ศาสนาพุทธในสหราชอาณาจักร การเผยแผ่ศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซีย การเผาผลาญ การเผยแพร่คริสต์ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตแลนด์ การเผาทำลายหนังสือในชิลี การเผาหนังสือโดยนาซี การเผาตำราและฝังบัณฑิต