ปัญหา ของ การเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนในน้ำ

ปัจจุบันมีเรื่องโต้แย้งอย่างมากว่า การเลี้ยงปลาแซลมอนจำนวนมากขนาดนี้มีผลต่อระบบนิเวศและต่อสุขภาพมนุษย์เท่าไรที่น่าเป็นห่วงมากก็คือผลต่อปลาแซลมอนธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตในทะเลอื่น ๆ และผลต่อรายได้ของชาวประมงปลาแซลมอนเพื่อพาณิชย์[7]แต่ผลที่ได้จากโปรแกรมเพิ่มลูกปลาตามธรรมชาติ เช่น ที่เพิ่มการจับปลา "ธรรมชาติ" ในรัฐอะแลสกาได้เป็นสิบ ๆ เปอร์เซ็นต์ (20-50%) ก็ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องปราศจากข้อโต้แย้ง และจำนวนปลาที่จับได้ในอะแลสกาก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ดำเนินการโดยสมาคมเลี้ยงปลาแถบอะแลสก้าเป็นอย่างมากอนึ่ง ความยั่งยืนของการเพิ่มลูกปลาแล้วจับเป็นปลา "ธรรมชาติ" ก็เป็นเรื่องที่ก่อข้อโต้แย้งอย่างเผ็ดร้อน[31]ทั้งในมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ทางการเมือง และทางการตลาด

ข้อโต้แย้งจากมุมมองต่าง ๆ เช่นนี้เป็นเหตุให้องค์กร Marine Stewardship Council (MSC) พักการให้การรับรองการประมงปลาแซลมอนในอะแลสก้าในปี 2012[32](เป็นการรับรองว่าเป็นการประมงแบบ "ยั่งยืน")แล้วต่อมาจึงถึงให้อีกแต่การรับรองการประมงในเขต Prince William Sound ซึ่งเป็นบริเวณที่ตกปลาได้มีมูลค่ามากที่สุดในรัฐ[33]ก็ยังไม่ได้การรับรองมาหลายปีแล้ว (คือยู่ในสถานะ "กำลังประเมิน")

sea lice บนหลังปลาแซลมอนแอตแลนติก

โรคและปรสิต

ในปี 1972 ปรสิตนอก (ectoparasite) ชั้นหนอนตัวแบน (monogenea) สกุล Gyrodactylus จากปลาเทราต์และแซลมอนเป็น ๆ จากสวีเดน (เพราะปลาในทะเลบอลติกมีภูมิต้านทาน) ได้กระจายไปในที่ฟักไข่ปลาซึ่งรัฐเป็นผู้ดำเนินการในนอร์เวย์จากที่ฟักไข่ปลา ไข่และลูกปลา (ทั้ง smolt และ fry) ก็ได้นำไปปล่อยที่แม่น้ำต่าง ๆ มากมายเพื่อเพิ่มจำนวนปลาแซลมอนธรรมชาติ แต่กลับทำลายล้างกลุ่มประชากรบางกลุ่ม[34]

ในปี 1984 มีการค้นพบโรคโลหิตจางในแซลมอนที่ติดต่อได้ (ISAv) ในที่ฟักไข่ปลาแซลมอนแอตแลนติกในนอร์เวย์โรคระบาดคราวนี้ทำให้ปลาตาย 80%เป็นโรคเกิดจากไวรัส และปัจจุบันเป็นภัยสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจฟาร์มปลาแซลมอนเป็นโรคที่อยู่ในรายการ List One ของคณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งบังคับให้ฆ่าปลาทั้งฝูงถ้ายืนยันได้ว่าเกิดโรคระบาดในฟางISAv มีผลเสียหายทางธุรกิจต่อฟาร์มแซลมอนในประเทศชิลี นอร์เวย์ สกอตแลนด์ และแคนาดาที่เกิดโรค[35]

โรคทำให้ปลาที่ติดโรคมีเลือดจางเหมือนกับชื่อไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์เม็ดเลือดแดงของปลามีดีเอ็นเอ จึงทำให้ติดไวรัสได้ทำให้ปลามีเหงือกซีด ว่ายน้ำใกล้ ๆ ผิวน้ำ พยายามหายใจแต่โรคก็อาจเกิดโดยปลาไม่ปรากฏอาการภายนอก โดยปลาจะอยากอาหารตามปกติแต่ในที่สุดอยู่ดี ๆ ก็ตายโรคอาจจะระบาดไปอย่างช้า ๆ ทั่วฟาร์มปลา และในกรณีแย่สุด อัตราการตายอาจถึง 100%โรคยังเป็นอันตรายต่อปลาธรรมชาติที่มีน้อยลงเรื่อย ๆ ด้วยการแก้ไขรวมการพัฒนาวัคซีนและเพิ่มความต้านทานโรคทางพันธุกรรม[36]

ตามธรรมชาติ ระดับการติดต่อโรคและปรสิตจะค่อนข้างน้อย เพราะปลาที่อ่อนแอจะถูกล่ากินโดยธรรมชาติแต่ในกรงตาข่ายที่ปลาอยู่อย่างหนาแน่น นี่อาจกลายเป็นโรคระบาดโรคและปรสิตในปลาเลี้ยงอาจไปติดปลาธรรมชาติอีกด้วยงานศึกษาในรัฐบริติชโคลัมเบียได้สัมพันธ์การกระจายปรสิตคือ sea lice (วงศ์ Caligidae) จากฟารม์แซลมอนในแม่น้ำไปยังปลาแซลมอนชมพูธรรมชาติที่อยู่ในแม่น้ำเดียวกัน[14]คณะกรรมาธิการยุโรปสรุปในปี 2002 ว่า แม้การลดลงของปลาแซลมอนธรรมชาติจะสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ แต่ก็มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสดงความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจำนวนปลาธรรมชาติที่ติด sea lice กับการมีกรงเลี้ยงปลาในบริเวณน้ำกร่อย (estuary) เดียวกัน[37]

มีรายงานปี 2007 (Krkosek et al) ว่าปลาแซลมอนธรรมชาติทางชายฝั่งตะวันตกของแคนาดากำลังจะสูญพันธุ์เนื่องกับ sea lice ที่มาจากฟาร์มแซลมอนใกล้ ๆ[38]แต่นักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ก็ขัดแย้งไม่เห็นด้วย[39]โดยจำนวนปลาที่จับได้ต่อ ๆ มาก็บ่งว่านี้เป็นพยากรณ์ที่ผิดพลาด

ในปี 2011 ฟารม์แซลมอนในสกอตแลนด์เริ่มใช้ปลานกขุนทองเลี้ยงเพื่อทำความสะอาดปรสิตนอกของแซลมอน[40][41]

ทั่วโลก การผลิตแซลมอนลดลง 9% ในปี 2015 โดยมากเพราะการระบาดของ sea lice ในสกอตแลนด์และนอร์เวย์[42][43][44]มีการใช้แสงเลเซอร์เพื่อลดการติดปรสิต[45]

ในปี 2017 ฟารม์แซลมอนครึ่งหนึ่งของสกอตแลนด์ติด sea liceนี่เป็นปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วโลก โดยปรสิตทนการกำจัดได้ยิ่งกว่าที่คิดนักวิทยาศาสตร์ที่ได้เปลี่ยนเป็นนักประท้วงและผู้ทำการตรวจสอบ เป็นประธานองค์กรต่อต้านการเลี้ยงปลา คือ Global Alliance Against Industrial Aquaculture กล่าวว่า โรคต่าง ๆ แพร่ไปทั่วฟาร์มปลา ปัญหาของเสียควบคุมไม่ได้ และสารเคมีก็ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามบุคคลนี้ อุตสาหกรรมเลี้ยงปลาใกล้จะทำลายตัวเองเข้าทุกที[46]

มลพิษและสิ่งปนเปื้อน

ฟาร์ปลาแซลมอนปกติจะอยู่ในระบบนิเวศทางทะเลที่มีคุณภาพน้ำดี มีน้ำไหลเวียนในอัตราสูง มีกระแสน้ำเร็วพอไม่ให้พื้นทะเลเกิดมลภาวะแต่ช้าพอไม่ให้กรงตาข่ายเสียหาย มีการป้องกันจากพายุหนัก ๆ มีน้ำลึกพอ อยู่ในระยะทางพอควรจากสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่นท่าเรือ โรงงาน และบริการทางโลจิสติกส์เช่นสนามบินโลจิสติกส์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาหารและแรงงานต้องส่งไปที่ฟาร์มปลาและผลผลิตต้องส่งไปยังสถานโลจิสติกส์การเลือกที่ตั้งฟารม์ยังยุ่งยากเพราะปัญหาการได้ใบอนุญาตซึ่งมีแรงกดดันทางการเมืองที่ซับซ้อนในประเทศต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถตั้งฟาร์มในสถานที่ดีสุดได้ในฟาร์มที่ไม่มีกระแสน้ำดีพอ โลหะหนักอาจสะสมที่พื้นทะเลใกล้ ๆ ฟารม์ โดยเฉพาะทองแดงและสังกะสี[15]

สารปนเปื้อนยังพบในเนื้อปลาทั้งปลาเลี้ยงปลาธรรมชาติอย่างสามัญอีกด้วย[47]งานศึกษาปี 2004 ที่พิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Science วิเคราะห์ปลาแซลมอนเลี้ยงและปลาธรรมชาติว่ามีสารปนเปื้อนคือ organochlorine (เช่น dioxin) หรือไม่แล้วพบว่าปลาเลี้ยงมีสารปนเปื้อนมากกว่าในบรรดาปลาเลี้ยง ปลาแซลมอนยุโรป (โดยเฉพาะจากสกอตแลนด์) มีระดับสูงสุด และปลาแซลมอนจากชิลีมีระดับต่ำสุด[48]

งานศึกษาติดตามในปี 2005 ได้ยืนยันข้อมูลนี้ คือได้พบระดับ dioxin, สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ที่มีคลอรีน, PCB และสารปนเปื้อนอื่น ๆ ในปลาแซลมอนเลี้ยงอาจถึงสิบเท่าของปลาแซลมอนแปซิฟิกธรรมชาติ[49]งานนี้พบว่า บุคคลสามารถรับประทานกรดไขมันโอเมกา-3 คือ EPA (Eicosapentaenoic acid) + DHA (Docosahexaenoic acid) จากปลาแซลมอนเลี้ยง (หรือธรรมชาติ) ให้ถึงระดับที่แนะนำได้โดยเสี่ยงปัญหาที่ไม่เกี่ยวมะเร็งในระดับที่ยอมรับได้ แต่ก็เสี่ยงมะเร็งในระดับที่ยอมรับไม่ได้[50]จนถึงทำให้สรุปว่า

"...ผู้บริโภคไม่ควรรับประทานปลาเลี้ยงจากประเทศสกอตแลนด์ นอร์เวย์ และแคนาดาตะวันออกเกิน 3 ครั้งต่อปีไม่ควรทานปลาเลี้ยงจากรัฐเมน แคนาดาตะวันตก และรัฐวอชิงตันเกิน 3-6 ครั้งต่อปีและปลาเลี้ยงจากประเทศชิลีเกิน 6 ครั้งต่อปีปลาแซลมอนชัมธรรมชาติสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยบ่อยถึง 1 ครั้งต่ออาทิตย์ ปลาแซลมอนชมพู, ปลาแซลมอนซ็อกอายและปลาแซลมอนโคโฮ 2 ครั้งต่อเดือน และปลาแซลมอนชินูกประมาณ 1 ครั้งต่อเดือน[47]"

แต่ก็มีเรื่องดีที่ตรวจพบ งานศึกษาต่อมาในปี 2005 ที่ชักตัวอย่างปลาเดียวกันกับงานศึกษาก่อนแสดงว่า ปลาแซลมอนเลี้ยงมีระดับกรดไขมันที่มีประโยชน์เป็น 2-3 เท่าของปลาธรรมชาติ[51]เพราะงานวิเคราะห์ความเสี่ยงมะเร็งจะเทียบกับประโยชน์ของการบริโภคกรดไขมันโอเมกา-3 ในปลาจึงต้องพิจารณาระดับไขมันในตัวอย่างที่ตรวจสอบเพราะ PCB เป็นสารที่ชอบไขมัน (lipophilic) ดังนั้นจึงพบอย่างเข้มข้นกว่าในปลาที่มีไขมันสูงโดยทั่วไป[52]ระดับ PCB ที่สูงกว่าในปลาเลี้ยงก็เพราะมีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 และโอเมกา-6 ที่สูงกว่า

ในปี 2005 รัสเซียห้ามการนำเข้าปลาแช่เย็นจากนอร์เวย์ หลังจากตรวจพบตัวอย่างปลาเลี้ยงที่มีระดับโลหะหนักสูงตามรัฐมนตรีการเกษตรรัสเซีย ระดับตะกั่วที่พบอยู่ที่ 10-18 เท่าสูงกว่ามาตรฐานความปลอดภัยของประเทศ และระดับแคดเมียมก็สูงกว่าเกือบ 4 เท่า[53]

ส่วนงานศึกษาปี 2008 ที่เทียบความเสี่ยงกับประโยชน์ของปลาในกลุ่มประชากรที่ไวความเสี่ยงได้สรุปตรงกันข้ามกับข้อแนะนำปี 2005 เพราะ[54]

  • ระดับเฉลี่ยสารซึ่งพบในปลาแซลมอนเลี้ยงในงานปี 2005 คือ 37 ppb ก็เป็นค่าแค่ 2% ของค่าสูงสุดซึ่งตั้งโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) และกระทรวงสาธารณสุขแคนาดา (Health Canada) ที่ 2,000 ppb และก็ยังน้อยกว่าค่าของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐสำหรับหญิงมีครรภ์หรือหญิงให้นมลูกที่ 50 ppb ซึ่งเป็นค่าที่ตั้งน้อยกว่ามาก
  • ประโยชน์ของการทานปลาแซลมอนไม่ว่าจะเลี้ยงหรือธรรมชาติก็ยังมากกว่าความเสี่ยงที่อาจมีเพราะสารปนเปื้อน

แนวทางอาหารของแคนาดาแนะนำให้รับประทานปลาสองที่ทุกสัปดาห์และให้เลือกปลาเช่นปลาชาร์ (สกุล Salvelinus ในวงศ์ปลาแซลมอน) ปลาเฮร์ริง ปลาแมกเคอเรล ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน และปลาเทราต์[55]ส่วนแนวทางอาหารสหรัฐปี 2010 ให้ทานอาหารทะเลหลายชนิดประมาณ 8 ออนซ์ต่ออาทิตย์ (ประมาณ 227 ก.) หรือ 12 ออนซ์ (ประมาณ 340 ก.) สำหรับแม่ที่ให้นมลูก โดยไม่มีขีดกำหนดหรือข้อจำกัดในการกินปลาแซลมอนเลี้ยงหรือธรรมชาติ[56]ส่วนรายงาน "อัปเดตของการเฝ้าตรวจระดับ dioxins และ PCBs ในอาหารและอาหารสัตว์" ที่ส่งแก่ EFSA ในปี 2012 ระบุว่าปลาแซลมอนและปลาเทราต์ที่เลี้ยงโดยเฉลี่ยมี dioxins และ PCBs น้อยกว่าปลาธรรมชาติ[57]

ประธานขององค์การนอกภาครัฐที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนอร์เวย์ คือ Green Warriors of Norway อ้างว่า จำนวนปลาที่เลี้ยงในนอร์เวย์ไม่อาจยั่งยืนได้เพราะปริมาณอาหารปลาที่ไม่ได้กินและขี้ปลาที่กลายเป็นมลพิษในท้องทะเล ในขณะที่สารเคมีที่ใช้ต้าน sea lice ก็รวมเข้าไปในโซ่อาหารเขากล่าวว่า "ถ้าคนรู้เรื่องนี้ ก็จะไม่กินปลาแซลมอน" โดยเรียกปลาเลี้ยงว่า "เป็นอาหารมีพิษมากที่สุดในโลก"[58]ประธานองค์กรต่อต้านการเลี้ยงปลา คือ Global Alliance Against Industrial Aquaculture ก็เห็นด้วย โดยกล่าวว่า มีการใช้สารเคมีบางอย่างเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในช่วงปี 2015-2016การใช้ยาฆ่าแมลง emamectin ซึ่งมีพิษเพื่อฆ่า sea lice ก็กำลังเพิ่มอย่างรวดเร็วและงานศึกษาต่าง ๆ ก็พบว่า ระดับสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ฆ่า sea lice ได้เกินขีดความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมมากกว่า 100 เท่าภายใน 10 ปีก่อนปี 2017[46]

ผลกระทบต่อปลาแซลมอนธรรมชาติ

ปลาแซลมอนเลี้ยงอาจหนีไปจากกรงตาข่ายได้ถ้าไม่ใช่ปลาท้องถิ่น มันก็จะแข่งขันแย่งชิงอาหารและที่อยู่กับปลาท้องถิ่นธรรมชาติ[59][60]ถ้าปลาเลี้ยงเป็นปลาท้องถิ่น มันก็อาจผสมพันธุ์กับปลาท้องถิ่นธรรมชาติซึ่งอาจลดความหลากหลายทางพันธุกรรม ภูมิต้านทานโรค และการปรับตัวได้[61]

ในปี 2004 ปลาแซลมอนและปลาเทราต์ 500,000 ตัว ได้หนีไปจากกรงทะเลในนอร์เวย์รอบ ๆ สกอตแลนด์ ปลา 600,000 ตัวได้หลุดออกไปจากกรงในช่วงเกิดพายุ[14]ชาวประมงพาณิชย์ที่มุ่งจับปลาแซลมอนธรรมชาติก็จับปลาแซลมอนเลี้ยงได้บ่อยช่วงระยะหนึ่งที่หมู่เกาะแฟโร ในบรรดาปลาที่จับได้ทั้งหมด ถึง 20-40% เป็นปลาแซลมอนเลี้ยงที่หนีมา[62]ในปี 2017 ปลาแซลมอนแอตแลนติกเลี้ยงที่ไม่ใช่ปลาท้องถิ่น 263,000 ตัวได้หนีจากรงตาข่ายในทะเลรัฐวอชิงตัน[63]

sea lice (ในไฟลัมย่อย Crustacea) โดยเฉพาะสปีชีส์ Lepeophtheirus salmonis และหลายพันธุ์ในสกุล Caligus รวมทั้ง C. clemensi และ C. rogercresseyi อาจก่อโรคถึงตายทั้งในปลาแซลมอนเลี้ยงและปลาธรรมชาติ[64][65]sea lice เป็นปรสิตภายนอก (ectoparasite) ที่กินหนอง เลือด และหนัง และมาเกาะผิวหนังของปลาแซลมอนธรรมชาติในระยะพัฒนาการต่าง ๆ คือ free-swimming planktonic nauplii และ copepodid larval โดยอาจคงอยู่หลายวัน[66][67][68]

ฟาร์มปลาแซลมอนที่เลี้ยงในกรงตาข่ายภายในทะเลเปิด (open-net salmon farm[upper-alpha 2])อาจเป็นจุดรวม sea lice อย่างมหาศาลถ้าลูกปลาธรรมชาติผ่านมาในบริเวณน้ำกร่อยที่มีฟาร์มเช่นนี้มาก ลูกปลาก็จะติดปรสิตแล้วไม่สามารถรอดชีวิตได้[70][71]ปลาที่โตแล้วอาจรอดชีวิตจากปรสิตที่มีมากเช่นนี้ แต่ลูกปลาที่ยังเล็ก ผิวบาง ซึ่งกำลังอพยพไปสู่ทะเลก็จะเสี่ยงตายมากรายงานปี 2007 (Krkosek et al) ระบุว่า ทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของแคนาดา อัตราการตายของปลาแซลมอนชมพูเนื่องกับ sea lice ในที่บางแห่งอาจสูงเป็นปกติถึง 80%[38]

ต่อมาปีเดียวกันโดยเป็นปฏิกิริยาต่อรายงานการสูญพันธุ์ปี 2007 ตามที่ว่า นักวิทยาศาสตร์ของสำนักงานการประมงรัฐบาลกลางแคนาดาสองท่านได้ตีพิมพ์ข้อความวิจารณ์รายงานโดยติดชื่อที่แปลว่า ทัศนคติเรื่องปลาแซลมอนชมพูและ Sea Lice: หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่สนับสนุนสมมติฐานการสูญพันธุ์[72] ต่อจากงานศึกษาเหล่านั้น ปลาแซลมอนชมพูก็ได้เพิ่มขึ้นในกลุ่มเกาะบร็อตตัน (Broughton Archipelago) ตามชายฝั่งรัฐบริติชโคลัมเบียและก็มีการโต้แย้งในวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์การประมงของรัฐบาลกาลางแคนาดาอีกกลุ่มหนึ่งที่สรุปว่า ไม่มีสหสัมพันธ์ระหว่างจำนวน sea lice ที่พบในปลาแซลมอนเลี้ยงกับจำนวนปลาแซลมอนชมพูที่กลับไปสู่หมู่เกาะบร็อตตันโดยกล่าวถึงทฤษฎีสูญพันธุ์ปี 2007 ว่า "ข้อมูลถูกเลือกใช้และข้อสรุปก็ไม่ตรงกับการกลับมาของปลาแซลมอนเมื่อเร็ว ๆ นี้"[39]

งานวิเคราะห์อภิมานของข้อมูลที่มีอยู่ปี 2008 แสดงว่า การเลี้ยงปลาแซลมอนลดการรอดชีวิตของปลาธรรมชาติพันธุ์เดียวกันซึ่งเป็นจริงสำหรับปลาแซลมอนแอตแลนติก ปลาเรนโบว์เทราต์ ปลาแซลมอนชมพู ปลาแซลมอนชัม และปลาแซลมอนโคโฮการรอดชีวิตบ่อยครั้งลดลงมากกว่า 50%[73]แต่งานศึกษาเหล่านี้เป็นการวิเคราะห์โดยสหสัมพันธ์ และมีสหสัมพันธ์ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเหตุ โดยเฉพาะเมื่อปลาแซลมอนธรรมชาติก็ได้ลดลงเช่นกันในรัฐออริกอนและแคลิฟอร์เนียซึ่งไม่เลี้ยงปลาแซลมอนแม้งานเหล่านี้จะพยากรณ์การล้มของการกลับมาของแซลมอน แต่จำนวนปลาแซลมอนธรรมชาติที่จับได้ในแคนาดาปี 2010 ก็เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์[74]

งานศึกษาปี 2010 ที่ใช้ข้อมูลจำนวน sea lice บวกกับข้อมูลผลิตปลาจากฟาร์มแซลมอนในหมู่เกาะบร็อตตันเป็นครั้งแรกไม่พบสหสัมพันธ์ระหว่างจำนวน sea lice ในฟาร์มกับการรอดชีวิตของปลาแซลมอนธรรมชาติผู้เขียนสรุปว่า การล้มของกลุ่มประชากรในปี 2002 ไม่ได้เป็นเพราะ sea liceคือ แม้ sea lice ในฟาร์มปลาในช่วงที่ลูกปลาธรรมชาติออกสู่ทะเลในปี 2000 จะมีจำนวนมากกว่าปี 2001จำนวนปลาแซลมอนที่กลับมาวางไข่ในปี 2001 (จากกลุ่มลูกปลาปี 2000) ก็ได้ทำประวัติ/สถิติ เทียบกับการล้มจำนวนประชากรถึง 97% ในปี 2002 (จากกลุ่มลูกปลาปี 2001)ผู้เขียนให้ข้อสังเกตว่า งานศึกษาที่ทำเบื้องต้นไม่ได้ตรวจสอบเหตุทางแบคทีเรียหรือไวรัสในเหตุการณ์ แม้จะมีรายงานว่ามีเลือดออกที่โคนครีบซึ่งเป็นอาการที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อโดยไม่เกี่ยวกับการติด sea lice เมื่อเกิดในห้องทดลอง[75]

ปลาแซลมอนธรรมชาติจะกลับสู่น้ำจืดจากทะเลเพื่อวางไข่และลูกปลาจะออกสู่ทะเลเมื่อโตขึ้นปลาโดยมากกลับสู่แม่น้ำที่เกิดแม้จะมีบางส่วนที่หลงเข้าแม่น้ำอื่นไปบ้างมีความเป็นห่วงเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมเกี่ยวกับการกลับมาวางไข่ของปลาความฟื้นสภาพได้ของกลุ่มประชากรจะขึ้นอยู่กับปลาบางส่วนที่สามารถรอดชีวิตจากสิ่งแวดล้อมที่รุนแรง เช่น อุณหภูมิร้อนหนาวสุด ๆผลของการเลี้ยงปลาต่อความหลากหลายทางพันธุกรรมก็ไม่ชัดเจนเช่นกัน[9]

การดัดแปลงพันธุกรรม

ปลาแซลมอนได้ดัดแปลงพันธุกรรมในแล็บเพื่อให้โตเร็วขึ้นบริษัท AquaBounty Technologies ได้พัฒนาปลาแซลมอนแอตแลนติกดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งโตเร็วแทบเป็นสองเท่า (ให้ปลาสามารถโตได้ภายใน 16-18 เดือน เทียบกับปลาปกติที่ 30 เดือน) โดยทนโรคทนหนาวได้ดีกว่าและยังกินอาหารน้อยกว่า 10% อีกด้วยซึ่งทำโดยใช้ลำดับยีนของปลาแซลมอนชินูกที่มีผลต่อฮอร์โมนการเติบโต (growth hormone) และใช้ promoter sequence [upper-alpha 3]จากปลาในอันดับปลากะพงพันธุ์ Zoarces americanus (Ocean pout) ที่มีผลต่อการผลิตสารกันเยือกแข็ง (antifreeze)[77]ปกติแล้วปลาแซลมอนจะผลิตฮอร์โมนการเติบโตต่อเมื่อมีแสงแต่ปลาแซลมอนดัดแปลงพันธุกรรมกลับไม่ระงับการผลิตฮอร์โมน

บริษัทได้ยื่นเรื่องขออนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ครั้งแรกในปี 1996[78]ในปี 2015 FDA ได้อนุมัติให้ผลิตปลาแซลมอนแปลงพันธุกรรม (AquAdvantage Salmon) เพื่อการพาณิชย์[79]

ความเป็นห่วงในเรื่องปลาแซลมอนที่ได้ยีนมาจากสัตว์อื่น (transgenic) ก็คือจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามันหลุดออกไปอยู่เองตามธรรมชาติงานศึกษาหนึ่งที่ทำในแล็บพบว่า ปลาแปลงพันธุกรรมที่อยู่กับปลาธรรมชาติรุ่นเดียวกันจะดุในการแข่งขันเพื่อทรัพยากร แต่ในที่สุดก็แพ้[80]

ผลกระทบต่อสัตว์ล่าเหยื่อธรรมชาติ

กรงตาข่ายอาจล่อสัตว์หล่าเหยื่อธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งอาจมาติดที่ตาข่าย ทำให้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงตายในรัฐแทสเมเนีย กรงตาข่ายเลี้ยงแซลมอนเคยพันกับนกออกซึ่งกระตุ้นให้ผู้เลี้ยงปลาบริษัทหนึ่งคือ Huon Aquaculture ช่วยสร้างศูนย์คืนสภาพประชากรนกแล้วใช้ตาข่ายที่ดีกว่า[81]

ผลกระทบต่อปลาที่เป็นเหยื่อ

การใช้ปลาเหยื่อ (forage fish) เพื่อผลิตอาหารสัตว์ค่อนข้างจะคงที่เป็นเวลา 30 ปีแล้วโดยทำในอัตราสูงสุดที่คงยืนได้ (maximum sustainable yield) ในขณะที่ตลาดได้เปลี่ยนไปจากใช้อาหารเช่นนี้เลี้ยงไก่ สุกร และสัตว์เลี้ยง ไปเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเลี้ยง[17]ตลาดที่เปลี่ยนไปในขณะที่ระดับการผลิตที่คงที่จึงดูเหมือนจะเป็นการตัดสินทางเศรษฐกิจซึ่งก็แสดงนัยว่า การพัฒนาฟาร์มเลี้ยงปลาไม่มีผลกระทบต่อการประมงปลาที่เป็นเหยื่อ

เพราะปลาปกติไม่ผลิตกรดไขมันโอเมกา-3 เอง แต่สะสมจากการกินสาหร่ายเซลล์เดียว (microalgae) ซึ่งผลิตกรดไขมันเช่นนี้ เช่นที่พบในปลาเหยื่อ คือ ปลาเฮร์ริงและปลาซาร์ดีน หรือจากการกินปลาเหยื่อดังที่พบในปลาล่าเหยื่อมีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน เพื่อให้ปลาแซลมอนได้กรดไขมันสูง ผลผลิตน้ำมันปลาของโลกเกินครึ่งจึงใช้เป็นอาหารปลาแซลมอนเลี้ยง[23]อนึ่ง ปลายังต้องกินโปรตีนซึ่งได้จากอาหารที่ทำจากปลาอันเป็นโปรตีนราคาถูกสุดปลาแซลมอนเลี้ยงกินปลารวม ๆ กันมีน้ำหนักมากกว่าตน แม้ปลาแซลมอนจะเป็นปลาอาหารที่มนุษย์นิยมกว่า

Salmon Aquaculture Dialogue และ ASC Salmon Standard

ในปี 2004 องค์กรนอกภาครัฐ World Wide Fund for Nature (WWF) ได้เริ่มงานประชุมเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาแซลมอน คือ Salmon Aquaculture Dialogue ซึ่งเป็นงานประชุมหนึ่งในบรรดางานประชุมเลี้ยงสัตว์น้ำที่จัด[13]จุดมุ่งหมายก็เพื่อสร้างมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมและสังคมสำหรับฟารม์ปลาแซลมอนและฟาร์มสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ (รวม 12 สปีชีส์จนถึงปี 2018)ตั้งแต่ปี 2012 มาตรฐานที่สร้างขึ้นโดยผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมได้ส่งต่อไปให้องค์กร Aquaculture Stewardship Council (ASC) ซึ่งตั้งขึ้นในปี 2010 เพื่อเป็นผู้บริหารและพัฒนามาตรฐานให้ยิ่งขึ้นมาตรฐานแรกที่เผยแพร่ในปี 2012 แล้วอัปเดตในปี 2017 หลังจากได้รับความเห็นจากสาธารณชน ก็คือ ASC Salmon Standard[82]WWF เบื้องต้นได้ระบุ "ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมหลัก 7 อย่าง" รวมทั้ง

1. Benthic impacts and siting (ผลกระทบต่อพื้นน้ำกับการตั้งฟาร์ม) - สารเคมีและสารอาหารเกินจากอาหารและขี้ปลาจากฟาร์แซลมอนสามารถรบกวนพฤกษชาติและสัตวชาติที่ท้องทะเล (benthos)[83]


2. Chemical inputs (การใช้สารเคมี) - การใช้สารเคมีเกิน เช่น ยาปฏิชีวนะ สารต้านการตกเขรอะ (anti-foulant) และสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ หรือการใช้สารเคมีต้องห้ามอาจมีผลที่ไม่ได้ตั้งใจต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลและต่อสุขภาพมนุษย์[84]
3. โรค/ปรสิต - ไวรัสและปรสิตสามารถติดต่อระหว่างปลาเลี้ยงกับปลาธรรมชาติ และระหว่างปลาของฟาร์มต่าง ๆ[85][86]
4. ปลาหนี - ปลาแซลมอนที่หนีอาจแข่งขันกับปลาธรรมชาติ อาจผสมพันธุ์กับปลาธรรมชาติประเภทเดียวกันในพื้นที่ เป็นการเปลี่ยนความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาโดยทั่วไป[87]
5. อาหาร - ธุรกิจฟาร์มแซลมอนที่กำลังโตต้องควบคุมและลดการพึ่งอาหารเนื้อปลาและน้ำมันปลา ซึ่งเป็นอาหารหลักที่ใช้เลี้ยงปลาแซลมอน เพื่อไม่สร้างภาระเพิ่มขึ้นต่อการประมงโลก ปลาที่จับมาทำอาหารสัตว์และน้ำมันปัจจุบันเป็นปลา 1/3 ในโลกที่จับได้[88]
6. Nutrient loading and carrying capacity - อาหารเกินและของเสียปลาในน้ำอาจเพิ่มระดับสารอาหารในน้ำ ซึ่งอาจทำให้สาหร่ายงอกงาม แล้วใช้ออกซิเจนที่หมายให้พืชและสัตว์อื่น ๆ[89]
7. ปัญหาสังคม - การเลี้ยงปลาแซลมอนบ่อยครั้งต้องใช้แรงงานมากในฟาร์มและในโรงงาน ซึ่งอาจทำให้ข้อปฏิบัติต่อแรงงานและสิทธิแรงงานกลายเป็นสิ่งที่สังคมต้องตรวจสอบดูแล อนึ่ง อาจเกิดข้อพิพาทกับผู้ใช้ทรัพยากรตามชายฝั่งร่วมกัน

ใกล้เคียง

การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ การเพาะเลี้ยงวงศ์ปลาแซลมอน การเพิ่มจำนวนอาวุธปืนในประเทศไทย การเพิ่มของระดับน้ำทะเล การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การเพิ่มความเป็นขั้วของกลุ่ม การเพาะเชื้อจากเลือด การเพิ่มอำนาจ การเพาะปลูก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนในน้ำ http://www.abc.net.au/news/2014-06-16/fish-farmer-... http://www.alexandramorton.ca/salmon-confidential-... http://www.aquaculture.ca/ http://www.env.gov.bc.ca/wld/documents/fishfacts/s... http://www.dfo-mpo.gc.ca/aquaculture/sheet_feuille... http://www.hc-sc.gc.ca/fn-an/food-guide-aliment/ch... http://metroeastanglers.ca/atu.shtml http://labs.eeb.utoronto.ca/krkosek/Publications_f... http://www.fis.com/fis/worldnews/worldnews.asp?l=e... http://www.inderscience.com/search/index.php?actio...