การเมืองลิทัวเนีย

ปัจจุบันสถานภาพทางการเมืองของประเทศลิทัวเนียในสายตาของนานาชาตินั้นถือได้ว่า มีเสถียรภาพและเอื้ออำนวยต่อการค้าการลงทุน ภายหลังจากการถอนทหารรัสเซียออกจากลิทัวเนียตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2539 กอปรกับชนกลุ่มน้อยชาวรัสเซียในลิทัวเนียไม่มีบทบาทสำคัญทางการเมือง จึงส่งผลทำให้การบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลลิทัวเนียในเรื่องชนกลุ่มน้อยค่อนข้างเป็นไปอย่างราบรื่น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศบอลติกอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ลัตเวียและเอสโตเนียระบบการเมือง มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ภายใต้รัฐธรรมปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1992สถาบันทางการเมือง ลิทัวเนียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี รัฐสภาใช้ระบบสภาเดียว (Unicamera) เรียกว่า "เซมุส" (Seimas) จำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด 141 คน (71 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง อีก 70 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน) มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี พรรคการเมืองจะต้องได้รับคะแนนเสียงเกินร้อยละ 4 จากการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ จึงจะมีสิทธิเข้าร่วมในรัฐสภา ยกเว้นพรรคที่มาจากชนกลุ่มน้อย คณะรัฐบาลดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระของสมาชิกรัฐสภาเว้นแต่สมาชิกคณะรัฐบาลจะลาออก หรือรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลด้วยเสียงข้างมากเด็ดขาด ประธานสภาเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

ใกล้เคียง

การเมืองไทย การเมือง การเมืองกัมพูชา การเมืองเบลเยียม การเมืองสเปน การเมืองฝ่ายขวา การเมืองเนเธอร์แลนด์ การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา การเมืองลิทัวเนีย การเมาเหตุเคลื่อนไหว