การเมืองสเปน
การเมืองสเปน

การเมืองสเปน

การเมืองสเปน ดำเนินอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน ค.ศ. 1978 สเปนได้รับการสถาปนาเป็นรัฐเอกราชที่มีสังคม และประชาธิปไตย[1] ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของปวงชนผ่านการแสดงอำนาจของรัฐ[1]รูปแบบการปกครองในสเปน เป็นระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา ที่มีพระมหากษัตริย์[1] กล่าวคือ เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขแห่งรัฐที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในขณะที่ นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ "ประธานแห่งรัฐบาล" เป็นหัวหน้ารัฐบาล อำนาจบริหาร อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ๆ รวมกันจัดตั้งคณะรัฐมนตรี อำนาจนิติบัญญัติ เป็นอำนาจของรัฐสภากอร์เตสเฆเนราเลส ซึ่งเป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา อำนาจตุลาการ เป็นอำนาจอิสระจากฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ อยู่ภายใต้ลายพระอภิไธยของพระมหากษัตริย์ ใช้อำนาจผ่านข้าราชการฝ่ายตุลาการ และผู้พิพากษา โดยมีศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดของประเทศ มีเขตอำนาจศาลในทุกแคว้นของสเปนเหนือกว่าทุกสิ่งในทุกเรื่อง เว้นแต่เรื่องรัฐธรรมนูญ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลที่แยกจากกันคือ ศาลรัฐธรรมนูญระบบการเมืองของสเปน เป็นระบบหลายพรรคการเมือง แต่นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1990 มีเพียงสองพรรคการเมืองที่โดดเด่นขึ้นมา ได้แก่ พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน (PSOE) และพรรคประชาชน (PP) นอกจากนี้ยังมีพรรคภูมิภาคนิยมที่สำคัญ ได้แก่ พรรคชาตินิยมบาสก์ (EAJ-PNV) จากแคว้นประเทศบาสก์ พรรคหลอมหลวมและสหภาพ (CiU) และ พรรคสาธารณรัฐฝ่ายซ้ายแห่งกาตาลุญญา (ERC) จากแคว้นกาตาลุญญา ได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองสเปน โดยสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรได้รับการเลือกผ่านการเลือกตั้งระบบสัดส่วน ซึ่งรัฐบาลจัดตั้งโดยพรรคเดียว หรืออาจรวมกันหลายพรรค โดยได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา แต่เดิมนับตั้งแต่เปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาว่า พรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดจะได้จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว ถึงแม้ว่าบางครั้งพรรคนั้นจะไม่มีเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร และกลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย แต่ก็ยังมีอำนาจบริหารต่อไปได้โดยอาศัยสมาชิกพรรคอื่น ๆ ในการให้ความเห็นชอบร่างงบประมาณ และร่างกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 2020 การจัดตั้งรัฐบาลที่สองของเปโดร ซันเชซ ซึ่งจัดตั้งโดยพรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน และพรรคอูนิดัสโปเดโมส เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่การจัดตั้งรัฐบาลผสม เกิดขึ้นในสเปน นับตั้งแต่สาธารณรัฐสเปนที่ 2รัฐบาลระดับภูมิภาคทำหน้าที่ภายใต้ระบบที่เรียกว่า รัฐปกครองตนเอง ซึ่งเป็นระบบการบริหารแบบกระจายอำนาจสูง (เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากเยอรมนี ในดัชนีอำนาจส่วนภูมิภาค มาตั้งแต่ ค.ศ. 1998)[2] เดิมทีถูกวางกรอบว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของ "สหพันธรัฐที่ไม่สมมาตร" ด้วยลักษณะของภูมิภาคที่มี "เชื้อชาติทางประวัติศาสตร์" สิ่งนี้ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วกลายเป็นการสร้างภูมิภาคต่าง ๆ ไปทั่วสเปน และกระจายอำนาจให้แก่ทุกคน รู้จักกันอย่างกว้างขวางในนาม "กาแฟสำหรับทุกคน"[3] เป็นการใช้สิทธิการปกครองตนเองตามที่ได้รับจากรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งออกเป็น 17 แคว้นปกครองตนเอง และ 2 นครปกครองตนเอง รูปแบบของรัฐบาลในแต่ละแคว้นปกครองตนเอง และนครปกครองตนเองตั้งอยู่ในระบบรัฐสภา โดยอำนาจบริหารเป็นของ “ประธาน” และคณะรัฐมนตรี ใน ค.ศ. 2022 หน่วยข่าวกรองของนักเศรษฐศาสตร์ ได้ลดระดับสเปนจาก ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ สู่ "ประชาธิปไตยบกพร่อง" เนื่องจาก ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นอิสระของตุลาการ หลังจากฝ่ายการเมืองมีอำนาจในการแต่งตั้งผู้พิพากษาคนใหม่ให้กับสภาตุลาการทั่วไป (CGPJ)[4]

การเมืองสเปน

ประธานศาล โฆเซ รามอน นาบาร์โร
สำนักงานใหญ่ พระราชวังมองโกลอา
ประเภท ระบบสองสภา
สถานที่ประชุม ปาลาซิโอเดลเซนาโด
ปาลาซิโอเดลัสกอร์เตส (มาดริด)
รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน
ปัจจุบัน เปโดร ซันเชซ
ชื่อ ระบบศาลยุติธรรมสเปน
คำเรียก คณะรัฐมนตรี
ชุดปัจจุบัน รัฐบาลที่สองของเปโดร ซันเชซ
หัวหน้า นายกรัฐมนตรี
ศาล ศาลยุติธรรมสูง
ผู้แต่งตั้ง พระมหากษัตริย์
ประเภทรัฐ รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ประธาน ฟรันซินา อาร์เมนกอล
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ที่ตั้งศาล คอนแวนต์แห่งซาเลซัสเรอาเลส
รองหัวหน้า รองนายกรัฐมนตรีสเปนคนแรก

ใกล้เคียง

การเมืองไทย การเมือง การเมืองกัมพูชา การเมืองเบลเยียม การเมืองสเปน การเมืองฝ่ายขวา การเมืองเนเธอร์แลนด์ การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา การเมืองลิทัวเนีย การเมาเหตุเคลื่อนไหว

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเมืองสเปน https://www.catalannews.com/politics/item/spain-do... https://researchonline.ljmu.ac.uk/id/eprint/15880 https://doi.org/10.1007%2F978-3-030-53590-2_9 https://doi.org/10.1080%2F03003939408433710 https://books.google.com/books?id=BtjODwAAQBAJ https://rm.coe.int/168071969f http://www.oecd.org/dataoecd/61/8/37890628.pdf http://www.britannica.com/EBchecked/topic/557573/S... https://www.boe.es/legislacion/documentos/Constitu... https://www.boe.es/eli/es/l/1985/04/02/7/con