ฝ่ายบริหาร ของ การเมืองสเปน

รัฐบาล และคณะรัฐมนตรี

มุมมองทางอากาศของพระราชวังมองโกลอา ที่พำนักของนายกรัฐมนตรีสเปน

ในระดับประเทศ อำนาจบริหารในสเปนเป็นของรัฐบาลเพียงประการเดียว แม้พระมหากษัตริย์จะเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้พระองค์มีส่วนกับฝ่ายบริหาร โดยรัฐบาล ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เรียกกันในนาม "ประธานรัฐบาล" (สเปน: presidente del gobierno) รองนายกรัฐมนตรีหนึ่งคน หรือมากกว่านั้น เรียกกันในนาม "รองประธานแห่งรัฐบาล" (สเปน: vicepresidentes del gobierno) และรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ทั้งหมดเรียกกันว่าคณะรัฐมนตรี รัฐบาลมีหน้าที่รับผิดชอบนโยบายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ตลอดจนนโยบายด้านกลาโหม และเศรษฐกิจ[9] ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน ได้แก่ เปโดร ซันเชซ

รัฐธรรมนูญ[13] กำหนดว่าภายหลังการเลือกตั้ง พระมหากษัตริย์ จะทรงหารือกับกลุ่มการเมืองทั้งหมดที่เป็นตัวแทนในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จะทรงเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีผ่านทางประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ได้รับการเสนอชื่อจะนำเสนอนโยบายของรัฐบาลของเขา เพื่อขอความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากได้รับการไว้วางใจด้วยเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสภา พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเป็น "ประธานแห่งรัฐบาล" อย่างเป็นทางการ แต่หากผู้ได้รับการเสนอชื่อไม่ได้รับการไว้วางใจ สภาผู้แทนราษฎรจะต้องลงมติใหม่อีกครั้งภายใน 48 ชั่วโมง ในกรณีนี้ ต้องได้รับการไว้วางใจด้วยเสียงที่เห็นชอบมากกว่า ไม่เห็นชอบ และงดออกเสียง โดยไม่จำเป็นต้องถึงกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าผู้ได้รับการเสนอชื่อไม่ได้รับความไว้วางใจอีกครั้ง พระมหากษัตริย์ จะทรงเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ต่อไปจนกว่าจะได้รับความไว้วางใจ แต่หากหลังจากพ้น 2 เดือนไปแลเวยังไม่มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนใดไได้รับความไว้วางใจ พระมหากษัตริย์จะยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยความยินยอมของประธานรัฐสภา[13] ในทางปฏิบัติ นับตั้งแต่การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1978 นายกรัฐมนตรีจะมาจากผู้ได้รับการเสนอชื่อของพรรคที่ได้รับที่นั่งจำนวนมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร แม้ว่าพรรคนั้นจะมีจำนวนที่นั่งไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ พรรคในรัฐบาลจะต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากพรรคอิ่น ๆ เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจ และอนุมัติงบประมาณของรัฐ

หลังจากผู้ได้รับการเสนอชื่อได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร เขาจะได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในพิธีปฏิญาณตนเพื่อเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งจัดขึ้นที่พระราชวังซาร์ซูเอลา ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ต่อหน้าผู้รับรองเอกสารสำคัญแห่งราชอาณาจักร และกล่าวคำสาบานเข้ารับตำแหน่ง เหนือสำเนารัฐธรรมนูญที่เปิดอยู่ถัดจากคัมภีร์ไบเบิล คำสาบานที่ใช้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอปฏิญาณ/สัญญาว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานของรัฐบาลด้วยความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติตาม และบังคับใช้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายพื้นฐานของรัฐ ตลอดจนรักษาการพิจารณาอย่างลับของคณะรัฐมนตรี"

นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้เสนอชื่อรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ๆ ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยจำนวน และขอบเขตอำนาจของแต่ละรัฐมนตรีจะกำหนดโดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งแต่ละกระทรวงมักจะจัดตั้งขึ้นอย่างคลอบคลุมภาคส่วน หรือหลายภาคส่วนที่คล้ายกันในการทำงานของรัฐบาล รัฐบาลจะประชุมกันในฐานะ "คณะรัฐมนตรี" โดยปกติทุกวันศุกร์ที่พระราชวังมองโกลอา ในกรุงมาดริด ซึ่งเป็นบ้านพักอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีที่เป็นประธานในการประชุม แต่สามารถจัดการประชุมในสถานที่อื่น ๆ ได้ ยกเว้นเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานการประชุมตามคำขอของนายกรัฐมนตรี ซึ่งในกรณีนี้สภาจะแจ้งราชการของรัฐบาลให้ทราบ

ใกล้เคียง

การเมืองไทย การเมือง การเมืองกัมพูชา การเมืองเบลเยียม การเมืองสเปน การเมืองฝ่ายขวา การเมืองเนเธอร์แลนด์ การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา การเมืองลิทัวเนีย การเมาเหตุเคลื่อนไหว

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเมืองสเปน https://www.catalannews.com/politics/item/spain-do... https://researchonline.ljmu.ac.uk/id/eprint/15880 https://doi.org/10.1007%2F978-3-030-53590-2_9 https://doi.org/10.1080%2F03003939408433710 https://books.google.com/books?id=BtjODwAAQBAJ https://rm.coe.int/168071969f http://www.oecd.org/dataoecd/61/8/37890628.pdf http://www.britannica.com/EBchecked/topic/557573/S... https://www.boe.es/legislacion/documentos/Constitu... https://www.boe.es/eli/es/l/1985/04/02/7/con