พระมหากษัตริย์ ของ การเมืองสเปน

พระราชสถานะ

สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน

พระมหากษัตริย์สเปนองค์ปัจจุบัน ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 เป็นประมุขของรัฐ เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี และความยั่งยืน เป็นผู้ตัดสิน และกลั่นกรองการทำงานอย่างเที่ยงตรงของภาครัฐ และถือว่าเป็นตัวแทนสูงสุดของประเทศในการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และใช้หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่กำหนดให้[5] ตำแหน่งองค์พระมหากษัตริย์จะได้รับการประกาศโดยรัฐสภา พระองค์ต้องปฏิญาณว่าจะปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าพระองค์จะปฏิบัติตาม และเคารพสิทธิของพลเมือง ตลอดจน สิทธิของแคว้นปกครองตนเอง[6]

ตามรัฐธรรมนูญแห่งสเปน พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการอนุมัติ และประกาศใช้กฎหมาย เรียกประชุม หรือยุบรัฐสภา จัดให้มีการเลือกตั้ง และการทำประชามติ ตามโอกาสที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ แต่งตั้ง ถอดถอน และเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตลอดจนรัฐมนตรีอื่น ๆ ตามเงื่อนไชที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ออกพระราชกฤษฎีกาตามความยินยอมของคณะรัฐมนตรี เพื่อมอบหมายงานด้านพลเรือน และทหาร และพระราชทานยศศักดิ์ และเกียรติคุณตามกฎหมาย และเป็นประธานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควรเพื่อทราบราชการของรัฐ มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดแก่กองทัพสเปน รวมทั้ง มีสิทธิในการพระราชทานอภัยโทษตามกฎหมาย พระองค์ได้รับการรับรองเอกเอกอัครราชทูต ผู้แทนทางการทูตทุกคน และตัวแทนต่างประเทศในสเปนทุกคนได้ให้การรับรองแก่พระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงแสดงความยินยอมของรัฐในการเข้าสู่ข้อผูกพันระหว่างประเทศผ่านสนธิสัญญา และประกาศสงคราม หรือสร้างสันติภาพ โดยได้รับความยินยอมจากรัฐสภา[7]

ในแง่การปฏิบัติ หน้าที่ของพระองค์โดยส่วนใหญ่เป็นพิธีการ และบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้เป็นแนวทางชัดเจนว่าต้องพระองค์ต้องเป็นกลางอย่างเข้มงวด และไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง[8][9] ในความเป็นจริง บิดาแห่งรัฐธรรมนูญ (สเปน: Padres de la Constitución) ได้ใช้ถ้อยคำที่ว่า "เป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์" อย่างระมัดระวัง โดยจงใจละเว้นถ้อยคำอื่น เช่น "อำนาจ" หรือ "ความสามารถ" จึงเป็นการลบล้างพระราชอำนาจพิเศษของพระมหากษัตริย์ที่มีภายในระบอบพระมหากษัตริย์แบบรัฐสภา[10] ในแนวปฏิบัตินี้ พระมหากษัตริย์จะไม่มีเสรีภาพสูงสุดในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะถูกวางกรอบว่าจะต้องปฏิบัติให้ "สอดคล้องรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย" หรือตามคำร้องขอของฝ่ายบริหาร หรือได้รับอนุญาติจากรัฐสภา[10]

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารของกองทัพสเปน แต่ทรงมีอำนาจเหนือกองทัพสเปนในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ไม่ใช่ตามความเป็นจริง[9] อย่างไรก็ตาม สถานะของพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด และสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของชาติได้ถูกนำมาใช้อย่างเห็นได้ชัดที่สุดในเหตุการณ์พยายามรัฐประหารใน ค.ศ. 1981 ซึ่งสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 ทรงมีกระแสพระราชดำรัสในเครื่องแบบทหารทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ประณามการรัฐประหาร และเรียกร้องให้มีการรักษากฎหมาย และความคงไว้ซึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย จึงทำให้การรัฐประหารล้มเหลวลง[9]

ใกล้เคียง

การเมืองไทย การเมือง การเมืองกัมพูชา การเมืองเบลเยียม การเมืองสเปน การเมืองฝ่ายขวา การเมืองเนเธอร์แลนด์ การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา การเมืองลิทัวเนีย การเมาเหตุเคลื่อนไหว

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเมืองสเปน https://www.catalannews.com/politics/item/spain-do... https://researchonline.ljmu.ac.uk/id/eprint/15880 https://doi.org/10.1007%2F978-3-030-53590-2_9 https://doi.org/10.1080%2F03003939408433710 https://books.google.com/books?id=BtjODwAAQBAJ https://rm.coe.int/168071969f http://www.oecd.org/dataoecd/61/8/37890628.pdf http://www.britannica.com/EBchecked/topic/557573/S... https://www.boe.es/legislacion/documentos/Constitu... https://www.boe.es/eli/es/l/1985/04/02/7/con