การเรียนรู้ตามอัธยาศัย

การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (อังกฤษ: Informal learning) มีลักษณะเฉพาะคือมีการวางแผนและการจัดการในระดับต่ำในด้านบริบทการเรียนรู้, การสนับสนุนการเรียนรู้, เวลาในการเรียนรู้ และวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้[1] ซึ่งต่างจากการเรียนรู้ในระบบ, การเรียนรู้นอกระบบ เนื่องจากการเรียนรู้ตามอัธยาศัยไม่มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ แต่ดูจากความตั้งใจที่จะกระทำจากมุมมองของผู้เรียน เช่น การแก้ปัญหา วิธีการโดยทั่วไปของการเรียนรู้ตามอัธยาศัย เช่น การลองผิดลองถูกหรือการเรียนรู้จากการกระทำ, การแสดงตัวอย่าง, การให้ข้อมูลป้อนกลับในเชิงแก้ไขและการสะท้อนคิด[2][3] การเรียนรู้ตามอัธยาศัยเป็นปรากฏการณ์ต่อเนื่องของการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมหรือการเรียนรู้ผ่านการสร้างความรู้ ซึ่งต่างจากมุมมองดั้งเดิมของการเรียนรู้ที่มีครูเป็นศูนย์กลางผ่านการได้รับความรู้ ประมาณการว่าร้อยละ 70–90 ของการเรียนรู้ของผู้ใหญ่เกิดขึ้นในแบบตามอัธยาศัยและนอกสถาบันการศึกษา[4]

ใกล้เคียง

การเรียนรู้ของเครื่อง การเร่งปฏิกิริยา การเรืองแสงของบรรยากาศ การเร็นเดอร์ การเรียนรู้เชิงลึก การเรียน การเรียกชื่อสารเคมีตามระบบไอยูแพ็ก การเรียงลำดับแบบฟอง การเรียกยานพาหนะคืนของโตโยต้า พ.ศ. 2552−2553 การเร่งโดยอาศัยแอนติบอดี