นิยาม ของ การเรียนรู้เชิงลึก

การเรียนรู้เชิงลึก เป็นสาขาของการเรียนรู้ของเครื่องที่[3]

  • ประกอบไปด้วยชั้นของหน่วยประมวลผลแบบไม่เป็นเชิงเส้นหลายๆชั้น ข้อมูลขาออกของแต่ละชั้นก่อนหน้าจะเป็นข้อมูลขาเข้าของชั้นต่อไป
  • มาพื้นฐานมาจากการเรียนรู้ฟีเจอร์หลายๆชั้นหรือการแทนข้อมูลแบบหลายๆชั้น (แบบไม่มีผู้สอน) กล่าวคือ ฟีเจอร์ในชั้นสูงๆจะได้มาจากฟีเจอร์ในชั้นที่ต่ำกว่า เพื่อสร้างมาเป็นการแทนข้อมูลแบบหลายๆชั้น
  • เป็นส่วนหนึ่งของสาขาการเรียนรู้ของเครื่องในการเรียนรู้การแทนข้อมูล

กล่าวคือ การเรียนรู้เชิงลึกประกอบไปด้วย (1) หน่วยประมวลผลแบบไม่เป็นเชิงเส้นหลายๆชั้น (2) แต่ละชั้น จะเรียนรู้การแทนฟีเจอร์ อาจจะเป็นแบบมีผู้สอนหรือไม่มีผู้สอนก็ได้ ทั้งนี้ โครงสร้างในแต่ละชั้นของการเรียนรู้เชิงลึกจะขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข อาจจะเป็น hidden layer ของโครงข่ายประสาทเทียม หรือหน่วยประมวลผลตรรกะที่ซับซ้อนก็ได้ หรืออาจจะเป็นโนดใน deep generative model อย่างเช่น โครงข่ายความเชื่อแบบลึก (Deep Belief Networks) หรือเครื่องจักรโบลทซ์มันน์เชิงลึก (Deep Boltzmann Machines) ก็ได้

แนวคิดพื้นฐาน

หลักการโดยทั่วไปของการเรียนรู้เชิงลึกคือการมีหน่วยประมวลผลหลายๆชั้น ข้อมูลขาเข้าในแต่ละชั้นได้มาจากปฏิสัมพันธ์กับชั้นอื่นๆ ทั้งนี้ การเรียนรู้เชิงลึกพยายามหาความสัมพันธ์ที่ล้ำลึกมากขึ้น นั่นคือ เมื่อมีจำนวนของชั้นและหน่วยประมวลผลที่อยู่ในชั้นมากขึ้น ข้อมูลในชั้นสูงๆก็จะยิ่งล้ำลึกซับซ้อน (abstract) มากขึ้น

สถาปัตยกรรมโครงสร้างของการเรียนรู้เชิงลึกมักจะสร้างแบบเป็นชั้นๆ (layer-by-layer) ไปด้วยวิธี greedy method ซึ่งการหาสิ่งที่ล้ำลึกซับซ้อนมากขึ้นไปเรื่อยๆในแต่ละชั้นนี้เองที่ทำให้การเรียนรู้เชิงลึกมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการอื่นๆ[4]

ตัวอย่างเช่น ข้อมูลในชั้นต้นๆอาจจะเรียนรู้ว่าภาพที่เข้ามาประกอบด้วยเส้นต่างๆ ชั้นที่สูงไปนำเส้นต่างๆมาประกอบกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม และชั้นต่อๆมาคือการหาความสัมพันธ์ของเส้นสี่เหลี่ยมจนกระทั่งคอมพิวเตอร์รู้ได้ว่าภาพที่เข้ามาเป็นภาพของธงชาติ เป็นต้น

ในการเรียนรู้แบบมีผู้สอนนั้น การเรียนรู้เชิงลึกจะช่วยลดภาระในการหาฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้อง เพราะวิธีการนี้จะแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบอื่นในระดับที่สูงขึ้นโดยอัตโนมัติ และให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ซ้ำซ้อนลดลงไปด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอนได้ด้วย

ใกล้เคียง

การเรียนรู้ของเครื่อง การเร่งปฏิกิริยา การเรืองแสงของบรรยากาศ การเร็นเดอร์ การเรียนรู้เชิงลึก การเรียน การเรียกชื่อสารเคมีตามระบบไอยูแพ็ก การเรียงลำดับแบบฟอง การเรียกยานพาหนะคืนของโตโยต้า พ.ศ. 2552−2553 การเร่งโดยอาศัยแอนติบอดี