ประวัติศาสตร์ ของ การเลิกล้มราชาธิปไตย

ตัวอย่างของการล้มล้างพระราชวงศ์เช่น ในปี ค.ศ. 1649 พระราชวงศ์อังกฤษ โดยรัฐสภาแห่งอังกฤษภายใต้การนำของ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ แต่ก็ได้มีการฟื้นฟูภายหลังในปี ค.ศ. 1660 อีกแห่งที่ฝรั่งเศส พระราชวงศ์ฝรั่งเศสถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1792 ในระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส และก็ได้มีการฟื้นฟูในภายหลังหลายครั้งแต่สุดท้ายฝรั่งเศสก็ได้กลายเป็นสาธารณรัฐ , ในปี ค.ศ. 1871 ราชวงศ์จีนอันเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานก็ถูกล้มล้างและพระจักรพรรดิก็ถูกถอดถอน ซึ่งพระจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนก็คือ จักรพรรดิผู่อี๋ โดยการปฏิวัติของ ซุน ยัตเซ็น, สมเด็พระจักรพรรดิโกจงแห่งเกาหลี พระจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเกาหลีก็สูญเสียราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1910 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ายึดครองเกาหลีและให้พระราชวงศ์ญี่ปุ่นดำรงเป็นพระประมุขแห่งเกาหลีสืบต่อแทน และอีกแห่งหนึ่งนั้นก็คือมองโกเลีย หลังจากพระมหากษัตริย์ได้สวรรคตลง มองโกเลียก็ได้กลายเป็นสาธารณรัฐ

ในปี ค.ศ. 1893 ผู้นำของกระทรวงการค้าต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรฮาวาย ก็ได้ทำการยึดอำนาจจากสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรฮาวาย และได้ก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐจนเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1898, พระราชวงศ์โปรตุเกสก็ถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1910 สองปีหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าคาร์ลอสที่ 1 แห่งโปรตุเกส

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้เกิดการล้มล้างอำนาจของพระราชวงศ์ทั่วโลกครั้งใหญ่ เช่น ในจักรวรรดิรัสเซียภาวะความอดอยากและยากจนของประเทศจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้ทำให้เกิดการปฏิวัติยึดอำนาจพระราชวงศ์รัสเซีย และได้ก่อให้เกิดลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่เน้นการต้อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งภายหลังได้ทำการสังหารหมู่พระราชวงศ์รัสเซีย ส่วนประเทศที่ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน, จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี, และจักรวรรดิออตโตมาน ในระหว่างสงครามพระราชวงศ์บางแห่งก็มีแผนที่จะประกาศเอกราชและก่อตั้งราชวงศ์เช่น ราชรัฐฟินแลนด์ และที่ ลิทัวเนีย รวมทั้งรัฐในอารักขา และอาณานิคมบางแห่งของจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งทั้งพระมหากษัตริย์แห่งฟินแลนด์และลิทัวเนีย ก็ได้สละราชบัลลังก์ภายหลังการพ้ายแพ้ของเยอรมัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918

ในปี ค.ศ. 1939 ราชอาณาจักรอิตาลี ก็ได้เข้ายึดครองแอลเบเนียซึ่งได้ทำการล้มล้างพระราชวงศ์แอลเบเนีย และสถาปนาพระราชวงศ์อิตาลีขึ้นเป็นพระประมุขแห่งแอลเบเนีย ตลอดจนพระราชวงศ์ของยุโรปตะวันออก เช่นพระราชวงศ์บัลแกเรีย, ฮังการี และโรมาเนีย ก็ได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อต้านราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย, ฝ่ายสัมพันธมิตร และสหภาพโซเวียต ในขณะที่ฝ่ายอักษะกำลังพ้ายแพ้ในสงคราม แนวร่วมของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งใน ยูโกสลาเวีย และแอลเบเนีย ก็ได้ทำการยึดอำนาจและล้มล้างพระราชวงศ์ของทั้งสองประเทศลง ส่วนลัทธิคอมมิวนิสต์ในบัลแกเรีย, ฮังการี และโรมาเนีย ก็ได้ทำการล้มล้างพระราชวงศ์ของตนโดยกองกำลังอันแข็งแกร่งของสหภาพโซเวียต ที่มีทั้งอาวุธและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากในระหว่างการดำเนินไปของสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่พระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีก็ได้ทำการสลับข้างจากฝ่ายอักษะเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามจากความอนุเคราะห์ของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ถึงอย่างไรก็ตามพระราชวงศ์อิตาลีก็สิ้นสุดลงจากการลงประชามติของประชาชนชาวอิตาลีในปี ค.ศ. 1946 เช่นกัน แต่มีพระมหากษัตริย์แห่งเดียวในโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ถึงแม้จะพ้ายแพ้ในสงคราม แต่พระราชวงศ์ก็มิได้ถูกล้มล้างนั้นคือ สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะแห่งญี่ปุ่น ที่ถึงแม้จะเป็นผู้ให้การต่อต้านการทำสงครามแต่ก็เป็นผู้คุมอำนาจสำคัญของการทำศึกต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ยินยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมญี่ปุ่นแทนการถูกนำตัวไปขึ้นศาลโลกในฐานะอาชญากรสงครามและล้มล้างพระราชวงศ์ญี่ปุ่น แต่ทว่าตระกูลเจ้าชายต่างๆ ในระบบศักดินาได้ถูกทำลายแทน

ในราชอาณาจักรกรีซ สมเด็จพระราชาธิบดีและพระราชวงศ์ก็ถูกเนรเทศโดยกองทัพจากการรัฐประหาร ในปี ค.ศ. 1967 ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูในภายหลังแต่ก็ถูกล้มล้างอีกครั้งจากการลงประชามติของประชาชนในปี ค.ศ. 1974

ระบอบราชาธิปไตยในอินเดีย, เคนยา, แทนซาเนีย, แซมเบีย และซิมบับเว ถูกล้มลงไม่นานหลังจากได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในขณะที่เป็นรัฐสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติได้มีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นพระประมุขมาโดยตลอด

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565