พรรคการเมืองและชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี ของ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2562

ภาพรวม

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ กกต. สรุปยอดผู้สมัคร ส.ส. พบมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตจำนวน 11,128 คน จากพรรคการเมือง 80 พรรค และแบบบัญชีรายชื่อ 2,718 คนจาก 72 พรรค รวม 13,846 คน เทียบกับผู้สมัครในปี 2554 จำนวน 3,832 คน[22]

ที่ผ่านมานับแต่ปี 2544 พรรคการเมืองซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองของทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้ง (ได้แก่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย) ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตไม่ครบทุกเขตทั่วประเทศ[23] ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองใหญ่อันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร กติกาการเลือกตั้งใหม่ทำให้นักวิเคราะห์เห็นพ้องกันว่าจะเกิดพรรคการเมืองขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ รศ. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำนายว่าพรรคที่จะได้ที่นั่งเกิน 25 ที่นั่งน่าจะมีไม่เกิน 5 พรรค[24]

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้งออกประกาศ กกต. เรื่อง การแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วยพรรคการเมืองที่เสนอรายชื่อ จำนวน 44 พรรคการเมือง รวม 68 รายชื่อ

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งกฎหมายเปิดให้บุคคลที่มิใช่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรีได้ พรรคการเมืองหลายพรรคเตรียมเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการแบ่งพรรคการเมืองต่าง ๆ ออกเป็นสามฝ่ายใหญ่ ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ เช่น พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาชนปฏิรูป พรรคพลังชล เป็นต้น ฝ่ายหนึ่งคัดค้านพลเอกประยุทธ์ เช่น พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย เป็นต้น และอีกฝ่ายหนึ่งที่มีจุดยืนไม่ชัดเจน เช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น[25] วันที่ 10 มีนาคม 2562 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศว่าจะไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ฝ่ายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า ไม่ใช่แค่ไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่ต้องไม่เอาพรรคพลังประชารัฐด้วย เชื่อว่ามีบางพรรคที่บอกว่าไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่อยากจับมือพลังประชารัฐเพื่อชูตัวเองขึ้นเป็นนายกฯ[26]

ชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี

พรรคการเมืองชื่อประสบการณ์
พรรคกรีนพงศา ชูแนมอดีตหัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ อำเภอพะโต๊ะ
พรรคกลางชุมพล ครุฑแก้วอดีตหัวหน้าห้องปฏิบัติการพัฒนามาตรฐานและการทดสอบ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
พรรคกสิกรไทยทรรศชล พงษ์ภควัตผู้จัดการ บริษัท WAY Nature & Herb จำกัด
พรรคคนงานไทยธีระ เจียบุญหยกประธานสภาพลเมืองปัตตานี
พรรคคนธรรมดาแห่งประเทศไทยธนพร ศรียากูลอดีตนายกสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พรรคครูไทยเพื่อประชาชนปรีดา บุญเพลิงอดีตเลขาธิการคุรุสภา
พรรคคลองไทยสายัณห์ อินทรภักดิ์อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
พรรคความหวังใหม่ชิงชัย มงคลธรรมอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พรรคชาติไทยพัฒนากัญจนา ศิลปอาชาอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พรรคชาติพัฒนาสุวัจน์ ลิปตพัลลภอดีตรองนายกรัฐมนตรี
นายแพทย์ วรรณรัตน์ ชาญนุกูลอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เทวัญ ลิปตพัลลภอดีต ส.ส.
พรรคชาติพันธุ์ไทยพันตำรวจเอก โกวิทย์ จิรชนานนท์กรรมการโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ
พลศุภรักษ์ ศิริจันทรานนท์นายกเทศมนตรีตำบลเวียงยอง
ภราดล พรอำนวย
พรรคฐานรากไทยบวร ยสินทรประธานเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน
ว่าที่ร้อยตรี ญาณวุฒิ พรหมเดชากุลผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน
พรรคทางเลือกใหม่ราเชน ตระกูลเวียงแกนนำกปปส. จังหวัดนนทบุรี
พรรคไทยธรรมอโณทัย ดวงดารากรรมการมูลนิธิพระมหาสง่า วีรัปปัญญาโณ
ภูษิต ภูปภัสศิริอาจารย์พิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นายแพทย์ กิติกร วิชัยเรืองธรรม
พรรคไทยศรีวิไลย์มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์อดีตเลขาธิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งชาติ
ณัชพล สุพัฒนะกรรมการบริษัท บริษัท พิตบูล จำกัด
ภคอร จันทรคณากรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ
พรรคประชากรไทยสุมิตร สุนทรเวชอดีต ส.ส.
คณิศร สมมะลวนอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
พรรคประชาชาติวันมูหะมัดนอร์ มะทาอดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่องอดีตเลขาธิการ ศอ.บต.
ณหทัย ทิวไผ่งามอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคประชาธรรมไทยพิเชษฐ สถิรชวาลอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยวุฑ ตรึกตรองอดีตผู้บริหารสถาบันรัชต์ภาคย์
พรรคประชาธิปไตยใหม่สุรทิน พิจารณ์อดีตหัวหน้าพรรครักษ์แผ่นดินไทย
พรรคประชาธิปัตย์ร้อยตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอดีตนายกรัฐมนตรี
พรรคประชานิยมพันตำรวจเอก รวมนคร ทับทิมธงไชยซีอีโอ บริษัท ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด
พลตำรวจเอก ยงยุทธ เทพจำนงค์ผู้บัญชาการ สำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ปฐมฤกษ์ มณีเนตรอดีตผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา เขต 1
พรรคประชาภิวัฒน์สมเกียรติ ศรลัมพ์อดีต ส.ว.
นันทนา สงฆ์ประชาอดีต ส.ส.
ศาสตราจารย์ สุทธิพร จิตต์มิตรภาพอดีตเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
พรรคแผ่นดินธรรมศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท บรรจบ บรรณรุจิศาสตราจารย์พิเศษ ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรณ์ มีดีเลขาธิการสมาพันธ์และคณะกรรมการรณรงค์พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
พรรคพลเมืองไทยเอกพร รักความสุขอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
พรรคพลังชาติไทยพลตรี ทรงกลด ทิพย์รัตน์อดีตคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พรรคพลังท้องถิ่นไทชัชวาลย์ คงอุดมอดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
ศาสตราจารย์ โกวิทย์ พวงงามกรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พรรคพลังไทยดีสาธุ อนุโมทามิ
พรรคพลังไทยรักไทยพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยาอดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
คฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล
พรรคพลังประชาธิปไตยพูนพิพัฒน์ นิลรังษีนักธุรกิจเจ้าของโรงงาน
พรรคพลังประชารัฐพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี
พรรคพลังสังคมวิฑูรย์ ชลายนนาวินอดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้
พรรคพัฒนาประเทศไทยกัปตัน ศิลปิน หาญผดุงธรรมะกัปตันเครื่องบินแบบ B747-400 การบินไทย
พรรคเพื่อคนไทยวิทยา อินาลาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมกาเคม (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
พรรคเพื่อชีวิตใหม่กฤติวัฒน์ กลางชัยนายกสมาคมสมาพันธ์ข่าวอาสาแห่งประเทศไทย
พรรคเพื่อไทยคุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พรรคเพื่อธรรมนลินี ทวีสินอดีตผู้แทนการค้าไทย
พรรคภราดรภาพหม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุลอดีต ส.ส.
พรรคภาคีเครือข่ายไทยกฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์นายกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์พลังเครือข่ายประชาชน
พรรคภูมิใจไทยอนุทิน ชาญวีรกูลอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พรรคมหาชนอภิรัต ศิรินาวินอดีต ส.ส.
พาลินี งามพริ้งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัทผลิตชุดกีฬา คูลสปอร์ต​
สุปกิจ คชเสนีเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา
พรรคเศรษฐกิจใหม่มิ่งขวัญ แสงสุวรรณอดีตรองนายกรัฐมนตรี
พรรคสยามพัฒนาเอนก พันธุรัตน์อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนครราชสีมา
พรรคเสรีรวมไทยพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสอดีต ผบ.ตร.
พรรคอนาคตใหม่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจรองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท

กรณีเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้ดำเนินรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ช่องนาว 26 กล่าวว่า "8 กุมภา จะเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองระดับแผ่นดินไหว" และอีกตอนหนึ่งว่า "เปิด[ชื่อ]ออกมาเมื่อไร แผ่นดินไหวทางการเมืองทันที... ไม่ใช่คนตระกูลชินวัตร หรือวงศ์สวัสดิ์ จะเป็นชื่อที่อึกทึกครึกโครมทั้งแผ่นดิน"[27] ด้านหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ลงข่าวพาดหัวว่า "ประยุทธ์ยอมรับ เผื่อใจแล้ว! ไม่ได้เป็นนายกฯ"[28]

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พรรคไทยรักษาชาติยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้ที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงชื่อเดียว ด้านปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติให้สัมภาษณ์ว่า "พระองค์ท่านเองทรงมีพระเมตตาตอบรับและให้พรรคไทยรักษาชาติเสนอพระนามในบัญชีนายกฯ ของพรรค"[29][30] วันเดียวกัน ไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป ยื่นหนังสือต่อประธาน กกต. ขอให้พิจารณาการเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ว่าเข้าข่ายขัดระเบียบ กกต. เรื่องลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ เนื่องจากทรงเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอดีตว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมือง[31][32]

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

ต่อมา เมื่อเวลา 22.40 น. โดยประมาณ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยประกาศพระราชโองการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สรุปว่า การนำพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ แม้จะทรงกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมือง ไม่ว่าจะโดยทางใดก็ตาม เป็นการกระทำที่ขัดต่อโบราณราชประเพณี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของชาติ ถือเป็นการกระทำที่มิบังควรไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง[33]

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 กกต. ประกาศรับรองบัญชีรายชื่อทั้ง 45 พรรค 69 รายชื่อ โดยไม่ปรากฏชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ เพราะยังถือว่าเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ต้องอยู่เหนือการเมือง นอกจากนี้ กกต. จะหารือต่อไปว่าการกระทำดังกล่าวของพรรคไทยรักษาชาติเข้าข่ายต้องยุบพรรคหรือไม่[34]

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2562 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/830478 http://www.bbc.com/news/business-30218621 http://www.bbc.com/thai/thailand-43221557 http://www.ft.com/intl/cms/s/0/a01892a6-fe33-11e4-... http://www.khaosodenglish.com/news/2018/03/02/doze... http://www.khaosodenglish.com/politics/2018/11/30/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/02/18/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/02/27/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/03/26/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/03/28/...