เบื้องหลัง ของ การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก_2018_และ_2022

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ฟีฟ่าได้ยกเลิกนโยบายการเวียนเจ้าภาพฟุตบอลโลกตามทวีป โดยเปลี่ยนนโยบายเป็นว่า สมาชิกจากสมาพันธ์ของฟีฟ่าเดียวกันกับประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งที่ผ่านมาถือว่าขาดคุณสมบัติ ดังนั้น ทวีปแอฟริกาจึงขาดคุณสมบัติเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และทวีปอเมริกาใต้ขาดคุณสมบัติที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกทั้ง 2018 และ 2022[1] ปัจจัยอื่นในกระบวนการเลือกเจ้าภาพ รวมไปถึงจำนวนสนามกีฬาที่เหมาะสม และตำแหน่งที่ตั้งตลอดประเทศผู้เสนอตัว การลงคะแนนเสียงกระทำหลายรอบโดยที่ประเทศที่ได้รับคะแนนเสียงน้อยที่สุดในแต่ละรอบจะถูกคัดออกจนกระทั่งเหลือประเทศผู้เสนอตัวเพียงประเทศเดียวที่มีคะแนนเสียงข้างมาก

นโยบายการเวียนเจ้าภาพฟุตบอลโลก

สมาพันธ์ฟุตบอลของฟีฟ่า

หลังจากการเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2006 ฟีฟ่าได้ตัดสินใจออกนโยบายสำหรับกำหนดเจ้าภาพจัดการแข่งขันในอนาคต สมาพันธ์ฟุตบอลโลกทั้งหก ซึ่งมักมีขอบเขตครอบคลุมแต่ละทวีป จะผลัดเวียนกันเสนอให้ประเทศสมาชิกหนึ่งเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ระบบดังกล่าวถูกใช้เฉพาะในการเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2010 (แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ) และฟุตบอลโลก 2014 (บราซิลเป็นเจ้าภาพ) ซึ่งเปิดโอกาสให้เฉพาะสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (CAF) และสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (CONMEBOL) ตามลำดับ

เดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ระบบการเวียนเจ้าภาพได้นำมาสู่การทบทวน และได้มีการเสนอระบบใหม่ซึ่งเสนอให้ประเทศจากสมาพันธ์ฟุตบอลที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งล่าสุด[2] ข้อเสนอดังกล่าวได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ในซูริก สวิสเซอร์แลนด์ โดยคณะผู้บริหารฟีฟ่า ภายใต้นโยบายดังกล่าว ประเทศที่มีคุณสมบัติจะต้องมาจากทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป หรือโอเชียเนีย โดยทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาใต้ขาดคุณสมบัติ[3] เช่นเดียวกัน ไม่มีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้สามารถเสนอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 ได้ และประเทศจากสมาพันธ์ฟุตบอลเดียวกับประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 จะไม่ได้รับการพิจารณาในการเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 เนื่องจากรัสเซียได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 ประเทศในทวีปยุโรปจึงขาดคุณสมบัติที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 เช่นเดียวกัน

ใกล้เคียง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ การเสียชีวิตของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ การเสียชีวิตของภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล การเสียดินแดนของไทย การเสด็จออกมหาสมาคมในรัชกาลที่ 9 การเสียชีวิตของไมเคิล แจ็กสัน การเสริมสร้างกองทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้