กฎในศิลปะและวัฒนธรรม ของ การเหมารวม

การเหมารวมปรากฏโดยทั่วไปในระบบการสื่อทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ในรูปแบบของการสร้าง Stock character (Stock character) ตัวละครประเภทนี้พบในงานเขียนบทละครของเบอร์โทลท์ เบรชท์, ดาริโอ โฟ และ ฌัก เลอก็อกผู้สร้างนักแสดงการเหมารวมเพื่อเพิ่มความเป็นนาฏกรรมให้มากยิ่งขึ้น ในละครกลอนสด[12] (Commedia dell'arte) ก็เช่นกัน การเหมารวมที่สร้างภาพพจน์ที่เป็นที่เข้าใจโดยผู้รับ/ผู้ชมได้ทันทีเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการใช้ในการโฆษณา และ ละครหรรษา[13] (Situation comedy) การเหมารวมเหล่านี้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่นในปัจจุบันตัวละครเชิงการเหมารวมเพียงสองสามตัวเท่านั้นในงาน “The Pilgrim's Progress” (The Pilgrim's Progress) โดย จอห์น บันยันที่ยังเป็นที่รู้จักและเข้าใจโดยผู้อ่าน

ทางด้านวรรณกรรม และ ศิลปะ การเหมารวมคือตัวละครหรือสถานการณ์ที่ “ดาษดื่น” หรือทำนายได้ ตลอดมาในประวัติศาสตร์นักเล่าเรื่อง (Storyteller) มักจะเล่าเรื่องที่มีพื้นฐานมาจากตัวละครหรือสถานการณ์เชิงการเหมารวมเพื่อเป็นเครื่องสร้างความสัมพันธ์อันรวดเร็วกับผู้ฟัง บางครั้งการเหมารวมบางอย่างก็จะเป็นการเหมารวมที่ซับซ้อนและชั้นสูง (complex and sophisticated) เช่นในตัวละครไชล็อกในบทละคร “เวนิสวาณิช” โดยวิลเลียม เชกสเปียร์ แต่ก็กล่าวได้ว่าเมื่อการเหมารวมกลายเป็นการเหมารวมที่ซับซ้อนและชั้นสูงก็อาจจะทำให้ยุติความเป็นการเหมารวม โดยตรง เพราะความที่กลายมามีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองแทนที่จะเป็นลักษณะดาษดื่นโดยทั่วไป แม้ว่าตัวละครไชล็อกยังคงถือว่าเป็นตัวละครที่ถือว่าไม่ถูกต้องทางการเมือง (politically unstable) เพราะเป็นตัวละครที่สร้างภาพพจน์แบบการเหมารวมของชาวยิว แต่หัวเรื่องของการแสดงการเยาะเย้ยเดียดฉันท์ (prejudice) ชาวยิวในสมัยของเชกสเปียร์ และรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับไชล็อกเป็นการยกฐานะตัวละครขึ้นจากความเป็นการเหมารวมโดยทั่วไปมาเป็นตัวละครที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่ควรค่าแก่การแสดงในสมัยปัจจุบัน ลักษณะของตัวละครที่อาจจะถือว่าเป็นลักษณะดาษดื่นไม่จำเป็นต้องเป็นตัวละครที่เป็นการเหมารวมเสมอไป

แม้ว่ารากศัพท์ระหว่าง “การเหมารวม” และ “cliché” จะใกล้เคียงกันแต่คำสองคำนี้จะไม่ใช้สลับกันในเชิงวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่นการใช้สำนวนจำเจดื่นจะได้รับการวิจารณ์ในบรรยายเรื่องวิทยา (narratology) ขณะที่ การจัดประเภท (genre) และการจัดกลุ่ม (categorization) จะหมายถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มที่เป็นที่รู้จัก การบรรยายสถานการณ์และตัวละครในเรื่องว่ามี “ลักษณะทั่วไป” (typical) ก็เท่ากับว่าเหมาะกับประเภทใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ถ้าผู้เล่าเรื่องใช้ “cliche” ในการเล่าเรื่องก็เท่ากับเป็นการใช้ลักษณะที่ผิวเผิน ไม่มีความซับซ้อน และทำให้เรื่องที่เล่าขาดความเป็นขาดความเป็นต้นฉบับ การวิจารณ์การหลบหนีที่ดูท่าทีไม่น่าจะเป็นได้ของเจมส์ บอนด์โดยเอียน เฟลมมิ่งว่าเป็น “การเหมารวม” เป็นสิ่งที่ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจ แต่จะเป็นการเหมาะสมกว่าถ้ากล่าวการหลบหนีที่ว่าเป็นลักษณะ “ดาษดื่น” เพราะเป็นการหลบหนีที่ใช้บ่อยและเลียนแบบกันไปจนเกินไป การเล่าเรื่องมักจะขึ้นอยู่กับการใช้ “ลักษณะทั่วไป” (typical) เพื่อให้ผู้อ่าน/ผู้ชมรู้จักหรือเข้าใจได้ทันที

ซิทคอมเกี่ยวกัยวัยรุ่น “Saved By The Bell” ประกอบด้วยStock characterต่าง ๆ ในกลุ่มเด็กวัยรุ่นเช่นตัวตลก (class clown), ดาว (jock), เนิร์ด (nerd), เชียร์ลีดเดอร์, สตรีนิยม (feminist) และ สาวแฟชั่น นอกจากนั้นก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่านอกจากจะสร้างตัวละครเป็นเชิงการเหมารวมแล้วซิทคอมนี้ยังสร้างการเหมารวมของสถาบันไฮสกูลเองด้วย การเหมารวมไฮสกูลทางโทรทัศน์มักจะเป็น “ลักษณะทั่วไป” ของโรงเรียนอเมริกันที่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอเมริกันฟุตบอล, แฟชั่น, ความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นหญิงชาย และมักจะไม่กล่าวถึงการศึกษา นอกจากนั้นแล้วกรีนวอลด์และบานาจีในนิตยสาร “Psychological Review” ก็ยังอธิบายว่าในภาพยนตร์หรือสื่ออื่น ๆ จะมีการใช้ ลักษณะเทิดทูน (Halo effect) เช่นในการสรุปอย่างกว้าง ๆ ว่าหญิงและชายที่มีรูปร่างหน้าตาดีจะเป็นผู้ที่มีความสุข, มีความแข็งแรง และมีบุคลิกดีกว่าผู้อื่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเหมารวม http://www.media-awareness.ca/english/special_init... http://i.abcnews.com/2020/Story?id=2449185&page=3 http://www.blackwell-synergy.com/doi/abs/10.1111/1... http://school.discovery.com/lessonplans/programs/s... http://www.etymonline.com/index.php?term=stereotyp... http://books.google.com/books?id=--81jNzUYQsC&pg=P... http://books.google.com/books?id=B14TMHRtYBcC&prin... http://books.google.com/books?id=SVoAXh-dNuYC&pg=P... http://books.google.com/books?vid=ISBN0766179842&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN0877791325&i...