สาเหตุ ของ การเหมารวม

นักสังคมวิทยาเชื่อว่าการจัดกลุ่มทางจิตวิทยา (หรือการประทับตรา) เป็นสิ่งจำเป็นและสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทัศนคติหนึ่งในการทำความเข้าใจในกระบวนการสร้างการเหมารวม คือการเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “กลุ่มใน” (Ingroup) และ “กลุ่มนอก” (Outgroup) ผู้อยู่ “กลุ่มใน” จะถือว่าเป็นผู้ปกติและมีคุณสมบัติเหนือกว่า และโดยทั่วไปแล้วจะเป็นกลุ่มที่มีผู้ที่มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของหรือมีผู้ต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ส่วน “กลุ่มนอก” หมายความง่าย ๆ ว่าเป็นผู้คนที่อยู่นอกกลุ่ม ที่มักจะเห็นกันว่าด้อยกว่าผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของ “กลุ่มใน”

อีกทัศนะหนึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และ โดยมิได้จงใจ การสร้างการเหมารวมโดยอัตโนมัติหรือจากจิตใต้สำนึกเป็นการกระทำที่ทำกันทุกคนโดยไม่ได้สังเกต กระบวนการนี้มักจะตามมาจากการสังเกตจากสิ่งแวดล้อมโดยการรวบรวมข้อมูลและการแก้ไขข้อมูลก่อนที่จะทำการสรุปเป็นการเหมารวม การสร้างการเหมารวมโดยอัตโนมัติเป็นผลมาจากการสังเกตพฤติกรรมจากสิ่งแวดล้อมที่กลายมาเป็นความคิดที่พัฒนาไปเป็นการเหมารวมของจิตใต้สำนึก

ทัศนะที่สามในการทำความเข้าใจความคิดเกี่ยวกับการเหมารวมคือการจัดเป็นประเภททั่วไป และประเภทรอง การเหมารวมประกอบด้วยระบบระดับชั้นที่ประกอบด้วยกลุ่มทั่วไปและกลุ่มเฉพาะตามลำดับ กลุ่มทั่วไปอาจจะหมายถึงกลุ่มกว้าง ๆ ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ขณะที่กลุ่มรองจะเป็นหนึ่งในกลุ่มย่อยภายในกลุ่มทั่วไป กลุ่มรองจะเป็นกลุ่มที่เฉพาะเจาะจง และทัศนคติที่มีต่อกลุ่มก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ทัศนคติของแต่ละมุมมอง

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการสร้างการเหมารวมคือการที่จะเข้าใจความซับซ้อนของระบบสังคมทั้งหมดเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แม้ว่าการเหมารวมจะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกตรงต่อความจริง แต่เป็นสิ่งที่สะดวกต่อสมอง การจัดกลุ่มเป็นความสามารถอันสำคัญของมนุษย์เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้เราเข้าใจ สามารถทำนายพฤติกรรมของสังคมได้ และจัดระบบต่าง ๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ เมื่อจัดเข้าเป็นกลุ่ม ๆ แล้วเราก็มักจะหลีกเลี่ยงการวิจัยข้อมูลใหม่หรือข้อมูลที่เข้ามาโดยไม่ได้คาดล่วงหน้าของบุคคลแต่ละคน การจัดลักษณะที่เป็นของกลุ่มทั่วไปให้แก่สมาชิกของกลุ่มเป็นโครงสร้างทางความคิดที่ช่วยในการประหยัดเวลาในการที่จะเข้าใจสังคม และทำให้สามารถทำให้ทำนายพฤติกรรมของสังคมได้ง่ายขึ้น

โดยทั่วไปแล้วมนุษย์ส่วนใหญ่มักจะใช้การเหมารวมเพื่อสนองความต้องการทางจิตวิทยาที่จะต้องสร้างความรู้สึกดีให้แก่ตนเอง (Self) การเหมารวมพิทักษ์อัตตาจากความกังวลและส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง (self-esteem) การจัดตนเองให้อยู่ในกลุ่มที่ถือกันว่าเป็นกลุ่มมาตรฐานหรือกลุ่มปกติ และจัดผู้อื่นให้อยู่ในกลุ่มที่ถือว่าด้อยกว่าหรือผิดปกติทำให้ผู้นั้นมีความรู้สึกว่าตนเองมีค่า (sense of self worth)

อิทธิพลจากประสบการณ์เมื่อยังเป็นเด็กเป็นปัจจัยอันมีอิทธิพลและอันซับซ้อนต่อการพัฒนาการเหมารวม แม้ว่าการเหมารวมจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้แต่มักจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กตอนต้นภายใต้อิทธิพลของบิดามารดา, ครูบาอาจารย์, เพื่อน และ มีเดีย เมื่อฝังใจแล้วก็จะกลายมาเป็นความเชื่อของตนเองต่อมา

ทฤษฎีหลายททฤษฎีทางวิทยาศาสตร์พัฒนามาจากการศึกษาทางสังคมวิทยาเกี่ยวกับการสร้างการเหมารวมและการสร้างอคติ (prejudice) การศึกษาในสมัยแรก ๆ เชื่อกันว่าหรือเสนอว่าการเหมารวมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในหมู่ผู้มีระเบียบวินัย/เคร่งครัด/ชอบใช้อำนาจ (authoritarian) และขาดความยืดหยุ่น เก็บกด นักสังคมวิทยาสรุปว่ามีสาเหตุมาจากความขัดแย้ง, การมาจากครอบครัวที่ได้รับความกดดันจากบิดามารดา และ ความขาดการพัฒนาทางสมองและทางอารมณ์อันเพียงพอ แต่ในปัจจุบันความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ล้าสมัย นักวิทยาศาสตร์และนักทฤษฎีในปัจจุบันสรุปว่าการเหมารวมไม่แต่จะเกิดขึ้นเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างไม่จบไม่สิ้นในกระบวนการคิดของมนุษย์

สถานภาพแวดล้อมบางอย่างก็อาจจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างการเหมารวมของแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่นงานศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าสตรีสร้างการเหมารวมในทางลบมากกว่าชาย และสตรีจะอ่านลักษณะรูปร่างหน้าตามากกว่าชาย นักทฤษฎีบางท่านค้านและสนับสนุนความเชื่อมโยงของความคิด/ประสบการณ์ และเชื่อว่าความคิดเชิงลำเอียงต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็เป็นการเพียงพอที่จะสร้างทัศนคติต่อบุคคลนั้น นักทฤษฎีท่านอื่นกล่าวว่าอย่างน้อยที่สุดก็จะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างสถานะทางจิตใจและพฤติกรรมในการที่จะสร้างทัศนคติหรือสร้างการเหมารวมขึ้นมาได้ การสร้างการเหมารวมเป็นแต่เพียงทฤษฎีที่มิได้มีรากฐานมาจากเหตุการณ์แวดล้อมที่พิสูจน์ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการเหมารวมคือการสรุปอย่างไม่ถูกต้องของลักษณะภายในจากลักษณะรูปร่างหน้าตาที่เห็นภายนอก คำอธิบายของพฤติกรรมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดจากภายใน (ที่รวมทั้งวัตถุประสงค์, ความรู้สึก, บุคลิก, ลักษณะเฉพาะตัว, เหตุผล, ค่านิยม และ ความรู้สึกชั่วแล่น (impulses)) มิใช่มาจากลักษณะรูปร่างหน้าตาที่มองเห็นจากภายนอก

นักสังคมวิทยาชาร์ลส์ อี. เฮิร์สท์แห่งวิทยาลัยวูสเตอร์กล่าวว่า “สาเหตุหนึ่งของการเหมารวมมาจากการขาดความสัมพันธ์โดยตรง หรือ ความรู้ที่เป็นชิ้นเป็นอันเกี่ยวกับบุคคลหรือกลุ่มชาติพันธ์ การขาดความสัมพันธ์โดยตรงทำให้ผู้เหมารวมจัดรวมบุคคลที่ไม่รู้จักดีเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มบุคคลที่ขาดความเป็นเอกบุคคล”[6] สาขาการศึกษาแต่ละสาขาก็มีทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาของการเหมารวมที่แตกต่างกันออกไป: นักจิตวิทยาจะเน้นประสบการณ์ของบุคคลที่มีต่อกลุ่มบุคคล, แบบแผนการสื่อสารติดต่อกับกลุ่มบุคคล และ ความขัดแย้งภายในกลุ่ม ส่วนนักสังคมวิทยาจะมองในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และตำแหน่งของแต่ละกลุ่มในโครงสร้างของสังคม นักมนุษยนิยมเชิงวิจัยจิตวิทยา (Psychoanalytically-oriented humanists) เช่นแซนเดอร์ กิลแมนก็จะมีความเห็นว่าการเหมารวม “ตามความหมาย” เป็นสัญลักษณ์ (representation) ของกลุ่มที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงแต่เป็นความคิด (projection) ของกลุ่มที่มีต่อกัน

การเหมารวมเป็นสัญลักษณ์ (representation) ของกลุ่มที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการให้คำอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างกลุ่ม หรือระบบการสร้างเหตุผล (system justification) ฐานะทางสังคม หรือ ตำแหน่งของกลุ่มเป็นเครื่องแสดงเนื้อหาของการเหมารวม มิใช่ลักษณะของบุคคลแต่ละคน หรือของสมาชิกแต่ละคนของกลุ่มที่แท้จริง[7]กลุ่มที่มีสิทธิทางสังคมและทางเศรษฐกิจน้อยกว่ากลุ่มอื่นจะเป็นกลุ่มที่ได้รับการเหมารวมที่เป็นการสนับสนุนเหตุผลถึงสาเหตุที่เป็นกลุ่มที่ถือกันว่าด้อยกว่าผู้อื่น เช่นเป็นกลุ่มที่มีผู้มีงานทำน้อยกว่ากลุ่มอื่น สาเหตุที่สมาชิกในกลุ่มที่ถือว่าเป็นกลุ่มที่ด้อยกว่าประสบกับความยากลำบากในการหางานทำอาจจะอาจจะเกิดจากความลำเอียงที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม, จากการถือผิว หรือจากปัจจัยทางอำนาจทางสังคมที่เกี่ยวข้อง แต่กระนั้นสมาชิกในกลุ่มนี้ก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ที่ 'ขาดความกระตือรือร้น' เช่นในความเห็นที่ว่า 'ถ้าจะพยายามหาจริง ๆ ก็จะหาได้', 'ขาดความมีสติปัญญา' เช่นในความเห็นที่ว่า 'คงฉลาดไม่พอที่จะทำงานได้' และ 'เกียจคร้าน' เช่นในความเห็นที่ว่า 'คงจะชอบของเขากินแทนที่จะทำงาน'

การเหมารวมจะเน้นความความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างเกินเลยจากความเป็นจริง นอกจากนั้นในการจัดลำดับของกลุ่มแต่ละกลุ่ม ก็ยังเป็นเครื่องมือในการลดลักษณะความคล้ายคลึงกันระหว่างกลุ่ม และจะเพิ่มการมองหาข้อแตกต่าง และเน้นความแตกต่างยิ่งขึ้นไปอีก[8]กรณีที่ว่านี้ดูเหมือนว่ากลุ่มที่ดูจะแตกต่างกันมากอันที่จริงแล้วเป็นกลุ่มที่คล้ายคลึงกันมากกว่าที่จะแตกต่าง ตัวอย่างเช่นในบรรดาชาวแอฟริกันอเมริกัน ที่ความเป็นพลเมืองอเมริกันจะเด่นชัดกว่าความแตกต่างของผิวซึ่งหมายความว่าชาวแอฟริกันอเมริกันมีความเป็นชาวอเมริกันมากกว่าที่จะเป็นชาวแอฟริกัน[9]แต่กระนั้นภายในวัฒนธรรมอเมริกันชาวอเมริกันผิวดำ และชาวอเมริกันผิวขาวก็ยิ่งมองเห็นกันว่าเป็นชนสองกลุ่มที่แทบจะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเหมารวม http://www.media-awareness.ca/english/special_init... http://i.abcnews.com/2020/Story?id=2449185&page=3 http://www.blackwell-synergy.com/doi/abs/10.1111/1... http://school.discovery.com/lessonplans/programs/s... http://www.etymonline.com/index.php?term=stereotyp... http://books.google.com/books?id=--81jNzUYQsC&pg=P... http://books.google.com/books?id=B14TMHRtYBcC&prin... http://books.google.com/books?id=SVoAXh-dNuYC&pg=P... http://books.google.com/books?vid=ISBN0766179842&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN0877791325&i...