ประวัติ ของ การแต่งกายของพม่า

ยุคก่อนอาณานิคมอังกฤษ

ขุนนางและพระมหากษัตริย์สวมเครื่องแต่งกายในพระราชพิธีแรกนาขวัญกษัตริย์และนางสนมขณะปรึกษากับข้าราชการในพระราชวัง ในภาพวาดศิลปะพม่า

ในยุคที่พม่าก่อนจะตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีกฎระเบียบการแต่งกาย ที่เรียกว่า ยาซาไกง์ กำหนดวิถีชีวิตและการบริโภคสำหรับชาวพม่าในสมัยราชวงศ์โกนบอง ทุกอย่างตั้งแต่รูปแบบของที่พักอาศัยไปจนถึงเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสถานะทางสังคมของคนๆนั้น กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับพิธีศพและโลงศพ รวมไปถึงการใช้รูปแบบการพูดต่างๆตามลำดับสถานภาพทางสังคม[1][2][3] โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎระเบียบการแต่งกายในเมืองหลวงของราชวงศ์เป็นสิ่งที่เข้มงวดมากและมีความซับซ้อนมากที่สุด[4] กฎระเบียบเกี่ยวกับการแต่งกายและการตกแต่งได้รับการสังเกตุอย่างรอบคอบ เครื่องหมายนกยูง ถูกสงวนไว้อย่างเคร่งครัดสำหรับราชวงศ์ เสื้อคลุมยาวประกบตัวถึงสะโพกอย่าง ไทง์มะเตน และทับทิมถูกสงวนไว้ให้ใส่สำหรับเจ้าหน้าที่ในราชสำนัก[5] รองเท้ากำมะหยี่ถูกสวมใส่โดยราชวงศ์เท่านั้น[6] กำไลข้อเท้าทองคำถูกสวมใส่โดยเฉพาะสมาชิกเด็กในราชวงศ์[1] ผ้าไหม ผ้าตาดเงิน ผ้าตาดทอง และสัญลักษณ์รูปสัตว์มงคลได้รับอนุญาตให้สวมใส่โดยสมาชิกของราชวงศ์และภรรยาของขุนนางในราชสำนักเท่านั้น[1] การประดับด้วยอัญมณีและหินมีค่าก็มีการควบคุมด้วยเช่นเดียวกัน การใช้ ฮินตะปะดา (ဟင်္သပဒါး) สีย้อมสีชาดที่สกัดจากซินนาบาร์ ก็มีการควบคุม[1]

  • การแต่งกายของราชสำนักพม่า
  • การแต่งกายของสตรีในยุคราชวงศ์
  • การแต่งกายของผู้ชายในยุคราชวงศ์

ยุคอาณานิคมอังกฤษ

หญิงสาวชาวพม่าที่เมืองมัณฑะเลย์ใส่ชุดยาวลากพื้นที่เรียกว่า ทะเมียน

ในช่วงยุคอาณานิคมของอังกฤษ เหล่าชาตินิยมชาวพม่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเสื้อผ้าแบบดั้งเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยอโลนจี (ယောလုံချည်) รูปแบบหนึ่งของโลนจี จากแคว้นยอ และ ปินนีไตปอนอินจี (ပင်နီတိုက်ပုံအင်္ကျီ) เสื้อคลุมคอจีนสีเหลืองอมน้ำตาล แสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ที่ให้ความรู้สึกต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมและความเชื่อมั่นในชาติในการเรียกร้องเอกราช ช่วงทศวรรษที่ 1920 ที่การขัดแย้งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น[7] การสวมเสื้อผ้า "แบบดั้งเดิม" ถูกมองว่าเป็นรูปแบบของการต่อต้านเชิงตั้งรับในหมู่ชาวพม่า[7] โสร่งแบบผู้หญิง ทะเมียน หรือทะบี (ထဘီ) สั้นลงไม่ยาวไปถึงเท้าถึงเพียงแต่ข้อเท้า และความยาวของผ้าซิ่นช่วงบนลดลงเปิดเผยรอบเอวมากขึ้น[8] ช่วงนี้ยังได้เห็นการนิยมเสื้อมัสลินสำหรับสตรี เผยให้เห็นชุดภายในของสตรีที่เรียกว่า ซาบอลี (ဇာဘော်လီ) ในช่วงการปกครองของอังกฤษอิทธิพลแฟชั่นทรงผมและการแต่งกายได้ส่งผลต่อพม่า การตัดผมทรงสั้นที่เรียกว่า โบเก (ဗိုလ်ကေ) ถูกแทนที่การไว้ผมยาวซึ่งเป็นบรรทัดฐานในหมู่คนพม่ารุ่นเก่า[8] ในทำนองเดียวกันผู้หญิงเริ่มไว้ทรงผมเช่น อะเมาะ (အမောက်) ประกอบด้วยมวยผมแบบเรียบง่ายขดอยู่ด้านบนศรีษะ แทนการไว้มวยผมแบบดั้งเดิม (ဆံထုံး)[8]

ยุคสมัยใหม่

นักดนตรีดีดซองเกาะ สวมเสื้อแบบดั้งเดิม อะเชะ ไทง์มะเตน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

การแต่งงานแบบไทย การแต่งกายของพม่า การแต่งงาน การแตกตัวด้วยแสง การแตกกระจายออก การแต่งงานโดยฉันทะ การแตกตัวเป็นไอออน การแต่งงานต่างฐานันดร การแต่งตั้งให้อัครสาวกสิบสองคน การแตกเป็นเสี่ยง