การแทรกแซงทางเศรษฐกิจ
การแทรกแซงทางเศรษฐกิจ

การแทรกแซงทางเศรษฐกิจ

การแทรกแซงทางเศรษฐกิจ (อังกฤษ: economic interventionism) หรือบ้างเรียก การแทรกแซงของรัฐ เป็นจุดยืนนโยบายเศรษฐกิจซึ่งสนับสนุนให้รัฐบาลแทรกแซงในกระบวนการตลาดเพื่อแก้ไขความล้มเหลวของตลาดและส่งเสริมสวัสดิการโดยทั่วไปของประชาชน การแทรกแซงทางเศรษฐกิจเป็นการกระทำของรัฐบาลหรือสถาบันระหว่างประเทศในเศรษฐกิจแบบตลาดเพื่อพยายามให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกินกว่าการวางระเบียบพื้นฐานซึ่งกลฉ้อฉล, การบังคับใช้สัญญา และการจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ[1][2] การแทรกแซงทางเศรษฐกิจอาจมีเป้าหมายเพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองหรือเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มการจ้างงาน เพิ่มค่าจ้าง เพิ่มหรือลดราคา ส่งเสริมความเสมอภาคทางรายได้ จัดการปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ย เพิ่มกำไรหรือแก้ไขความล้มเหลวของตลาดคำว่า "แทรกแซง" มักใช้โดยผู้สนับสนุนระบบปล่อยให้ทำไปและทุนนิยมแบบตลาดเสรี[3][4] และสันนิษฐานว่าในระดับปรัชญา รัฐและเศรษฐกิจในตัวควรแยกออกจากกัน และการกระทำของรัฐบาลนั้นอยู่ภายนอกเศรษฐกิจ[5] ประเทศเศรษฐกิจแบบตลาดทุนนิยมที่มีการแทรกแซงทางเศรษฐกิจสูงมักเรียกว่าเป็นเศรษฐกิจแบบผสม[6]

ใกล้เคียง

การแท้ง การแทรกแซงของสหรัฐในชิลี การแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐของรัสเซีย พ.ศ. 2559 การแทรกแซงทางทหารในลิเบีย พ.ศ. 2554 การแทรกแซงทางเศรษฐกิจ การแทนความรู้ การแทรกสอด การแทนจำนวนมีเครื่องหมาย การแทรกแซงสงครามกลางเมืองรัสเซียโดยฝ่ายสัมพันธมิตร การแทรกสัญญาณข้าม