องศาเซลเซียส ของ การแปลงหน่วยอุณหภูมิ

แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้คิดค้นหน่วยวัดองศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (อังกฤษ:Celcius, สัญลักษณ์: °C) ตั้งตามชื่อของนักดาราศาสตร์ชาวสวีเดน นายแอนเดอร์ เซลเซียส (Anders Celsius) เป็นคนแรกที่เสนอระบบที่ใกล้เคียงกับระบบนี้ (องศาเซนติเกรด) นี้ ในปี พ.ศ. 2285 (ค.ศ. 1742) กำหนดอุณหภูมิจุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 องศา และจุดเดือดของน้ำคือ 100 องศาเซลเซียส ที่ระดับความดันบรรยากาศมาตรฐาน[1] ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศไลบีเรีย รวมถึงประเทศที่ใช้บริการทางอุตุนิยมวิทยา และ ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรฯ เท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่องศาเซลเซียสใช้ในวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลกอย่างเป็นสากล[2]

จากองศาเซลเซียสแปลงให้เป็นองศาเซลเซียส
องศาฟาเรนไฮต์[°F] = [°C] × ​9⁄5 + 32[°C] = ([°F] − 32) × ​5⁄9
เคลวิน[K] = [°C] + 273.15[°C] = [K] − 273.15
องศาแรงคิน[°R] = ([°C] + 273.15) × ​9⁄5[°C] = ([°R] − 491.67) × ​5⁄9
องศาเดลิเซิล[°De] = (100 − [°C]) × ​3⁄2[°C] = 100 − [°De] × ​2⁄3
องศานิวตัน[°N] = [°C] × ​33⁄100[°C] = [°N] × ​100⁄33
องศาโรเมอร์[°Ré] = [°C] × ​4⁄5[°C] = [°Ré] × ​5⁄4
องศาเรอเมอร์[°Rø] = [°C] × ​21⁄40 + 7.5[°C] = ([°Rø] − 7.5) × ​40⁄21

ใกล้เคียง

การแปลสิ่งเร้าผิด การแปลการพินิจภายในผิด การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง