เคลวิน ของ การแปลงหน่วยอุณหภูมิ

ลอร์ดเคลวิน ผู้คิดค้นมาตรวัดอุณหภูมิเคลวิน ซึ่งกลายเป็นระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (SI Unit) ในเวลาต่อมา

เคลวิน (อังกฤษ: kelvin, สัญลักษณ์: K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง และเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในเจ็ดของระบบเอสไอ นิยามให้เท่ากับ 1/273.16 เท่าของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกของจุดสามสถานะของน้ำ เคลวินตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแต่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ วิลเลียม ทอมสัน บารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน (William Thomson, 1st Baron Kelvin) เคลวิน เป็นหน่วยของหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง ที่ลอร์เควิน ได้พัฒนาคิดสเกลขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K) อุณหภูมิเพิ่ม 1 K มีค่าเท่ากับ 1°C

จากเคลวินแปลงให้เป็นเคลวิน
องศาเซลเซียส[°C] = [K] − 273.15[K] = [°C] + 273.15
องศาฟาเรนไฮต์[°F] = [K] × ​9⁄5 − 459.67[K] = ([°F] + 459.67) × ​5⁄9
องศาแรงคิน[°R] = [K] × ​9⁄5[K] = [°R] × ​5⁄9
องศาเดลิเซิล[°De] = (373.15 − [K]) × ​3⁄2[K] = 373.15 − [°De] × ​2⁄3
องศานิวตัน[°N] = ([K] − 273.15) × ​33⁄100[K] = [°N] × ​100⁄33 + 273.15
องศาโรเมอร์[°Ré] = ([K] − 273.15) × ​4⁄5[K] = [°Ré] × ​5⁄4 + 273.15
องศาเรอเมอร์[°Rø] = ([K] − 273.15) × ​21⁄40 + 7.5[K] = ([°Rø] − 7.5) × ​40⁄21 + 273.15

ใกล้เคียง

การแปลสิ่งเร้าผิด การแปลการพินิจภายในผิด การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง