รายละเอียดอื่นๆ ของ การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง

การแปลงโคไซน์ ไม่ต่อเนื่องนั้นถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1974 [1] โดยเวกเตอร์ฐาน DCT-2 ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการประมาณไอเก้นเวกเตอร์ ของเมทริกซ์โทปลิทซ์ (Toeplitz) โดยฐาน DCT นี้ จะมีค่าเข้าใกล้(asymptotically) ไอเก้นเวกเตอร์จริง(หรือ เวกเตอร์ฐาน Karhunen-Loève) ของเมทริกซ์โควาเรียนซ์ (covariance matrix) ของ first-order stationary Markov process เมื่อค่าสัมประสิทธิ์โครีเลชัน(correlation coefficient) มีค่าเข้าใกล้ 1 ดังนั้น ฐาน DCT นี้จึงเหมาะที่จะใช้แทนไอเก้นเวกเตอร์ซึ่งเป็นฐานที่ดีที่สุดในการบีบอัดสัญญาณประเภทนี้

ความสัมพันธ์ของ DCT ทั้ง 8 ชนิด

เช่นเดียวกับการแปลงฟูริเยร์ไม่ต่อเนื่อง(DFT) DCT นี้ก็เป็นการวิเคราะห์ฮาร์โมนิก เพียงแต่ฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นเป็นจำนวนจริง [2]ได้แสดงถึงชุดที่สมบูรณ์ทั้ง 8 ของ DCT และ DST โดยการวิเคราห์ฮาร์โมนิกที่เป็นจำนวนเต็ม(integer harmonics) และ ครึ่งจำนวนเต็ม(half integer harmonics)ของสัญญาณ

ในลักษณะเดียวกับที่ เมทริกซ์เซอร์คิวแลนท์(circulant matrix) ซึ่งมี เมทริกซ์ DFT เป็นไอเก้น เมทริกซ์ที่มีเมตริกซ์ DCT เป็นไอเก้นนั้นจะอยู่ในรูปของ เมทริกซ์โทปลิทซ์(Toeplitz matrix)+เมทริกซ์เฮงเคิล(Hankel matrix)(หรือ ใกล้เคียง)และคูณด้วยค่าสเกล ซึ่งแทนการกระทำ คอนโวลูชันแบบสมมาตร(symmetric convolution) จาก การคอนโวลูชัน และ เงื่อนไขความสมมาตรที่ขอบ (ในลักษณะเดียวกับ เซอร์คิวแลนท์เมทริกซ์ แทนการกระทำคอนโวลูชันเป็นวงรอบ(circular convolution)) ค่าสเกลนั้นใช้ในการจัดเมทริกซ์ให้อยู่ในรูปสมมาตร เพื่อจะได้ไอเก้นเวกเตอร์ ที่ออทอโกนัล :ดูเพิ่ม [4]

ภาพด้านล่างเป็นการแสดงสัญญาณเสมือน(ซึ่งเป็นการต่อสัญญาณดั้งเดิมออกไป เป็นสัญญาณคาบที่มีความยาวไม่จำกัด) ของสัญญาณดั้งเดิมซึ่งมีความยาวจำกัด N(จาก 0 ถึง N-1) และเป็นไปตามเงื่อนไขขอบ ที่ จุด (midpoint) หรือ กึ่งกลางระหว่างจุด (meshpoint) โดยเงื่อนไขขอบด้านซ้าย หรือ จุดต้น นั้นจะเป็นเงื่อนไขความสมมาตร และ เงื่อนไขขอบด้านขวา หรือ จุดปลาย นั้นจะเงื่อนไขเพื่อสร้างสัญญาณคาบ(เป็นได้ทั้ง สมมาตร(symmetry) และ สมมาตรกลับ(antisymmetry)) ซึ่งจะมีทั้งหมด 8 รูปแบบดังแสดงในรูป

สัญญาณเสมือน ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไข ขอบซ้าย(สมมาตร) และ ขอบขวา(คาบ)-ดัดแปลงจาก ภาพ2ใน[3]
ชนิดความยาวคาบคู่ชนิดความยาวคาบคี่
DCT-IDCT-V
DCT-IIDCT-VI
DCT-IIIDCT-VII
DCT-IVDCT-VIII

ใกล้เคียง

การแปลการพินิจภายในผิด การแปลสิ่งเร้าผิด การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง การแปลสัมผัสผิด