การบรรเทา ของ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก

ทฤษฎีสัจนิยมเหตุซึมเศร้า (depressive realism) เสนอว่า คนซึมเศร้ามองตนเองและโลกอย่างเป็นจริงมากกว่าคนมีสุขภาพจิตดีธรรมชาติของความซึมเศร้าดูเหมือนจะมีบทบาทในการลดการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกยกตัวอย่างเช่น คนที่เคารพตนน้อย หรือซึมเศร้าเล็กน้อย หรือว่าทั้งสองอย่าง จะมองตัวเองอย่างสมดุลกว่า[43]และโดยนัยเดียวกัน คนซึมเศร้าเล็กน้อย จะไม่ค่อยประเมินความสามารถควบคุมเหตุการณ์เกินความเป็นจริง[44]และไม่ประเมินเหตุการณ์ข้างหน้าอย่างเอนเอียง[45]แต่ว่า สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ อาจจะไม่ใช่เพราะว่าคนซึมเศร้าแปลสิ่งเร้าผิดน้อยกว่าคนอื่นมีงานศึกษาเช่นงานในปี 1989 ที่แสดงว่าคนซึมเศร้าเชื่อว่าตนไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ แม้ว่าจริง ๆ จะสามารถ ดังนั้น การมองเห็นความเป็นจริงจึงไม่ได้ดีกว่าโดยทั่วไป[46]

งานวิจัยในปี 2007 เสนอว่า คนซึมเศร้าเอนเอียงมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งมีผลเป็น "สัจนิยมเหตุซึมเศร้า" และจึงประเมินความจริงได้ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้[47]งานวิจัยในปี 2005 และ 2007 พบว่า การประเมินเกินความจริงของคนที่ไม่ซึมเศร้า จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีเวลาระหว่างการแสดงเหตุการณ์กับการประเมินผลนานเพียงพอซึ่งบอกเป็นนัยว่า เป็นอย่างนี้เพราะว่าบุคคลปกติจะรวมเอาข้อมูลของเหตุการณ์ด้านอื่น ๆ เข้าในการพิจารณาด้วยโดยไม่เหมือนกับคนซึมเศร้า คือคนซึมเศร้าไม่สามารถประมวลข้อมูลได้เหมือนกับคนปกติ[48]

มีสมมติฐาน 2 อย่างในวรรณกรรมเรื่องการป้องกันปัญหาของการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก คือ

  1. ให้ลดระดับลงจนถึงขั้นที่ไม่มีผลลบแต่ได้รับผลบวก[49]
  2. เนื่องจากการดูสถานการณ์บวกเกินจริงไม่มีในขั้นการพยามยามเพื่อตัดสินใจ แต่มีเมื่อลงมือทำ ดังนั้น ก่อนที่จะลงมือทำอะไรที่สำคัญ ควรจะพิจารณาตัดสินใจให้ดีก่อนว่าจะทำได้หรือไม่หรือมีผลลบอย่างไร[50]

นักวิจัยผู้หนึ่งตั้งสมมติฐานว่า การบิดเบือนความจริงเชิงบวกแบบเล็กน้อยอาจจะดีที่สุด เพราะว่า คนที่คิดบิดเบือนในระดับนี้ อาจจะมีสุขภาพจิตดีที่สุด[49]

ใกล้เคียง

การแปลสิ่งเร้าผิด การแปลการพินิจภายในผิด การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก http://psych.mcmaster.ca/hannahsd/pubs/AllanSiegel... http://www.atypon-link.com/GPI/doi/abs/10.1521/jsc... http://www.nytimes.com/2007/01/21/magazine/21wwln_... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://www.springerlink.com/content/t530327737451h... http://www.turkpsikiyatri.com/en/default.aspx?modu... http://www.personal.kent.edu/~mtmoore1/ABCT07Poste... http://www.personal.kent.edu/~mtmoore1/thesis.pdf http://www.radford.edu/~jaspelme/_private/gradsoc_...