ประโยชน์และโทษ ของ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก

การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกอาจจะมีทั้งประโยชน์และโทษต่อบุคคล และยังเป็นเรื่องถกเถียงที่ยังไม่ยุติว่า ปรากฏการณ์นี้เป็นการปรับตัวทางวิวัฒนาการหรือไม่[4]คือปรากฏการณ์นี้อาจจะมีผลดีต่อสุขภาพเพราะช่วยบุคคลให้จัดการความเครียดได้ หรือสนับสนุนให้ทำงานให้สำเร็จ[4]แต่ในด้านตรงกันข้าม การคาดหวังเชิงบวกเกินความจริง อาจขัดขวางไม่ให้ทำการป้องกันที่เหมาะสมกับเรื่องเสี่ยงต่อสุขภาพ[21]งานวิจัยไม่นานนี้จริง ๆ ให้หลักฐานว่า คนที่แปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก อาจจะได้ทั้งประโยชน์ในระยะสั้นและโทษในระยะยาว โดยเฉพาะก็คือ การยกย่องตนเองไม่มีสหสัมพันธ์กับความสำเร็จทางการศึกษา หรืออัตราการจบปริญญาในมหาวิทยาลัย[20]

สุขภาพจิต

ดูบทความหลักที่: สัจนิยมเหตุซึมเศร้า

แบบจำลองจิตวิทยาสังคมของเทย์เลอร์และบราวน์สันนิษฐานว่า ความเชื่อเชิงบวกจะมีผลต่อความเป็นสุขทางจิต คือการประเมินตัวเองในทางบวก แม้กระทั่งไม่สมจริง ก็จะช่วยให้สุขภาพจิตดีส่วนความเป็นสุขในที่นี้หมายถึงการรู้สึกดีเกี่ยวกับตน การมีความคิดสร้างสรรค์ทำงานได้คล่อง การสร้างความสัมพันธ์ที่น่าพอใจกับผู้อื่น และการจัดการความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็น[22]ปรากฏการณ์นี้ มีประโยชน์ช่วยให้บุคคลผ่านเหตุการณ์เครียดหรือเหตุการณ์ที่ก่อความบาดเจ็บทางกายหรือใจ เช่น ความเจ็บป่วยที่เสี่ยงต่อชีวิต หรืออุบัติเหตุรุนแรงคนที่พัฒนาและรักษาความเชื่อเชิงบวกเมื่อเผชิญกับปัญหาสำคัญเหล่านี้ มักจะดำเนินการไปได้ดีกว่า และเครียดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยทางจิตวิทยาแสดงว่า ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็งแจ้งว่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคนที่ไม่เคยมี[23]กระบวนการเช่นนี้อาจช่วยป้องกันสุขภาพจิต เพราะว่า สามารถที่จะใช้ประสบการณ์แย่ ๆ ปลุกความรู้สึกเกี่ยวกับความหมายและเป้าหมายแห่งชีวิต[24]ซึ่งสัมพันธ์กับแนวคิดเรื่อง psychological resilience (ความยืดหยุ่นทางจิต/การฟื้นคืนตนได้ทางจิต) หรือความสามารถของบุคคลที่จะแก้ไขจัดการสู้กับปัญหาและความเครียดเช่น การยกย่องตน (self-enhancement) สัมพันธ์กับการฟื้นคืนตนได้ในบุคคลที่อยู่ในตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์หรือใกล้ตึกในเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544[25]

ความเชื่อเชิงบวกบ่อยครั้งช่วยให้ทำงานได้มากกว่าและทนกว่า ซึ่งถ้าไม่เชื่อก็อาจจะเลิกไปกลางคัน[26]คือเมื่อเชื่อว่าตนสามารถทำเป้าหมายที่ยากให้สำเร็จ ความคาดหวังนี้บ่อยครั้งจะช่วยให้เกิดกำลังใจและความกระตือรือร้น มีผลเป็นความก้าวหน้าที่ถ้าไม่เชื่อก็จะเป็นไปไม่ได้ปรากฏการณ์นี้ อาจจะอ้างได้ว่าเป็นการปรับตัว เพราะช่วยให้คนมีความหวังเมื่อเผชิญกับความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้[27]

นอกจากนั้นแล้ว การแปลสิ่งเร้าผิดยังเหมือนจะมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ที่ดีคือ งานวิจัยแสดงทิศทางว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกเป็นเหตุของอารมณ์ที่ดี[28]

แต่งานวิจัยหลังจากนั้นกลับพบว่า การแปลสิ่งเร้าผิดทุกอย่าง จะเชิงบวกหรือเชิงลบก็ดี สัมพันธ์กับอาการซึมเศร้า[29]และก็มีงานศึกษาอื่น ๆ อีกด้วยที่ปฏิเสธความสัมพันธ์ระหว่างการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกกับสุขภาพจิต ความเป็นสุข หรือความพอใจในชีวิต โดยยืนยันว่า การรับรู้ความจริงที่ถูกต้อง เข้ากับความสุขในชีวิต[6][30][31]

ในงานปี 1992 ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเคารพในตน (self-esteem) กับการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก นักวิจัยพบกลุ่มคนที่เคารพในตนสูงโดยที่ไม่แปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก และคนเหล่านี้ก็ไม่ได้เศร้าซึม ไม่ได้เป็นโรคประสาท ไม่ได้ปรับตัวเข้ากับชีวิตได้ไม่ดี ไม่ได้ผิดปกติทางบุคลิกภาพ และดังนั้น จึงสรุปว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกไม่จำเป็นต่อความเคารพในตนและเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีทั้งการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกและความเคารพในตนสูง กลุ่มที่ไม่แปลสิ่งเร้าผิดที่เคารพในตนสูง สามารถวิเคราะห์วิจารณ์ตนเองได้ดีกว่า มีบุคลิกภาพที่เข้ากันดีกว่า และมีระดับ psychoticism ที่ต่ำกว่า[32]

งานวิเคราะห์อภิมานที่วิเคราะห์งานศึกษา 118 งานที่มีผู้ร่วมการทดลอง 7,013 คนพบว่า มีงานศึกษาที่สนับสนุนแนวคิดของสัจนิยมเหตุซึมเศร้า (depressive realism) มากกว่าไม่สนับสนุนแต่งานเหล่านี้มีคุณภาพแย่กว่า ใช้ตัวอย่างที่ไม่ได้เป็นคนไข้ (non-clinical) ทำการอนุมานโดยอุปนัยง่าย ๆ กว่า ให้ผู้ร่วมการทดลองแจ้งผลวัดเองแทนที่จะใช้การสัมภาษณ์และใช้วิธีการทางความเอนเอียงโดยการใส่ใจ (attentional bias) หรือการประเมินโอกาสที่จะเกิดขึ้น (judgment of contingency) เป็นวิธีวัดค่าสัจนิยมเหตุซึมเศร้าเพราะว่าวิธีการเช่นการระลึกถึงคำวิจารณ์และการประเมินผลงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถใช้วัดได้เหมือนกัน มักจะแสดงผลที่คัดค้านสัจนิยมเหตุซึมเศร้า[33]

สุขภาพกาย

นอกจากช่วยให้ปรับตัวทางจิตได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ[34]ความสามารถสร้างและรักษาความเชื่อเมื่อเผชิญเหตุร้าย ก็จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วยงานวิจัยแสดงว่า ชายที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือได้วินิจฉัยว่าเกิดโรคเอดส์แล้วและประเมินความสามารถควบคุมสภาวะสุขภาพของตนอย่างไม่สมจริงเชิงบวกใช้เวลานานกว่าที่จะปรากฏอาการต่าง ๆ มีการดำเนินของโรคที่ช้ากว่า และมีผลดีทางใจอื่น ๆ เช่นการยอมรับความจริง[35]

โทษที่เป็นไปได้

มีความเสี่ยงที่เป็นไปได้หลายอย่างถ้ามีการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกเกี่ยวกับคุณสมบัติของตนและสิ่งที่อาจจะเกิดในอนาคตแรกสุดก็คือ อาจจะตั้งตนให้มีเรื่องแปลกใจแบบไม่น่ายินดีในอนาคตที่ไม่สามารถรับได้ เมื่อความเชื่อเชิงบวกที่ไม่สมจริงไม่ตรงกับความจริงและอาจจะต้องจัดการปัญหาที่ตามมาแต่ว่า งานวิจัยเสนอว่า โดยมากแล้ว ผลลบเช่นนี้ไม่เกิดขึ้นคือ ความเชื่อของคนจะตรงกับความจริงมากกว่าในช่วงต่าง ๆ ที่การยอมรับความจริงจะช่วยตนได้ดี เช่น เมื่อวางแผนในเบื้องต้น หรือเมื่อจะต้องรับผิดชอบหรือได้รับการตอบสนองที่ไม่ดีจากสิ่งแวดล้อมนอกจากนั้นแล้ว ถึงจะเกิดเหตุการณ์ร้ายหรือความล้มเหลว ก็ไม่ใช่ว่าจะเสียโอกาสทุกอย่างไป เพราะว่าความเชื่อเชิงบวกเกินจริงก็จะช่วยให้ทำการต่อ ๆ ไปได้[36]

ความเสี่ยงที่สองก็คือ คนที่แปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกจะตั้งเป้าหมายหรือดำเนินการที่มีโอกาสจะล้มเหลวมากกว่าสำเร็จแต่ความเป็นห่วงนี้ดูจะไม่มีหลักฐานคืองานวิจัยแสดงว่า เมื่อคนกำลังคิดถึงแผนการในอนาคตสำหรับตน เช่น จะรับงานหรือศึกษาต่อในขั้นบัณฑิตศึกษา ความคิดมักจะใกล้กับความจริง แต่ว่า การดำเนินการตามแผนนั้นอาจจะทำด้วยความรู้สึกเชิงบวกมากเกินไปคือ แม้ว่าจะไม่มีอะไรประกันได้ว่า การพยากรณ์ที่สมจริงจะกลายเป็นเรื่องจริงหรือไม่[36]แต่ว่า การเปลี่ยนความคิดแบบสมจริงสมจังเมื่อวางแผน ไปเป็นการมองโลกในแง่ดีเมื่อดำเนินการ อาจจะเป็นพลังช่วยให้ทำงานที่ยากจากต้นจนจบได้สำเร็จ[37]

ปัญหาที่ 3 ก็คือปรากฏการณ์นี้อาจจะมีโทษทางสังคมหลักฐานมาจากงานศึกษาปี 1989 ที่ตรวจดูการประเมินความสามารถที่ยกย่องตนเอง เกี่ยวกับนิยามโดยเฉพาะ ๆ ของคุณลักษณะและความสามารถ[38]ผู้วิจัยเสนอว่า โทษทางสังคมเกิดขึ้นเมื่อบุคคลเห็นความสามารถที่ตนนิยามเท่านั้น ว่าเป็นปัจจัยสำคัญให้ทำงานได้สำเร็จหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อคนไม่รู้ว่า มีนิยามของความสามารถอย่างอื่น ๆ อีกที่เป็นปัจจัยให้ถึงความสำเร็จได้ การประเมินความเป็นสุขของตนในอนาคตจึงจะเกินความจริง

โทษอย่างที่ 4 อาจเกิดขึ้นเมื่อรู้ว่าความเก่งจริงของตนไม่ตรงกับความคิดเพราะว่าสามารถทำลายความมั่นใจ แล้วทำให้ทำการได้แย่ลงในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นต้น[20]

ดังนั้น แม้ว่าการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกจะมีประโยชน์ในระยะสั้น แต่ก็มาพร้อมกับโทษในระยะยาวนอกจากนั้นแล้ว ยังปรากฏหลักฐานเชื่อมโยงกับความเคารพตนและการอยู่เป็นสุขที่แย่ลง การหลงตัวเอง (narcissism) และความสำเร็จทางการศึกษาที่แย่ลงในนักเรียนนักศึกษา[20][39][40]

ใกล้เคียง

การแปลการพินิจภายในผิด การแปลสิ่งเร้าผิด การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง การแปลสัมผัสผิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก http://psych.mcmaster.ca/hannahsd/pubs/AllanSiegel... http://www.atypon-link.com/GPI/doi/abs/10.1521/jsc... http://www.nytimes.com/2007/01/21/magazine/21wwln_... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://www.springerlink.com/content/t530327737451h... http://www.turkpsikiyatri.com/en/default.aspx?modu... http://www.personal.kent.edu/~mtmoore1/ABCT07Poste... http://www.personal.kent.edu/~mtmoore1/thesis.pdf http://www.radford.edu/~jaspelme/_private/gradsoc_...