การแพ้นมวัว
การแพ้นมวัว

การแพ้นมวัว

การแพ้นมวัว หรือ การแพ้โปรตีนนมวัว เป็นโรคภูมิแพ้อาหารชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีภาวะภูมิแพ้ต่อโปรตีนบางชนิดหรือหลายชนิดที่เป็นส่วนประกอบของนมวัว อาการอาจเป็นอย่างรวดเร็วหรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ ถ้าเป็นอย่างรวดเร็ว เช่น แอนาฟิแล็กซิส หรือภาวะแพ้รุนแรง จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ต้องรักษาด้วยการให้อะดรีนาลีน ส่วนแบบค่อยเป็นค่อยไปมักพบในเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวันนับตั้งแต่กินนม อาจแสดงอาการเป็นผิวหนังอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ ลำไส้ทำงานผิดปกติ เช่นลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอักเสบ ก็ได้[2]ในสหรัฐ กว่า 90% ของการแพ้อาหารเกิดจากอาหาร แปดชนิด โดยที่นมวัวพบเห็นได้มากที่สุด[3] เพราะอาการแพ้ส่วนใหญ่เกิดจากอาหารเพียงไม่กี่ชนิด จึงได้มีข้อกำหนดในการระบุสารก่อภูมิแพ้อย่างเด่นชัด รวมไปทั้งนม บนฉลากอาหารขึ้น[4][5][6][7] หนึ่งในหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันคือการป้องกันการติดเชื้อ โดยการรับรู้โปรตีนที่ผิดแปลกไป โดยปกติไม่ควรทำปฏิกิริยากับโปรตีนในอาหารมากเกินไป กรดในกระเพาะอาหารทำให้โปรตีนส่วนใหญ่กลายเปลี่ยนรูปหมายถึงการสูญเสียการจัดองค์ประกอบ 3 มิติและสูญเสียการก่อภูมิแพ้ ความร้อนจากการปรุงอาหารอาจมีผลเช่นเดียวกัน ภูมิคุ้มกันเป็นอีกวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้ปฏิกิริยาตอบสนองต่อโปรตีนจากอาหารการจัดการทำได้โดยงดการรับประทานนมวัวและผลิตภัณฑ์นม[8] ในผู้ป่วยที่แพ้นมวัวอย่างรุนแรง(แพ้ IgE ในนม) การได้รับโปรตีนนมวัวแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายได้[9][10]2% - 3% ของทารกและเด็กมีอาการแพ้นมวัว[8][11] เพื่อลดความเสี่ยง ทารกควรได้รักแต่นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยจนอายุ 4 เดือน หรือ 6 เดือน ก่อนเริ่มกินนมวัว หากบุคคลในครอบครัวมีประวัติแพ้นมวัว อาจใช้นมผงเด็กที่ทำมาจากนมถั่วเหลืองแทน แต่ ประมาณ 10%-15%ของเด็กที่แพ้นมวัวมักแพ้ถั่วเหลืองด้วย[12] เด็กส่วนใหญ่จะไม่แพ้นมวัวเมื่อโตขึ้น แต่ประมาณ 0.5% จะยังแพ้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ได้มีการวิจัยภูมิคุ้มกันบำบัดสำหรับสารก่อภูมิแพ้ แต่ผลดีก็ยังไม่ชัดเจน[13][14]

การแพ้นมวัว

สาขาวิชา allergology
ความชุก 0.6%[1]

ใกล้เคียง

การแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทย การแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลภาคพื้นดิน การแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลภาคพื้นดินรุ่นที่ 2 การแพทย์เฉพาะทาง การแพร่เชื้อทางอากาศ การแพ้นมวัว การแพทย์ทางชาติพันธุ์ การแพร่สัญญาณภาพดิจิทัล การแพร่สัญญาณ