การใช้สื่อสังคม ของ การโฆษณาชวนเชื่อในประเทศรัสเซีย

ในช่วงปีหลัง ประเทศรัสเซียใช้แพลตฟอร์มสื่อสังคมบ่อยครั้งเพื่อเผยแพร่สารการโฆษณาชวนเชื่อแก่ผู้ชมทั่วโลก โดยการแพร่ข่าวหลอกเช่นเดียวกับการปล่อยโฆษณาและสร้างขบวนการกิจกรรมปลอม การโฆษณาชวนเชื่อมักมุ่งสร้างความแตกแยกรุนแรงในหมู่ผู้ใช้สื่อสังคม

ประเทศรัสเซียถูกทางการสหรัฐวิจารณ์อย่างหนักเรื่องพยายามเผยแพร่ข่าวหลอกและการโฆษณาชวนเชื่อในความพยายามข้องแวะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2559[23] [24] ประเทศรัสเซียใช้ยุทธวิธีอย่างบัญชีสื่อสังคมฉ้อฉล การจัดระเบียบการเดินขบวนทางกงารเมืองและโฆษณาการเมืองออนไลน์เพื่อพยายามช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีพรรครีพับลิกัน ดอนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง[25] ผู้นำแพลตฟอร์มพยายามตอบโต้การโฆษณาชวนเชื่อรัสเซียโดยการลบบัญชีอัตโนมัติและแจ้งเตือนผู้ใช้ถึงการมีอยู่ของสารสนเทศเท็จที่มาจากรัสเซียในแพลตฟอร์มของตนและปฏิสัมพันธ์ที่ผู้ใช้อาจมีกับสารสนเทศนั้น ในเดือนมกราคม 2560 ทวิตเตอร์ประมาณว่ามีผู้ใช้ประมาณ 677,000 คน "มีปฏิสัมพันธ์กับการโฆษณาชวนเชื่อหรือบอตรัสเซียระหว่างการรณรงค์ปี 2559" ทว่า อีกสองสัปดาห์ต่อมา เจ้าหน้าที่ทวิตเตอร์อ้างว่าน่าจะมีผู้ใช้กว่า 1.4 ล้านคนเปิดรับต่อเนื้อหาที่มาจากบัญชีโฆษณาชวนเชื่อรัสเซีย[26] [27] ในปี 2561 ทวิตเตอร์ลบทวีตประมาณ 200,000 ทวีตที่พบว่ามาจากบัญชีที่เชื่อมโยงกับรัสเซีย[28] ในวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ผู้บริหารจากเฟซบุ๊ก กูเกิลและทวิตเตอร์ให้การเรื่องการใช้สื่อสังคมของรัสเซียในการรณรงค์ปี 2559 ต่อคณะกรรมาธิการข่าวกรองของสภาผู้แทนราษฎร[29] ในความพยายามต่อสู้กับข่าวหลอก ซึ่งมาจากแหล่งของการโฆษณาชวนเชื่อจำนวนมาก เฟซบุ๊กประกาศแผนพยายามเน้นแหล่งข่าว "น่าเชื่อถือ" ในเดือนมกราคม 2561[30]

วันที่ 17 พฤษภาคม 2560 รองอัยการสูงสุด ร็อด โรเซนสไตน์ แต่งตั้งอดีตผู้อำนวยการเอฟบีไอ รอเบิร์ต มอลเลอร์ เป็นที่ปรึกษาพิเศษของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในการสืบสวนการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐของรัสเซีย พ.ศ. 2559[31] วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์ต่อผู้มีสัญชาติรัสเซีย 13 คนและบริษัทรัสเซีย 3 บริษัทฐานพยายามมีอิทธิพลในการเลือกตั้งปี 2559 โดยสนับสนุนการรณรงค์ของทรัมป์[32] ในหมู่องค์การที่ถูกฟ้องคดีมีสำนักวิจัยอินเทิร์เน็ต (IRA) ปฏิบัติการที่รัฐบาลรัสเซียสนับสนุนตั้งอยู่ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กที่ใช้สื่อสังคมเผยแพร่ข่าวหลอกที่ส่งเสริมผลประโยชน์ของรัสเซีย คำฟ้องคดีอาญาดังกล่าวอ้างว่าลูกจ้างของ IRA ได้รับการกระตุ้นให้ "วิจารณ์ฮิลลารีและคนอื่นทุกโอกาส (ยกเว้นแซนเดอส์และทรัมป์ เราสนับสนุนพวกเขา)"[33]

ประเทศรัสเซียถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการรณรงค์การโฆษณาชวนเชื่อในความพยายามเปลี่ยนมติมหาชนเกี่ยวกับการผนวกไครเมียของรัสเซียในปี 2557 มีการใช้ปฏิบัติการสื่อสังคมของรัสเซียเพื่อใช้สารสนเทศเท็จเพื่อสร้างความดึงดูดแก่กำลังนิยมรัสเซียในไครเมีย ขณะที่ป้ายสีกบฏและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ที่สำคัญคือ มีการเผยแพร่เรื่องเท็จทั่วสื่อสังคมของเด็กน้อยถูกทหารชาตินิยมยูเครนตรึงกางเขนในสโลฟยานสค์[34] เรื่องเท็จนี้เป็นตัวอย่างของความพยายามอย่างกว้างขวางในการสร้างภาพปีศาจแก่กองทัพยูเครนและเปลี่ยนให้มหาชนอยู่ฝั่งตรงข้ามกำลังยูเครน ในการตอบโต้การรณรงค์สารสนเทศเท็จของรัสเซีย รัฐบาลยูเครนห้ามบริการอินเทอร์เน็ตของรัสเซียหลายอย่าง รวมทั้งเครือข่ายสื่อสังคมที่ได้รับความนิยม วีคอนตักเต[35]

ใกล้เคียง

การโฆษณา การโฆษณาชวนเชื่อในประเทศรัสเซีย การโฆษณาทางโทรศัพท์ที่ไม่พึงปรารถนา การโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณาออนไลน์ การฆ่าตัวตาย การฆ่าคน การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวเขมร การฆาตกรรมครอบครัวบุญทวี

แหล่งที่มา

WikiPedia: การโฆษณาชวนเชื่อในประเทศรัสเซีย http://www.cbc.ca/arts/story/2006/03/10/russia-tod... http://www.bbc.com/news/magazine-27713847 http://www.businessinsider.com/state-department-re... http://www.foxnews.com/tech/2018/02/01/1-4-million... http://www.kommersant.com/page.asp?idr=530&id=6197... http://newsru.com/russia/05jun2007/lobby.html http://www.politico.com/magazine/story/2015/01/put... http://rbth.com/politics/2014/12/02/propaganda_can... http://time.com/84843/vladimir-putin-russia-propag... http://www.variety.com/article/VR1117990468.html?c...