ความพยายามประชาสัมพันธ์ทั่วโลกที่รัฐบาลสนับสนุน ของ การโฆษณาชวนเชื่อในประเทศรัสเซีย

ไม่นานหลังเหตุก่อการร้ายเบสลันในเดือนกันยายน 2547 วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เสริมโครงการที่รัฐบาลสนับสนุนซึ่งมุ่ง "ปรับปรุงภาพลักษณ์ของรัสเซีย" ในต่างประเทศ[4] โครงการหลักหนึ่งคือโครงการสร้างรัสเซียทูเดย์ในปี 2548 ซึ่งเป็นช่องข่าวโทรทัศน์ภาษาอังกฤษที่รายงานข่าวตลอด 24 ชั่วโมงโดยจำลองแบบจากซีเอ็นเอ็น มีการจัดสรรงบสาธารณะ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นงบประมาณตั้งต้น[5][6] ข่าวซีบีเอสนิวส์เรื่องการเปิดตัวรัสเซียทูเดย์อ้างคำพูดของบอริส คาการ์ลิตสกีโดยกล่าวว่ามันเป็น "เหมือนการต่ออายุบริการการโฆษณาชวนเชื่อเก่าสมัยโซเวียต"[7]

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย กรีกอรี คาราซิน กล่าวในเดือนสิงหาคม 2551 ในห้วงสงครามรัสเซีย-จอร์เจียว่า "สื่อตะวันตกเป็นเครื่องจักรที่จัดระเบียบอย่างดี ซึ่งแสดงเฉพาะภาพที่พอดีในความคิดของพวกเขาเท่านั้น เราพบว่าการบีบความเห็นของเราสู่หน้าหนังสือพิมพ์ของพวกเขาทำได้ยากมาก"[8] ในเดือนมิถุนายน 2550 เวโดมอสตี รายงานว่ารัฐบาลรัสเซียเพิ่มความเคลื่อนไหววิ่งเต้นอย่างเป็นทางการในสหรัฐตั้งแต่ปี 2546 เช่น ว่าจ้างบริษัทอย่างแฮนนาฟอร์ดเอ็นเทอร์ไพรส์และคัตชัม (Ketchum)[9]

ในการสัมภาษณ์เมื่อปี 2548 กับผู้แพร่สัญญาณภายนอกที่รัฐบาลสหรัฐเป็นเจ้าของ วอยซ์ออฟอเมริกา บล็อกเกอร์ชาวรัสเซีย-อิสราเอล อันตอน โนซิกกล่าวว่าการสร้าง RT เป็น "การตบการรณรงค์การโฆษณาชวนเชื่อแบบโซเวียต"[10] ปาสคาล บงนามัวร์ (Pascal Bonnamour) หัวหน้าแผนกยุโรปของผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน เรียกเครือข่ายใหม่ว่า "อีกก้าวหนึ่งของรัฐเพื่อควบคุมสารสนเทศ"[11] ในปี 2552 ลุก ฮาร์ดิง (ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้สื่อข่าวของเดอะการ์เดียนในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย) อธิบายการรณรงค์โฆษณาของ RT ว่า "ความพยายามทะเยอทะยานในการสร้างจักรวรรดิการโฆษณาชวนเชื่อทั่วโลกยุคหลังโซเวียตใหม่"[12] เลฟ กุดคอฟ ผู้อำนวยการศูนย์เลวาดา องค์การสำรวจความเห็นที่ได้รับความนับถือมากที่สุดของประเทศรัสเซีย ว่า การโฆษณาชวนเชื่อของประเทศรัสเซียภายใต้ปูติน "ก้าวร้าวและหลอกลวง ... แย่ยิ่งกว่าที่ผมเคยเห็นในสหภาพโซเวียต"[13]

ในปี 2557 อีวาน ซัสโซอุร์สกี ศาสตราจารย์คณะสื่อและทฤษฎีการสื่อสารในการหนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยรัฐมอสโก กล่าวว่า "ทุกวันนี้มีแผนส่งอิทธิพลซับซ้อนมากมายในโลกที่สามารถตีตราได้ว่าเป็นอำนาจอ่อน แต่วิธีการโฆษณาแบบอันธพาลดั้งเดิมและการควบคุมโดยตรงที่รัฐบาลรัสเซียใช้ไม่อาจถือได้ว่าได้ผลจากจุดยืนวิชาชีพและความยอมรับจากมุมมองของจริยธรรมนักหนังสือพิมพ์"[14]

หลังการผนวกไครเมียของรัสเซียในปี 2557 นาโต้สังเกตพบการเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญของการโฆษณาชวนเชื่อรัสเซีย[15] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 บันทึกเสียงกุของเลขาธิการนาโต้ เจนส์ สโตลเตนเบิร์ก ซึ่งเชื่อว่ามีปฏิสัมพันธ์กับชาวยูเครน ปีโตร โปโรเชนโก (Petro Poroshenko) มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ข่าวรัสเซีย Life.ru เสียงสมมติของโปโรเชนโกมีการเปิดเผยว่าเป็นผู้เล่นอุตริชาวรัสเซีย ประเทศรัสเซียถูกกล่าวหาว่าเปรียบยนกสู้ชาตินิยมยูเครนในดอนบัสส์กับสมาชิกรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIS)[16] นักวิชาการการเมือง นีโคเลย์ โคฮานอฟ อ้างว่าประเทศรัสเซียใช้การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อถ่ายทอดสารชาตินิยมตลอดจนนิยมบัชชาร อัลอะซัดระหว่างสงครามกลางเมืองซีเรีย โคฮานอฟอ้างว่าประเทศรัสเซียใช้ความพยายามผ่านการโฆษณาชวนเชื่อพรรณนาประเทศรัสเซียและประเทศซีเรียว่าเป็นกำลังเสถียรภาพ "ในการต่อสู้กับความไร้เสถียรภาพที่เกิดจากชาวอเมริกันและการก่อการร้ายที่พวกในภูมิภาคของสหรัฐสนับสนุน"[16]

RT และสปุตนิกยังถูกกล่าวหาว่าเผยแพร่สารสนเทศเท็จ[17][18][18][18][19][20] ในเหตุยิงเครื่องบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17 ตก เว็บไซต์เบลลิงแคตของอีเลียต ฮิกกินส์ให้หลักฐานเกี่ยวกับการตัดต่อภาพถ่ายดาวเทียมที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียเผยแพร่ซึ่งมีการให้ผ่าน RT และสปุตนิก[21][22]

ใกล้เคียง

การโฆษณา การโฆษณาชวนเชื่อในประเทศรัสเซีย การโฆษณาทางโทรศัพท์ที่ไม่พึงปรารถนา การโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณาออนไลน์ การฆ่าตัวตาย การฆ่าคน การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวเขมร การฆาตกรรมครอบครัวบุญทวี

แหล่งที่มา

WikiPedia: การโฆษณาชวนเชื่อในประเทศรัสเซีย http://www.cbc.ca/arts/story/2006/03/10/russia-tod... http://www.bbc.com/news/magazine-27713847 http://www.businessinsider.com/state-department-re... http://www.foxnews.com/tech/2018/02/01/1-4-million... http://www.kommersant.com/page.asp?idr=530&id=6197... http://newsru.com/russia/05jun2007/lobby.html http://www.politico.com/magazine/story/2015/01/put... http://rbth.com/politics/2014/12/02/propaganda_can... http://time.com/84843/vladimir-putin-russia-propag... http://www.variety.com/article/VR1117990468.html?c...