การสนับสนุนทางการเมือง ของ การโอนมาเป็นของรัฐ

การโอนมาเป็นของรัฐถือเป็นหนึ่งในกลไกหลักที่นักปฏิรูปฝ่ายสังคมนิยมและนักสังคมประชาธิปไตยใช้ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบสังคมนิยมแบบค่อยเป็นค่อยไป ในบริบทนี้การโอนทรัพย์สินดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อลิดรอนสิทธิครอบครองของนายทุนรายใหญ่ และเพื่อถ่ายโอนกำไรจากอุตสาหกรรมมาเป็นของสาธารณะส่วนรวม รวมถึงเพื่อก่อตั้งระบบการจัดการด้วยตนเองของชนชั้นแรงงาน (workers' self-management) อันจะนำไปสู่การสถานาระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในที่สุด[6]

ในสหราชอาณาจักรช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคแรงงานและพรรคการเมืองแนวสังคมประชาธิปไตยทั่วยุโรปบางส่วนสนับสนุนให้มีการโอนกิจการมาเป็นของรัฐ เพื่อใช้เป็นกลไกในการปกป้องและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ถือว่าสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินและอุตสาหกรรมต่อเรือ เป็นต้น หรือเพื่อปกป้องตำแหน่งงานในบางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ แม้ว่าบางครั้งการโอนกิจการมาเป็นของรัฐนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการสร้างระบบสังคมนิยมขึ้นมาก็ตาม

การโอนกิจการจากเอกชนกลับมาเป็นของรัฐอีกครั้งเกิดขึ้นเมื่อกิจการที่รัฐเคยแปรรูปไปเป็นของเอกชนแล้วภายหลังได้โอนกลับมาเป็นของรัฐอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมักจะเกิดจากพรรคการเมืองหรือขั้วอำนาจทางการเมืองอีกฝ่ายที่ขึ้นมามีอำนาจในภายหลังย้อนการกระทำหรือการตัดสินใจของผู้มีอำนาจชุดก่อน การโอนกิจการกลับมาเช่นนี้อาจเรียกว่าเป็น "การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชนแบบสวนทาง" (reverse privatization) ทั้งนี้คำว่าการโอนกิจการมาเป็นของรัฐถูกใช้หมายถึงทั้งการที่รัฐเข้าไปจัดการหรือครอบครองกิจการใด ๆ โดยตรง และการที่รัฐบาลเข้าไปถือหุ้นของบริษัทมหาชน (บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ในจำนวนที่มากพอจนได้อำนาจควบคุมกิจการนั้น[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

การโอนมาเป็นของรัฐ การโอบล้อม การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน การโอนผ่านยุคหลังโซเวียตของยูเครน การโอนยีน การโอน (ฟุตบอล) การโอบล้อมเบเลอร์ การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก การโฆษณา การออกกำลังกาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การโอนมาเป็นของรัฐ http://www.hinduonnet.com/fline/fl2525/stories/200... http://www.ipoliticalrisk.com http://www.merriam-webster.com/dictionary/national... http://www.nytimes.com/2008/02/09/business/worldbu... http://www.nytimes.com/2008/09/23/business/worldbu... http://www.dollarsandsense.org/archives/2009/0309m... http://www.jstor.org/pss/2144223 http://www.jstor.org/pss/2503718?cookieSet=1 http://www.marxists.org/archive/lenin/works/1917/i... http://www.monthlyreview.org/mrzine/labotz280908.h...