ภาพรวม ของ การโอนมาเป็นของรัฐ

อุตสาหกรรมที่ถูกโอนมาเป็นของรัฐอาจถูกสังคมและการเมืองกดดันอย่างมากให้ใส่ใจต่อผลกระทบภายนอกมากขึ้น และอาจยินยอมดำเนินธุรกิจทั้ง ๆ ที่ทำให้มีผลขาดทุน เนื่องจากมองว่าผลประโยชน์ของสังคมต้องมาก่อนต้นทุนทางธุรกิจ เช่น บริการขนส่งและไปรษณีย์ในถิ่นทุรกันดาร เป็นต้น ส่วนรัฐบาลก็อาจตระหนักถึงภารกิจด้านสังคมเหล่านี้ และในบางกรณีได้ร่วมสมทบเงินทุน (อุดหนุนราคา) เพื่อให้มีบริการที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ (ไม่ใช่เพื่อกำไร) อยู่ต่อไป

เนื่องจากอุตสาหกรรมที่โอนมาเหล่านี้มีรัฐเป็นผู้ครอบครอง จึงเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อหนี้สินใด ๆ ก็ตามที่อุตสาหกรรมนั้นมีอยู่ ทั้งนี้อุตสาหกรรมดังกล่าวไม่นิยมกู้ยืมหนี้สินจากแหล่งเงินทุนภายในประเทศ เว้นแต่ว่าเป็นการกู้ยืมระยะสั้นเท่านั้น และถ้าหากมีผลประกอบการเป็นกำไรก็มักจะนำไปช่วยเหลือหรืออุดหนุนบริการของรัฐในด้านอื่น ๆ เช่น โครงการสวัสดิการสังคมหรืองานวิจัยของรัฐ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดภาระงบประมาณที่ต้องจัดหามาจากการเก็บภาษีลง

การชดเชย

จุดยืนต่อการเรียกร้องค่าชดเชยของโลกตะวันตกในแบบฉบับดั้งเดิมคือในกรณีการยึดอุตสาหกรรมปิโตรเลียมมาเป็นของรัฐบาลเม็กซิโก ค.ศ. 1938 เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา คอร์เดลล์ ฮัลล์ เรียกร้องว่าการชดเชยควรจะ "รวดเร็ว เพียงพอ และมีประสิทธิผล" จากมุมมองนี้ รัฐบาลที่ทำการโอนกิจการมาเป็นของตนจึงมีภาระผูกพันต่อกฎหมายระหว่างประเทศให้ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่คู่กรณีที่ถูกรอนสิทธิ์ด้วยมูลค่าเต็มของทรัพย์สินที่ถูกโอนมานั้น ซึ่งบรรดาประเทศกำลังพัฒนาส่วนมากต่างพากันต่อต้านแนวคิดนี้ โดยอ้างว่าปัญหาการจ่ายค่าชดเชยควรขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐอธิปไตยแต่ละแห่งล้วน ๆ ตามแนวทางในลัทธิกัลโบ

ด้านประเทศสังคมนิยมหลายแห่งก็มองว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยใด ๆ เนื่องจากมีแนวคิดที่ว่าการครอบครองส่วนบุคคล (private ownership) เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เป็นการแสวงหาประโยชน์ และเป็นอุปสรรคต่อตัฒนการทางเศรษฐกิจในภายภาคหน้า

ในปี ค.ศ. 1962 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติออกมติที่ 1803 "อธิปไตยถาวรเหนือทรัพยกรธรรมชาติ" (Permanent Sovereignty over National Resources) โดยระบุว่าเมื่อเกิดการโอนกิจการมาเป็นของรัฐขึ้น ผู้ครอบครองทรัพย์สินนั้น "จะต้องจ่ายค่าชดเชยที่เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ" เท่ากับว่าสหประชาชาติปฏิเสธมุมมองของฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายผู้สนับสนุนลัทธิกัลโบ ทั้งนี้คำว่า "ค่าชดเชยที่เหมาะสม" ใช้เป็นตัวแทนของการประณีประนอมระหว่างมุมมองแบบดั้งเดิมที่ใส่ใจต่อความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องดำเนินการปฏิรูปแม้ว่าจะไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยได้เต็มจำนวน กับความกังวลของโลกตะวันตกในประเด็นความคุ้มครอต่อทรัพย์สินส่วนบุคคล

ในสหรัฐอเมริกา บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ห้า (Fifth Amendment) กำหนดว่าจะต้องมีการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ทรัพย์สินส่วนบุคคล (หรือเอกชน) ถูกนำไปใช้ในกิจสาธารณะ

ใกล้เคียง

การโอนมาเป็นของรัฐ การโอบล้อม การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน การโอนผ่านยุคหลังโซเวียตของยูเครน การโอนยีน การโอน (ฟุตบอล) การโอบล้อมเบเลอร์ การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก การโฆษณา การออกกำลังกาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การโอนมาเป็นของรัฐ http://www.hinduonnet.com/fline/fl2525/stories/200... http://www.ipoliticalrisk.com http://www.merriam-webster.com/dictionary/national... http://www.nytimes.com/2008/02/09/business/worldbu... http://www.nytimes.com/2008/09/23/business/worldbu... http://www.dollarsandsense.org/archives/2009/0309m... http://www.jstor.org/pss/2144223 http://www.jstor.org/pss/2503718?cookieSet=1 http://www.marxists.org/archive/lenin/works/1917/i... http://www.monthlyreview.org/mrzine/labotz280908.h...