หน้าที่ ของ ก้านสมองส่วนท้าย

เมดัลลาเป็นตัวเชื่อมสมองระดับที่สูงกว่ากับไขสันหลัง ทำหน้าที่ต่าง ๆ ของระบบประสาทอิสระรวมทั้ง

  • การควบคุมการหายใจ (control of ventilation) อาศัยกระแสประสาทที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมีคือ carotid body ซึ่งอยู่ที่หลอดเลือดแดงที่คอและ aortic body ซึ่งอยู่ที่ส่วนโค้งเอออร์ตาเหนือหัวใจ กลุ่มตัวรับรู้สารเคมี (chemoreceptor) เหล่านี้เป็นตัวควบคุมการหายใจ คือพวกมันจะตรวจจับความเป็นกรดในเลือด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเลือดเป็นกรดเกิน เมดัลลาจะได้รับข้อมูลจากตัวรับสารเคมีแล้วส่งกระแสประสาทไปยังเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ คือ intercostal muscle ที่ซี่โครงและ phrenical muscle ที่กะบังลมเพื่อเพิ่มอัตราการหดเกร็ง เพิ่มการหายใจ และเพิ่มการเติมออกซิเจนใส่ในเลือด กลุ่มเซลล์ประสาทในเมดัลลาคือ ventral respiratory group และ dorsal respiratory group มีบทบาทในการควบคุมเช่นนี้ กลุ่มอินเตอร์นิวรอน pre-Bötzinger complex ในเมดัลลาก็มีบทบาทในการหายใจด้วยเหมือนกัน
  • ศูนย์หัวใจร่วมหลอดเลือด เป็นส่วนของระบบประสาทซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติก
  • ศูนย์ปรับขนาดหลอดเลือด - มีตัวรับรับรู้ความดันในหลอดเลือด (baroreceptor) ซึ่งส่งข้อมูลไปยังเมดัลลาส่วน solitary nucleus เพื่อให้ปรับความดันได้
  • ศูนย์รีเฟล็กซ์สำหรับการอาเจียน การไอ การจาม และการกลืน รีเฟล็กซ์เหล่านี้รวมทั้งรีเฟล็กซ์ขย้อน (pharyngeal reflex[upper-alpha 7]), รีเฟล็กซ์การกลืน (swallowing reflex[upper-alpha 8]) หรือ palatal reflex และรีเฟล็กซ์ขากรรไกร (masseter reflex[upper-alpha 9]) จึงสามารถเรียกรีเฟล็กซ์เหล่านี้แต่ละอย่างว่า bulbar reflex[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ก้านสมองส่วนท้าย http://www.utoronto.ca/neuronotes/NeuroExam/crania... http://jnnp.bmj.com/content/74/suppl_3/iii48.full http://www.dr-virella.com/Cervical-Spondylosis.htm... http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/my... http://www.neuroanatomy.wisc.edu/virtualbrain/Brai... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1765635 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3343402 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3837091 http://brainmaps.org/index.php?q=medulla //doi.org/10.1002%2Fcne.902670210