ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี

ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี (มลายู: Barisan Nasional Pembebasan Patani, BNPP) เป็นองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนปัตตานีรุ่นแรก ๆ เกิดจากการรวมตัวของทายาทเจ้าเมืองเก่าที่สูญเสียอำนาจ และความไม่พอใจในนโยบายของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่กำหนดนโยบายรัฐนิยมบังคับสวมหมวก และนโยบายอื่น ๆ ที่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม[8] ผู้ก่อตั้งคือนายอดุลย์ ณ สายบุรี เวลาที่จัดตั้งขึ้นไม่แน่นอน อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2502–2514 ปฏิบัติการทางทหารขององค์กรนี้เข้มแข็งในช่วง พ.ศ. 2520–2525 ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศมากโดยเฉพาะกลุ่มอาหรับ เช่น สันนิบาตอาหรับ, องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ มีความใกล้ชิดกับพรรคปาสในมาเลเซีย องค์กรนี้ตกต่ำลงหลังการเสียชีวิตของ ดือระ มาตีเยาะ หรือเปาะเยะ เมื่อ พ.ศ. 2527 จนต้องยุติบทบาทไปในที่สุด

ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี

ปรปักษ์  ไทย
ผู้นำ Tengku Mahmud Mahyiddin[5][1]
Tengku Abdul Jalal[3][6]
แนวคิด ลัทธิแบ่งแยกดินแดน
อนุรักษ์นิยมอิสลาม[2]
ชาตินิยม[3]
ลัทธิอิสลาม[4]
การสู้รบและสงคราม ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
กองบัญชาการ รัฐกลันตัน, ประเทศมาเลเซีย[2]
กลุ่ม Tentara Nasional Pembebasan Rakyat Patani (People's National Liberation Army of Patani)[5]
ปฏิบัติการ ค.ศ. 1947 (1947)[1] – ปัจจุบัน
พื้นที่ปฏิบัติการ ภาคใต้
ถือกำเนิดที่ จัดใหม่เป็น BNPP ในปีค.ศ.1959[7]
เปลี่ยนชื่อเป็น BIPP ในปีค.ศ.1986

ใกล้เคียง

ขบวนการจอมราชัน คิงโอเจอร์ ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ ขบวนการอวาทาโร่ ดงบราเธอร์ส ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์ ขบวนการโลกจักรกล เซ็นไคเจอร์ ขบวนการจ้าวสรรพสัตว์ จูโอเจอร์ ขบวนการไดโนเสาร์ จูเรนเจอร์ ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ ขบวนการหมัดสรรพสัตว์ เกคิเรนเจอร์ ขบวนการนักรบไดโนเสาร์ อาบะเรนเจอร์